ภาวะตลาดเงินบาท: ระหว่างวันแข็งค่าแตะ 33.95 ก่อนปิดที่ 34.00/01 หลังแนวทางธปท.ไม่มีผลต่อเงินทุนไหลเข้า

ข่าวเศรษฐกิจ Monday June 5, 2017 17:39 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงเทพ เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดเย็นนี้อยู่ที่ระดับ 34.00/01 บาท/ดอลลาร์ จากช่วง เช้าที่เปิดตลาดที่ระดับ 34.04 บาท/ดอลลาร์ โดยระหว่างวันเงินบาทแข็งค่าสุดที่ระดับ 33.95 บาท/ดอลลาร์ และอ่อนค่าสุดที่ ระดับ 34.10 บาท/ดอลลาร์

ระหว่างวันเงินบาทแข็งค่าหลุดระดับ 34 บาท/ดอลลาร์ ไปอยู่ที่ 33.95 บาท/ดอลลาร์ หลังจากที่ตลาดรอฟังธนาคาร แห่งประเทศไทย (ธปท.) ประกาศการปฏิรูปกฎเกณฑ์การควบคุมการแลกเปลี่ยนเงินแล้ว ไม่พบว่ามีมาตรการใดที่จะเข้ามาควบคุมใน เรื่องของอัตราแลกเปลี่ยน หรือควบคุมเรื่องเงินทุนไหลเข้าแต่อย่างใด จึงทำให้เงินบาทแข็งค่าไประยะหนึ่ง แต่จากนั้นก็เริ่มปรับอ่อน ค่ากลับไปอยู่ที่ระดับ 34 บาท/ดอลลาร์ ในช่วงท้ายตลาด

"บาทหลุดระดับ 34 ไปพักหนึ่ง หลังจากที่ตลาดรอลุ้นว่าแบงก์ชาติจะออกมาตรการอะไรที่มีผลต่อค่าเงินหรือไม่ พอผล ออกมาว่าไม่มี ก็ส่งผลทางจิตวิทยา และทำให้บาทแข็งค่าไปอยู่ที่ 33.95 สักระยะหนึ่ง จากนั้นก็ค่อยๆ กลับเข้าไปที่สู่ระดับ 34 บาท ตามเดิม" นักบริหารเงิน ระบุ

นักบริหารเงิน คาดว่า พรุ่งนี้เงินบาทจะเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบ 33.95-34.10 บาท/ดอลลาร์

  • ปัจจัยสำคัญ
  • ช่วงเย็นนี้เงินเยนอยู่ที่ระดับ 110.53/54 เยน/ดอลลาร์ จากช่วงเช้าที่ระดับ 110.56 เยน/ดอลลาร์
  • ส่วนเงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.1264/1265 ดอลลาร์/ยูโร จากช่วงเช้าที่ระดับ 1.1268 ดอลลาร์/ยูโร
  • ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ระดับ 1,566.85 จุด ลดลง 0.75 จุด, -0.05% มูลค่าการซื้อขาย 43,672.90 ล้านบาท
  • สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติซื้อสุทธิ 493.68 ล้านบาท(SET+MAI)
  • นายวิรไท สันติประภพ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ระบุถึงกรณีที่เงินบาทปรับแข็งค่าหลุดระดับ 34
บาท/ดอลลาร์สหรัฐไปเมื่อช่วงบ่ายนั้นว่า เงินบาทในบางช่วงอาจจะมีการแข็งค่าขึ้นบ้าง ซึ่งประเด็นสำคัญมาจากเงินดอลลาร์สหรัฐฯ
ที่ได้รับผลกระทบมาจากสถานการณ์ต่างๆ ในสหรัฐ รวมทั้งสถานการณ์ด้านการเมืองของสหรัฐเอง ดังนั้นขอให้ผู้ประกอบการให้ความ
สำคัญกับการบริหารความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เพราะปัจจัยที่มีผลต่อค่าเงินนั้นส่วนใหญ่จะเป็นปัจจัยที่มาจากต่างประเทศ

ส่วนการปฏิรูปกฎเกณฑ์ควบคุมการแลกเปลี่ยนเงินที่ ธปท.ได้ประกาศออกมาวันนี้ ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อจะนำมาใช้ควบ คุมเงินทุนไหลเข้าที่จะมีผลกดดันต่ออัตราแลกเปลี่ยนตามที่ตลาดได้คาดการณ์กันไปเอง ซึ่งในวัตถุประสงค์ที่แท้จริงแล้ว สิ่งที่ ธปท. ประกาศวันนี้เป็นการนำมาใช้เพื่อเพิ่มความสะดวกในการประกอบธุรกิจของภาคเอกชน (Ease of doing business)

ในการดำเนินการผ่อนคลายกฎเกณฑ์แลกเปลี่ยนเงิน ธปท.จะทยอยดำเนินการเป็นลำดับ หลายเรื่องมีผลบังคับใช้ใน เดือนนี้ และจะดำเนินการผ่อนคลายส่วนใหญ่ให้แล้วเสร็จภายในปี 60 แต่อาจมีบางเรื่องที่ต้องใช้เวลา บางเรื่องอาจต้องใช้เวลา ดำเนินการถึงปี 61

  • น.ส.วชิรา อารมย์ดี ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ธปท.ระบุเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นนั้นยังเป็นการแข็งค่าไปตามทิศ
ทางที่สอดคล้องกับสกุลเงินอื่นๆ ในภูมิภาค และความความผันผวนของค่าเงินบาทถือว่ายังอยู่ในระดับกลางๆ เมื่อเทียบกับความผันผวน
ของค่าเงินสกุลเงินอื่น
  • ธนาคารกรุงศรีอยุธยา (BAY) มองทิศทางค่าเงินบาทในสัปดาห์นี้มีแนวโน้มเคลื่อนไหวในกรอบ 33.85-34.25 ต่อ
ดอลลาร์ เทียบกับระดับปิดอ่อนค่าที่ 34.16 เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว
  • สำนักวิจัย ธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย (CIMBT) มองว่าเงินบาทที่แข็งค่าเทียบดอลลาร์สหรัฐในช่วงไตรมาสที่ 1 มา
จากความไม่ชัดเจนของนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของประธานาธิบดีทรัมป์ ส่งผลให้เงินทุนที่เคยออกไปในช่วงปลายปีก่อนเคลื่อนย้าย
กลับเข้ามา ทำให้บาทแข็งค่า อีกทั้งเฟดเองไม่ได้มีการส่งสัญญาณเร่งการขึ้นดอกเบี้ยเร็วกว่าที่ตลาดคาด นักลงทุนต่างชาติยังคงมอง
ประเทศไทยมีเสถียรภาพการเงินดี ดังเห็นได้จากการเกินดุลบัญชีเดินสะพัดและเงินสำรองระหว่างประเทศที่สูง จึงเข้ามาพักเงินและ
แสวงหาผลกำไรจากส่วนต่างดอกเบี้ยไทยและสหรัฐ โดยคาดว่าในช่วงปลายปีนี้น่าจะเห็นค่าเงินอยู่ที่ระดับ 35.50 บาทต่อดอลลาร์
สหรัฐฯ
  • CIMBT ได้ปรับประมาณการตัวเลขการส่งออกในปีนี้เพิ่มขึ้นเป็นเติบโต 3.1% จากเดิมที่คาดว่าติดลบ 0.6% โดยได้
รับปัจจัยหนุนจากภาวะเศรษฐกิจโลกที่ฟื้นตัว ราคาสินค้าโภคภัณฑ์และราคาสินค้าเกษตรที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น พร้อมเตรียมทบทวนประมาณ
การ GDP อีกครั้ง

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ