นายสุรสีห์ กิตติมณฑล อธิบดีกรมฝนหลวงและการบินเกษตร เปิดเผยว่า พระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ เป็นพิธีการซึ่งกระทำขึ้นเพื่อความเป็นสิริมงคล และส่งเสริมบำรุงขวัญเกษตรกร เพื่อให้เกิดความมั่นใจในการเพาะปลูก กำหนดจัดขึ้นในเดือนหกของทุกปี อันถือเป็นเวลาที่เหมาะสมในการเริ่มต้นฤดูกาลแห่งการทำนา กรมฝนหลวงและการบินเกษตร ได้เตรียมความพร้อมการปฏิบัติการฝนหลวงไว้เสมอและยังคงปฏิบัติการเพื่อช่วยเหลือพื้นที่การเกษตรอย่างต่อเนื่อง
สำหรับการปฏิบัติการฝนหลวงเมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม 2560 ซึ่งถือว่าเป็นวันแรกแห่งการเริ่มฤดูการเพาะปลูกตามสมัยโบราณ กรมฝนหลวงและการบินเกษตร ได้ปฏิบัติการฝนหลวงเพื่อสนับสนุนการเพาะปลูกในพื้นที่ ภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออก โดยศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวงภาคเหนือ จังหวัดเชียงใหม่ ปฏิบัติการฝนหลวงในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ และจังหวัดลำพูน พบว่ามีฝนตกบริเวณพื้นที่อำเภอฮอด อำเภอจอมทอง อำเภอพร้าว อำเภอดอยสะเก็ด อำเภอแม่ออน จังหวัดเชียงใหม่ พื้นที่เกษตรแปลงใหญ่อำเภอบ้านโฮ่ง อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน และพื้นที่ลุ่มรับน้ำเขื่อนภูมิพล
หน่วยปฏิบัติการฝนหลวงจังหวัดพิษณุโลก ปฏิบัติการฝนหลวงในพื้นที่จังหวัดเพชรบูรณ์ จังหวัดกำแพงเพชร และจังหวัดพิษณุโลก พบว่ามีฝนตกบริเวณพื้นที่อำเภอศรีเทพ อำเภอวิเชียรบุรี อำเภอบึงสามพัน อำเภอหนองไผ่ จังหวัดเพชรบูรณ์ อำเภอบึงสามัคคี อำเภอคลองขลุง อำเภอทรายทองวัฒนา จังหวัดกำแพงเพชร อำเภอชาติตะการ จังหวัดพิษณุโลก และพื้นที่ลุ่มรับน้ำเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ หน่วยปฏิบัติการฝนหลวงจังหวัดกาญจนบุรี ปฏิบัติการฝนหลวงในพื้นที่จังหวัดกาญจนบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี จังหวัดชัยนาท และจังหวัดอุทัยธานี พบว่ามีฝนตกบริเวณพื้นที่อำเภอเลาขวัญ จังหวัดกาญจบุรี อำเภอเมืองสุพรรณบุรี อำเภออู่ทอง อำเภอศรีประจันต์ อำเภอดอนเจดีย์ อำเภอหนองหญ้าไซ อำเภอสามชุก อำเภอด่านช้าง อำเภอเดิมบางนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี อำเภอเนินขาม อำเภอหันดา จังหวัดชัยนาท อำเภอบ้านไร่ จังหวัดอุทัยธานี พื้นที่ลุ่มน้ำท่าจีน ลุ่มน้ำแม่กลอง ลุ่มรับน้ำเขื่อนกระเสียง อ่างเก็บน้ำลำตะเพิน และอุทยานแห่งชาติพุเตย
หน่วยปฏิบัติการฝนหลวงจังหวัดลพบุรี ปฏิบัติการฝนหลวงในพื้นที่จังหวัดสระบุรี จังหวัดลพบุรี จังหวัดอ่างทอง จังหวัดสิงห์บุรี จังหวัดชัยนาท จังหวัดนครสวรรค์ จังหวัดอุทัยธานี พบว่ามีฝนตกบริเวณพื้นที่อำเภอหนองโดน อำเภอดอนพุด จังหวัดสระบุรี อำเภอท่าวุ้ง อำเภอบ้านหมี่ อำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี พื้นที่เกษตรแปลงใหญ่อำเภอเมืองอ่างทอง อำเภอไชโย จังหวัดอ่างทอง อำเภอพรหมบุรี อำเภอท่าช้าง อำเภอเมืองสิงห์บุรี อำเภออินทร์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี อำเภอสรรคบุรี อำเภอเมืองชัยนาท อำเภอสรรพยา อำเภอมโนรมย์ อำเภอวัดสิงห์ จังหวัดชัยนาท อำเภอตาคลี อำเภอตากฟ้า อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์ อำเภอหนองขาหย่าง อำเภอหนองฉาง อำเภอเมืองอุทัยธานี อำเภอทัพทัน จังหวัดอุทัยธานี และพื้นที่ลุ่มรับน้ำเขื่อนเจ้าพระยา
หน่วยปฏิบัติการฝนหลวงภาคตะวันออก จังหวัดสระแก้ว ปฏิบัติการฝนหลวงในพื้นที่จังหวัดสระแก้ว จังหวัดฉะเชิงเทรา จังหวัดชลบุรี จังหวัดระยอง จังหวัดจันทบุรี พบว่ามีฝนตกบริเวณพื้นที่อำเภอวังน้ำเย็น อำเภอวังสมบูรณ์ จังหวัดสระแก้ว อำเภอท่าตะเกียบ อำเภอสนามชัยเขต อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา อำเภอบ่อทอง อำเภอหนองใหญ่ จังหวัดชลบุรี อำเภอเขาชะเมา จังหวัดระยอง อำเภอแก่งหางแมว จังหวัดจันทบุรี พื้นที่ลุ่มรับน้ำอ่างเก็บน้ำคลองสียัด อ่างเก็บน้ำคลองระบม และอ่างเก็บน้ำประแสร์
ศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวงภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จังหวัดขอนแก่น ปฏิบัติการฝนหลวงในพื้นที่จังหวัดกาฬสินธุ์ และจังหวัดสกลนคร พบว่ามีฝนตกบริเวณพื้นที่อำเภอนาคู อำเภอห้วยผึง อำเภอสมเด็จ อำเภอสหัสขันธ์ อำเภอสามชัย จังหวัดกาฬสินธุ์ อำเภอภูพาน อำเภอกุดบาก จังหวัดสกลนคร และพื้นที่ลุ่มรับน้ำเขื่อนลำปาว พื้นที่ลุ่มน้ำห้วยน้ำพุง หน่วยปฏิบัติการฝนหลวงจังหวัดนครราชสีมา ปฏิบัติการฝนหลวงในพื้นที่จังหวัดนครราสีมา พบว่ามีฝนตกบริเวณพื้นที่อำเภอครบุรี อำเภอวังน้ำเขียว อำเภอปักธงชัย อำเภอปากช่อง พื้นที่ลุ่มรับน้ำเขื่อนลำตะคอง เขื่อนลำพระเพลิง เขื่อนลำมูลบน และพื้นที่เกษตรแปลงใหญ่อำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา
สำหรับภาพรวมการปฏิบัติการฝนหลวงตั้งแต่เริ่มตั้งหน่วยปฏิบัติการฝนหลวง ตั้งแต่วันที่ 3 มีนาคม – 12 พฤษภาคม 2560 มีการขึ้นปฏิบัติการฝนหลวง จำนวน 68 วัน มีวันฝนตกจากการปฏิบัติการฝนหลวงคิดเป็นร้อยละ 98.1 ขึ้นปฏิบัติงานจำนวน 1319 เที่ยวบิน ปริมาณการใช้สารฝนหลวง 1144.40 ตัน พลุซิลเวอร์ไอโอไดด์สำหรับภารกิจปฏิบัติการฝนหลวง จำนวน 419 นัด และภารกิจปฏิบัติการยับยั้งความรุนแรงพายุลูกเห็บ จำนวน 1125 นัด จังหวัดที่มีรายงานฝนตกรวม 55 จังหวัด และทำให้มีปริมาณน้ำไหลเข้าอ่างสะสมรวม 237.16 ล้านลบ.ม.