แบ่งเป็น วงเงินสินเชื่อธนาคารออมสินไม่เกิน 5,000 ล้านบาท และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) วงเงินไม่เกิน 5,000 ล้านบาท วงเงินไม่เกิน 50,000 บาทต่อราย สำหรับระยะเวลากู้ ภายใน 1 ปี กู้ยืมไม่เกิน 5 ปี อัตราดอกเบี้ยคงที่ไม่เกิน 0.85% ต่อเดือน หรือประมาณปีละ 10% ต้องมีบุคคลค้ำประกันอย่างน้อย 1 คน หรือมีหลักทรัพย์ค้ำประกัน โดยจะพิจารณาจากความฉุกเฉินและความจำเป็นในการใช้เงิน สามารถยื่นขอสินเชื่อได้ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปภายในระยะเวลา 1 ปี
โดยรัฐบาลพร้อมชดเฉยค่าเสียหายหากเกิดหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ หรือ NPLs โดยที่ 25%แรก จะชดเชย 100% ตั้งแต่ 25-37.5% รัฐจะชดเชย 70% และมากกว่า 37.5 แต่ไม่เกิน 50% รัฐจะชดเชยครึ่งหนึ่ง โดยรัฐจะรับความเสียหยายไม่เกินวงเงิน 4,000 ล้านบาท
โครงการสินเชื่อรายย่อยเพื่อใช้จ่ายฉุกเฉิน จะช่วยให้ประชาชนผู้มีรายได้น้อยและเกษตรกรรายย่อยสามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนในระบบได้ในกรณีมีความจำเป็นต้องใช้จ่ายเงินฉุกเฉิน โดยไม่ต้องไปใช้บริการสินเชื่อนอกระบบ ซึ่งจะช่วยลดปัญหาหนี้นอกระบบที่มีภาระดอกเบี้ยอยู่ในระดับที่สูง และบางกรณีมีการติดตามทวงถามหนี้ที่ใช้ความรุนแรง ซึ่งส่งผลให้เกิดปัญหาสังคมตามมา
โครงการดังกล่าวจะช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ของประชาชนผุ้มีราไยด้น้อยและเกษตรกรรายย่อยที่เข้าร่วมโครงการให้ดีขึ้นประมาณ 200,000 ราย
อนึ่ง เมื่อวันที่ 4 ต.ค. 59 ได้มีการออกแพ็คเกจเกี่ยวกับหนี้นอกระบบออกมา หลักการของการจัดการหนี้นอกระบบของกระทรวงการคลัง แบ่งเป็น 4 เรื่องใหญ่ ๆ คือ 1.การเพิ่มศักยภาพให้ความรู้ด้านการเงิน โดยการปลูกฝังความรู้และวินัยการเงิน ฝึกให้ทำบัญชีเป็น 2.การดำเนินการจริงจังกับเจ้าหนี้นอกระบบ เช่น การออกพ.ร.บ.ไปแล้ว 2 ฉบับ ฉบับแรกคือพ.ร.บ.ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ. 2560 เพื่อโทษสำหรับผู้ที่เรียกอัตราดอกเบี้ยเกิน 15% ต่อปี โดยจะมีโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปีและปรับไม่เกิน 2 แสนบาท และพ.ร.บ.การทวงถามหนี้ พ.ศ. 2538 คือการห้ามข่มขู่ลูกหนี้ ถ้าฝ่าฝืนก็ติดคุก 1 ปี ปรับไม่เกิน 1 แสนบาท และ3.การไกล่เกลี่ยประนอมหนี้ โดยจัดให้เจ้าหนี้เข้ามาร่วมไกล่เกลี่ยกับลูกหนี้ โดยมีกระทรวงการคลัง ตำรวจ และกระทรวงยุติธรรมเป็นคนกลาง 4. การเพิ่มช่องทางการเข้าถึงสินเชื่อนาโนไฟแนนซ์ พิโกไฟแนนซ์ และมีการจัดตั้งหน่วยธุรกิจ (Business Unit) โดยธนาคารออมสิน กับ ธ.ก.ส.