ภาวะตลาดเงินบาท: เปิด 34.13 ทิศทาง sideway รอดูตัวเลขจ้างงานฯสหรัฐ-เงินเฟ้อของไทย

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday May 31, 2017 09:22 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย เปิดเผยว่า เงินบาทเปิดตลาดเช้านี้อยู่ที่ระดับ 34.13 บาท/ดอลลาร์ ทรง ตัวจากช่วงเย็นวานนี้ที่ปิดตลาดที่ระดับ 34.13 บาท/ดอลลาร์

วันนี้คาดว่าเงินบาทจะยัง sideway ต่อเนื่องจากต้นสัปดาห์ หลังจากที่เมื่อวานนี้พยายามจะขึ้นไปทดสอบแนวต้านที่ ระดับ 34.20 บาท/ดอลลาร์ แต่ยังไม่ผ่าน สัปดาห์นี้ปัจจัยที่นักลงทุนรอดู คือ ตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรของสหรัฐ รวมทั้ง อัตราเงินเฟ้อเดือนพ.ค.ของไทย ที่กระทรวงพาณิชย์จะประกาศในวันพรุ่งนี้

"รวมๆ วันนี้คง sideway ต่อ ปัจจัยที่น่าจะมีอิทธิพลต่อบาทคือตัวเลข Nonfarm Payroll ของสหรัฐศุกร์นี้ และเงิน เฟ้อของบ้านเรา เพราะหากยังโตในอัตราที่ชะลอตัว ก็อาจทำให้บาทแข็งค่าต่อ เพราะช่วงนี้ก็ยังมี flow เข้ามาซื้อ bond" นัก บริหารเงิน ระบุ

นักบริหารเงิน คาดว่า วันนี้เงินบาทจะเคลื่อนไหวในกรอบ 34.10-34.20 บาท/ดอลลาร์

  • ปัจจัยสำคัญ
  • เช้านี้เงินเยนอยู่ที่ระดับ 110.97 เยน/ดอลลาร์ จากเย็นวานนี้ที่ระดับ 111.06 เยน/ดอลลาร์
  • เงินยูโรเช้านี้อยู่ที่ระดับ 1.1172 ดอลลาร์/ยูโร จากเย็นวานนี้ที่ระดับ 1.1167 ดอลลาร์/ยูโร
  • อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท/ดอลลาร์ ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักระหว่างธนาคารของธปท.อยู่ที่ระดับ 34.1450 บาท/
ดอลลาร์
  • ธนาคารแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ LHBANK ดึงทุนไต้หวันเสริมแกร่ง เตรียมขอมติผู้ถือหุ้น 12 ก.ค.นี้ ขายหุ้น PP ให้
CTBC จำนวน 7,544 ล้านหุ้น หรือ 35.61% คาดกระบวนการเพิ่มทุนแล้วเสร็จใน ก.ค.นี้ หวังเงินระดมทุนต่อยอดกลุ่มธนาคาร
ยัน "อนันต์" ออกไม่กระทบ
  • "แบงก์ชาติ" ลั่นพร้อมหารือ สรท. เคลียร์ปม บาทแข็ง ย้ำหากมองตั้งแต่ต้นปีถึงปัจจุบันการเคลื่อนไหวถือว่าสอด
คล้องกับภูมิภาค ย้ำ ธปท. ยังเกาะติดค่าเงินใกล้ชิด พร้อมเข้าดูแล หากผันผวนแรง จี้ผู้ส่งออก-นำเข้า เร่งทำเฮดจิ้ง เหตุแนวโน้ม
ตลาดผันผวนมากขึ้น พร้อมยืนยันผลขาดทุนไม่กระทบการทำนโยบายการเงิน เหตุนักลงทุนดูที่ความ น่าเชื่อถือของนโยบายเป็นหลัก
  • กระทรวงพาณิชย์สหรัฐรายงานว่า การใช้จ่ายของผู้บริโภคสหรัฐ เพิ่มขึ้นมากที่สุดในรอบ 4 เดือนในเดือนเม.ย.
โดยดีดตัวขึ้น 0.4% หลังจากเพิ่มขึ้น 0.3% ในเดือนมี.ค. โดยตัวเลขดังกล่าวสอดคล้องกับการคาดการณ์ของนักวิเคราะห์
  • ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) สาขาดัลลัส คาดการณ์ว่าอัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจสหรัฐจะอยู่ที่ระดับ
ประมาณ 2% ไม่ใช่ 3% หรือมากกว่านั้นตามที่รัฐบาลของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ คาดการณ์ไว้
  • นางลาเอล เบรนาร์ด หนึ่งในคณะผู้ว่าการธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) กล่าวว่า เฟดมีแนวโน้มปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย
ในไม่ช้า แม้ว่าเฟดอาจจะต้องการชะลอการปรับขึ้น ถ้าหากว่าอัตราเงินเฟ้อยังคงมีทิศทางอยู่ในระดับต่ำต่อไป ขณะเดียวกันยังเห็น
พ้องกับเฟดในการลดการถือครองพันธบัตรมูลค่า 4.5 ล้านล้านดอลลาร์ ซึ่งพันธบัตรส่วนใหญ่มาจากการที่เฟดเข้าซื้อในช่วงที่เกิดวิกฤต
ทางการเงิน และภาวะถดถอยทางเศรษฐกิจ
  • สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับเงินสกุลหลักๆ ในการซื้อขายที่ตลาดนิวยอร์กเมื่อคืนนี้ (30 พ.ค.) ด้วย
แรงกดดันจากข้อมูลเศรษฐกิจด้านอสังหาริมทรัพย์และความเชื่อมั่นผู้บริโภคของสหรัฐที่ต่ำกว่าคาดการณ์ของตลาด ยูโรแข็งค่าขึ้นเมื่อ
เทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ที่ระดับ 1.1186 ดอลลาร์ จากระดับ 1.1175 ดอลลาร์ ในขณะที่ดอลลาร์อ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับเยน ที่
ระดับ 110.76 เยน จากระดับ 111.23 เยน
  • สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดลบเมื่อคืนนี้ (30 พ.ค.) เนื่องจากนักลงทุนเทขายทำกำไรก่อนที่กระทรวงแรงงาน
สหรัฐจะเปิดเผยตัวเลขจ้างงานนอกภาคเกษตรในวันศุกร์นี้
  • นักลงทุนในตลาดการเงินจับตาตัวเลขจ้างงานนอกภาคเกษตรประจำเดือนพ.ค.ของสหรัฐ โดยกระทรวงแรงงาน
สหรัฐจะเปิดเผยข้อมูลดังกล่าวในวันศุกร์นี้ เวลา 19.30 น.ตามเวลาไทย ขณะที่นักวิเคราะห์จำนวนหนึ่งคาดว่า ตัวเลขจ้างงานนอก
ภาคเกษตรเดือนพ.ค.จะเพิ่มขึ้นราว 185,000 ตำแหน่ง

ทางด้านออโตเมติก ดาต้า โพรเซสซิ่ง อิงค์ (ADP) จะเปิดเผยตัวลขจ้างงานของภาคเอกชนทั่วสหรัฐประจำเดือนพ. ค.ในวันพรุ่งนี้ โดยการเปิดเผยข้อมูลดังกล่าวถูกเลื่อนออกไป 1 วัน เนื่องจากตลาดการเงินสำหรับปิดทำการในวันจันทร์ที่ 29 พ.ค. เนื่องในวัน Memorial Day

ตัวเลขจ้างงานนอกภาคการเกษตรเป็นหนึ่งในข้อมูลที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จับตาอย่างใกล้ชิด ก่อนที่การประชุม เฟดครั้งต่อไปจะมีขึ้นในวันที่ 13-14 มิ.ย.นี้

  • นอกจากนี้นักลงทุนจับตาข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐที่จะมีการเปิดเผยในวันนี้ ได้แก่ ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) เขต

ชิคาโกเดือนพ.ค., ยอดทำสัญญาขายบ้านที่รอปิดการขาย (pending home sales) เดือนเม.ย. และรายงานสรุปภาวะ

เศรษฐกิจ หรือ Beige Book จากธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด)


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ