ภาวะตลาดเงินบาท: เปิด 34.34 ทรงตัวจากวานนี้ นลท.รอดูรายงานประชุม FED-ตัวเลขศก.สหรัฐฯ ปลายสัปดาห์นี้

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday April 4, 2017 09:23 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย เปิดเผยว่า เงินบาทเปิดตลาดเช้านี้อยู่ที่ระดับ 34.34 บาท/ดอลลาร์ ทรง ตัวจากช่วงเย็นวานนี้ที่ปิดตลาดที่ระดับ 34.34 บาท/ดอลลาร์เช่นกัน

วันนี้คาดว่าเงินบาทจะทรงตัวอยู่ในกรอบเดิม เนื่องจากปัจจัยสำคัญที่ตลาดรอดูจะเกิดขึ้นในช่วงปลายสัปดาห์นี้ เช่น รายงานการประชุมคณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงินของธนาคากลางสหรัฐ (FOMC), ตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรของ สหรัฐ (Nonfarm Payroll) เดือนมี.ค. และผลการเจรจาระหว่างประธานาธิบดี สี จิ้น ผิง ของจีน กับนายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐ

"วันนี้บาทคงทรงตัวในกรอบเดิมๆ เพราะ event สำคัญจะไปอยู่ช่วงท้ายของสัปดาห์นี้เป็นส่วนใหญ่" นักบริหารเงิน
ระบุ

นักบริหารเงิน คาดว่า วันนี้เงินบาทจะเคลื่อนไหวในกรอบ 34.30-34.40 บาท/ดอลลาร์

  • ปัจจัยสำคัญ
  • เช้านี้เงินเยนอยู่ที่ระดับ 110.64 เยน/ดอลลาร์ จากเย็นวานนี้ที่ระดับ 111.36 เยน/ดอลลาร์
  • ส่วนเงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.0670 ดอลลาร์/ยูโร จากเย็นวานนี้ที่ระดับ 1.0660 ดอลลาร์/ยูโร
  • อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท/ดอลลาร์ ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักระหว่างธนาคารของธปท.อยู่ที่ระดับ 34.3110 บาท/
ดอลลาร์
  • ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.)ได้ปรับแผนการออกพันธบัตรระยะสั้นของ ธปท.ในเดือน เม.ย.60 ลง โดยลดวง
เงินออกพันธบัตร(บอนด์) ระยะสั้นอายุ 3 เดือน และ 6 เดือน ลงจากการประมูลในรอบเดือน มี.ค. ที่ผ่านมาอายุละ 40,000
ล้านบาทต่อสัปดาห์ ลงเหลืออายุละ 30,000 ล้านบาทต่อสัปดาห์ เพื่อลดแรงกดดันค่าเงินบาทจากการเข้ามาลงทุนระยะสั้นของนักลง
ทุนต่างชาติในตลาดพันธบัตรไทย อย่างไรก็ตามค่าเงินบาทยังคงมีทิศทางแข็งค่าขึ้น โดยในช่วงเช้าอยู่ที่ 34.31 บาทต่อเหรียญ
สหรัฐฯ ถือเป็นการแข็งค่าที่สุดในรอบ 20 เดือน
  • ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) รายงานภาวะการเงินในเดือน ก.พ. ที่ผ่านมาว่า สินเชื่อภาคเอกชนของสถาบัน
รับฝากเงินทั้งระบบไม่ว่าธนาคารพาณิชย์และธนาคารเฉพาะกิจของรัฐ มีวงเงินรวม 16.75 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปี
ก่อน 3.9% ส่วนเงินฝากรวม ตั๋วแลกเงินทั้งระบบมี 18.1 ล้านล้านบาท ขยายตัว 3.5%
  • กระทรวงพาณิชย์ นัดภาคเอกชนถกด่วน รับมือ "ทรัมป์" ออกคำสั่งตรวจสอบประเทศที่ได้ดุลการค้ากับสหรัฐฯ เผย
ไทยได้ดุลลำดับที่ 11 ยันไทยมีจุดยืนชัดเจน ไม่ทำค่าเงินอ่อน และส่งเสริมการลงทุนทั้งดึงเข้ามาและออกไปลงทุน ระบุสหรัฐฯ ไม่ได้
พุ่งเป้ามาที่ไทยโดยตรง ด้านคลังมองกระทบไทยไม่มาก เชื่อสุดท้ายแล้วทั้ง 16 ประเทศจะหารือกันได้
  • รมว.พลังงาน เปิดเผยว่า กระทรวงพลังงานยังรอความชัดเจนที่ประชุม ครม.ว่า จะให้หน่วยงานใดเป็นผู้ศึกษา
มาตรา 10/1 การตั้งบรรษัทน้ำมันแห่งชาติ (เอ็นโอซี) ที่สภานิติบัญแห่งชาติ (สนช.) ตั้งข้อสังเกตไว้แนบท้ายพระราชบัญญัติ (พ.ร.
บ.) ปิโตรเลียม พ.ศ. .. ที่ให้ศึกษาภายใน 60 วันและสรุปผลภายใน 1 ปี
  • ราชกิจจาฯ เผยแพร่ในหลวงเสด็จฯ พระราชพิธีประกาศใช้รัฐธรรมนูญ พ.ศ.2560 ณ พระที่นั่งอนันตสมาคม 6 เม.
ย. นายกฯ เตรียมแถลงหลังประชุม ครม.
  • จับตาการประชุมของธนาคารกลางออสเตรเลีย โดยจะมีการแถลงมติอัตราดอกเบี้ยในเวลา 11.30 น.ตามเวลา
ไทย
  • บริษัทไอเอชเอส มาร์กิต ซึ่งเป็นบริษัทให้บริการข้อมูลทางการเงิน เปิดเผยว่า ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ขั้น
สุดท้ายสำหรับภาคการผลิตของสหรัฐ ปรับตัวลงสู่ระดับ 53.3 ในเดือนมี.ค. ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนก.ย.ปีที่แล้ว และต่ำ
กว่าตัวเลขเบื้องต้นที่ระดับ 53.4 หลังจากแตะระดับ 54.2 ในเดือนก.พ.
  • ผลสำรวจของสถาบันจัดการด้านอุปทานของสหรัฐ (ISM) ระบุว่า ดัชนีภาคการผลิตของ ISM ปรับตัวลงสู่ระดับ
57.2 ในเดือนมี.ค จากระดับ 57.7 ในเดือนก.พ. แต่สูงกว่าตัวเลขคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ที่ระดับ 57.0
  • สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับเงินสกุลหลักๆเกือบทั้งหมด ในการซื้อชายที่ตลาดนิวยอร์กเมื่อคืนนี้ (3
เม.ย.) ด้วยแรงหนุนจากข้อมูลดัชนีภาคการผลิตของสถาบันจัดการด้านอุปทานของสหรัฐ (ISM) ซึ่งขยายตัวสูงกว่าคาดการณ์ของนัก
วิเคราะห์ โดยยูโรอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ 1.0668 ดอลลาร์ จากระดับ 1.0685 ดอลลาร์ ดอลลาร์อ่อนค่าลงเมื่อ
เทียบกับเยน ที่ระดับ 110.93 เยน จากระดับ 111.28 เยน
  • สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดบวกเมื่อคืนนี้ (3 เม.ย.) เนื่องจากนักลงทุนเข้าซื้อสัญญาทองคำซึ่งเป็นสินทรัพย์ที่
ปลอดภัย หลังจากตลาดหุ้นสหรัฐปรับตัวลง ซึ่งเป็นผลมาจากการชะลอตัวของภาคการผลิตสหรัฐ และยอดขายรถยนต์ของสหรัฐที่ร่วงลง
ติดต่อกันเป็นเดือนที่ 3
  • นักลงทุนจับตารายงานการประชุมของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) และตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรของสหรัฐ
ประจำเดือนมี.ค.ที่จะมีการเปิดเผยในสัปดาห์นี้ ส่วนข้อมูลเศรษฐกิจด้านอื่นๆที่จะมีการเปิดเผยในสัปดาห์นี้ รวมถึงดุลการค้าเดือนก.
พ., ยอดสั่งซื้อภาคโรงงานเดือนก.พ., ตัวเลขจ้างงานภาคเอกชนเดือนมี.ค.จาก ADP, ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI)
ภาคบริการเดือนมี.ค.จากมาร์กิต, ดัชนีภาคบริการเดือนมี.ค.จากสถาบันจัดการด้านอุปทานของสหรัฐ (ISM) , จำนวนผู้ขอรับ
สวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ และสต็อกสินค้าคงคลังภาคค้าส่งเดือนก.พ.

นอกจากนี้ นักลงทุนยังให้ความสำคัญต่อการประชุมระหว่างประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ และประธานาธิบดีสี จิ้นผิงในวัน ที่ 6-7 เม.ย. โดยคาดว่าผู้นำทั้ง 2 จะหารือเกี่ยวกับประเด็นการค้า และเกาหลีเหนือ

  • ธนาคารกลางยุโรป (ECB) จะเปิดเผยรายงานการประชุมประจำเดือนมี.ค.ในวันพฤหัสบดีนี้ เพื่อจับตาว่าคณะ
กรรมการกำหนดนโยบายของ ECB จะส่งสัญญาณเปลี่ยนแปลงทิศทางด้านนโยบายหรือไม่

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ