ภาวะตลาดเงินบาท: ปิด 34.61 แกว่งแคบ-ธุรกรรมเบาบางหลังใกล้ช่วงหยุดยาว มองกรอบพรุ่งนี้ 34.55-34.70

ข่าวเศรษฐกิจ Monday April 10, 2017 17:26 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดเย็นนี้อยู่ที่ระดับ 34.61 บาท/ดอลลาร์ แข็งค่า
เล็กน้อยจากช่วงเช้าที่เปิดตลาดระดับ 34.64/66 บาท/ดอลลาร์

ตลอดทั้งวันนี้เงินบาทเคลื่อนไหวในกรอบแคบๆ เนื่องจากใกล้ช่วงวันหยุดยาว การทำธุรกรรมจึงค่อนข้างจะเบาบาง ประกอบกับสัปดาห์นี้ไม่น่าจะมีปัจจัยอะไรใหม่ๆ เข้ามาแล้ว ส่วน flow ก็ค่อนข้างจะเบาบางเช่นกัน

"ช่วงนี้น่าจะเป็นการพักตัว หลังจากที่บาทขึ้นไปค่อนข้างมากแล้ว ตอนนี้เข้าสู่ช่วง Holiday Mode ประกอบกับไม่น่าจะ มี data สำคัญอะไรแล้วในสัปดาห์นี้ flow ก็เริ่มเบาบาง ตลาดคงไปรอดูปัจจัยใหม่ๆ อีกทีในสัปดาห์หน้า" นักบริหารเงินระบุ

นักบริหารเงิน คาดว่า พรุ่งนี้เงินบาทจะเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบ 34.55 - 34.70 บาท/ดอลลาร์

  • ปัจจัยสำคัญ
  • ช่วงเย็นนี้ เงินเยนอยู่ที่ระดับ 111.21 เยน/ดอลลาร์ จากช่วงเช้าที่ระดับ 111.47/49 เยน/ดอลลาร์
  • เงินยูโรเย็นนี้อยู่ที่ระดับ 1.0577 ดอลลาร์/ยูโร จากช่วงเช้าที่ระดับ 1.0578/0580 ดอลลาร์/ยูโร
  • ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ระดับ 1,581.19 จุด ลดลง 2.34 จุด (-0.15%) โดยมีมูลค่าการซื้อขาย 30,639 ล้านบาท
  • สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติขายสุทธิ 122.39 ลบ.(SET+MAI)
  • ฝ่ายส่งเสริมธุรกิจและกำกับดูแลโกลบอลมาร์เก็ตส์ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) มีมุมมองต่อทิศทางค่า
เงินบาทในสัปดาห์นี้ว่า มีแนวโน้มเคลื่อนไหวในกรอบ 34.40 - 34.80 บาท/ดอลลาร์ เทียบกับปิดที่ระดับ 34.60 บาท/ดอลลาร์ใน
สัปดาห์ก่อน โดยตลาดระมัดระวังมากขึ้นต่อท่าทีของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เกี่ยวกับมาตรการดูแลกระแสเงินทุนเคลื่อน
ย้าย พร้อมกันนี้คาดว่าปริมาณธุรกรรมจะเบาบางลงในสัปดาห์นี้ เนื่องจากเข้าสู่เทศกาลสงกรานต์และอีสเตอร์
  • สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ระบุว่า กรณีสหรัฐฯ ปฏิบัติการโจมตีซีเรียไม่มีผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทย แต่
สศค.ได้ติดตามเหตุการณ์ดังกล่าวอย่างใกล้ชิด โดยประเด็นที่เห็นว่าต้องจับตาเป็นพิเศษ คือ ผลกระทบต่อราคาทองคำและราคาน้ำมัน
ในตลาดโลก ทั้งนี้ กระทรวงการคลังได้เตรียมมาตรการต่างๆ ไว้รับมือกับทุกเหตุการณ์อยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็นมาตรการทางการเงิน,
มาตรการทางการคลัง ตลอดจนมาตรการภาษี ซึ่งขึ้นอยู่กับฝ่ายนโยบายว่าจะตัดสินใจเลือกใช้มาตรการใด
  • ที่ประชุมคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) ระบุว่า การประกาศคำสั่งประธานาธิบดีสหรัฐฯ
(Executive Orders) เรื่องการขาดดุลการค้าของสหรัฐฯ ซึ่งมีไทยเป็นหนึ่งใน 16 ประเทศที่ถูกระบุว่าเกินดุลกับสหรัฐฯ นั้น เป็น
เรื่องที่สำคัญ และอาจจะสร้างความไม่แน่นอนต่อทิศทางการค้าและการลงทุนในระยะข้างหน้าได้ แม้ขณะนี้จะยังไม่มีรายละเอียดที่
ชัดเจนก็ตาม
  • สภาธุรกิจตลาดทุนไทย เปิดเผยดัชนีความเชื่อมั่นนักลงทุน (FETCO Investor Confidence Index) ประจำ
เดือน เม.ย.60 ว่า ภาพรวมดัชนีความเชื่อมั่นนักลงทุนในอีก 3 เดือนข้างหน้า (มิ.ย.60) อยู่ที่ 90.33 ปรับตัวลดลงแต่ยังอยู่ใน
ภาวะทรงตัว โดยการปรับตัวขึ้นต่อเนื่องของตลาดหุ้นสหรัฐฯ หยุดชะงักลงจากความล้มเหลวในการผลักดันร่างกฎหมายประกันสุขภาพ
ใหม่ของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ของสหรัฐ ขณะที่ตลาดหุ้นในกลุ่มประเทศเกิดใหม่ได้ประโยชน์จากการไหลเข้าของเงินทุน ด้าน
ตลาดหุ้นไทยฟื้นตัวขึ้นเล็กน้อยตามภูมิภาค
  • ทำเนียบขาว เปิดเผยว่า นายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐ และนายชินโซะ อาเบะ นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น ได้พูด
คุยกันผ่านทางโทรศัพท์ โดยทั้ง 2 ฝ่ายต่างเห็นพ้องกันว่า การที่รัฐบาลซีเรียใช้แก๊สโจมตีกลุ่มกบฎเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ถือเป็นสิ่งที่น่า
รังเกียจและจะต้องมีการตอบโต้อย่างแข็งกร้าวจากประชาคมโลก
  • ธนาคารกลางจีน ได้ระงับการดำเนินงานทางตลาดเงิน (Open Market Operations) หรือ OMO ผ่านทางข้อ
ตกลงซื้อคืนพันธบัตรโดยมีสัญญาขายคืน (reverse repo) ในวันนี้ซึ่งถือเป็นวันที่ 11 ติดต่อกันแล้ว โดยมีเป้าหมายที่จะระบายสภาพ
คล่องออกจากตลาด เนื่องจากมองว่าสภาพคล่องในระบบธนาคารยังอยู่ในระดับสูง
  • ธนาคารกลางฝรั่งเศส ปรับลดคาดการณ์การขยายตัวของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ไตรมาสแรกปีนี้
ลงสู่ระดับ 0.3% จากตัวเลขคาดการณ์ก่อนหน้านี้ที่ 0.4% โดยพิจารณาจากข้อมูลบ่งชี้กิจกรรมทางธุรกิจในเดือนมี.ค. ทั้งนี้ ดัชนีความ
เชื่อมั่นทางธุรกิจในภาคอุตสาหกรรมเดือนมี.ค.ปรับตัวลงสู่ระดับ 103 จากระดับ 104 ในเดือนก.พ.ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นใน
ภาคบริการและการก่อสร้างอยู่ที่ระดับ 101 และ 102 ตามลำดับ ซึ่งไม่เปลี่ยนแปลงจากการประมาณการครั้งก่อน
  • ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) ได้ประกาศคงการประเมินเศรษฐกิจใน 8 เขต จากทั้งหมด 9 เขต โดยบริษัทบางส่วนมี
ความระมัดระวังต่อแนวโน้มการเมืองและเศรษฐกิจในสหรัฐอเมริกาและยุโรป
  • กระทรวงการคลังญี่ปุ่น เปิดเผยว่า ยอดเกินดุลบัญชีเดินสะพัดเดือนก.พ. เพิ่มขึ้น 18.2% สู่ระดับ 2.81 ล้านล้านเย
น (2.53 หมื่นล้านดอลลาร์) ซึ่งเป็นระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ และเป็นการเกินดุลบัญชีเดินสะพัดติดต่อกันเป็นเดือนที่ 32 โดยได้
แรงหนุนจากการปรับตัวขึ้นของยอดส่งออกสินค้าไปยังประเทศแถบเอเชีย ซึ่งช่วยให้ญี่ปุ่นมียอดเกินดุลการค้า

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ