นายกฤษฎา จีนะวิจารณะ ผู้อำนวยการสานักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง เผยรายงานภาวะเศรษฐกิจภูมิภาคประจำเดือน พ.ค.60 เศรษฐกิจภูมิภาคในขยายตัวต่อเนื่อง นำโดยภาคใต้ ภาคตะวันออก กทม.และปริมณฑล โดยได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการขยายตัวของการบริโภคภาคเอกชน โดยเฉพาะการบริโภคสินค้าคงทน สอดคล้องกับการฟื้นตัวของการลงทุนภาคเอกชน รวมถึงการขยายตัวต่อเนื่องของภาคการท่องเที่ยว ส่งผลให้เสถียรภาพเศรษฐกิจทุกภูมิภาคยังอยู่ในเกณฑ์ดี
สำหรับภาคใต้ เศรษฐกิจขยายตัวอย่างแข็งแกร่งจากการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชน รวมถึงภาคเกษตรและภาคท่องเที่ยวเป็นตัวขับเคลื่อนหลัก สะท้อนจากเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านอุปสงค์ โดยเฉพาะการบริโภคภาคเอกชน จาก ภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ขยายตัว 4.1% ต่อปี สอดคล้องกับการบริโภคสินค้าในหมวดสินค้าคงทน สะท้อนจากยอดรถยนต์นั่งและยอดรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ขยายตัว 51.2% และ 38.3% ต่อปี ตามลำดับตามการขยายตัวในเกือบทุกจังหวัด โดยได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการเพิ่มขึ้นของรายได้เกษตรกร สอดคล้องกับการลงทุนภาคเอกชนในหมวดเครื่องมือเครื่องจักรมีสัญญาณปรับตัวดีขึ้น สะท้อนจากยอดรถปิคอัพและยอดรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่ ขยายตัวที่ 66.4% และ 0.6% ต่อปีตามลำดับ นอกจากนี้การลงทุนในโรงงาน อุตสาหกรรมขยายตัวในอัตราเร่งที่ 117.9% ต่อปี
ด้านอุปทาน ภาคการท่องเที่ยวขยายตัวได้ดี ทั้งจากจำนวนของผู้เยี่ยมเยือนและรายได้จากการเยี่ยมเยือนในเดือน เม.ย.60 โดยขยายตัว 4.0% และ 28.7% ต่อปี ตามลำดับ สอดคล้องกับภาคเกษตรที่ยังคงขยายตัวตามการขยายตัวของผลผลิตและราคาสินค้าเกษตรสาคัญ อาทิ ปาล์ม น้ามัน และกุ้งขาว ขณะที่ด้านเสถียรภาพภายในยังอยู่ในเกณฑ์ดี สะท้อนจากอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือน พ.ค.60 อยู่ในระดับที่เอื้อต่อการบริโภคที่ 0.9% ต่อปี และอัตราการว่างงานในเดือน เม.ย.60 อยู่ที่ 1.6% ของกำลังแรงงานรวมของภูมิภาค
ภาคตะวันออก เศรษฐกิจขยายตัวอย่างแข็งแกร่ง โดยมีการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชน รวมถึงภาคเกษตรและภาคท่องเที่ยวเป็นตัวขับเคลื่อนหลัก สะท้อนจากเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านอุปสงค์ โดยเฉพาะการบริโภค ภาคเอกชน จากภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ ที่ขยายตัว 22.7% ต่อปี สอดคล้องกับการบริโภคสินค้าในหมวดสินค้า คงทน สะท้อนจากยอดรถยนต์นั่งและยอดรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ขยายตัวในอัตราเร่งที่ 24.9% และ 11.1% ต่อปีตามลาดับ โดยได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการเพิ่มขึ้นของรายได้เกษตรกร เช่นเดียวกันกับการลงทุนภาคเอกชนยัง ขยายตัวได้ดี สะท้อนจากยอดรถปิคอัพและยอดรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่ที่ขยายตัว 20.1% และ 21.1% ต่อปีตามลำดับ นอกจากนี้เม็ดเงินลงทุนในโรงงานอุตสาหกรรมขยายตัวในอัตราเร่งที่ 156.7% ต่อปี
ด้านอุปทาน โดยเฉพาะภาคการท่องเที่ยวขยายตัวทั้งจำนวนและรายได้จากการเยี่ยมเยือนในเดือน เม.ย.60 ที่ 2.7% และ 11.4% ต่อปี ตามลาดับ เช่นเดียวกันกับภาคเกษตรที่ขยายตัวได้ดี จากการขยายตัวของผลผลิตและราคาสินค้าเกษตร ในขณะที่ด้านเสถียรภาพภายในยังอยู่ในเกณฑ์ดี สะท้อนจากอัตราเงินเฟ้อทั่วไปยังอยู่ในระดับที่เอื้อต่อการบริโภคภายในภูมิภาคที่ 3.2% ต่อปี อัตราการว่างงานในเดือน เม.ย.60 อยู่ที่ 0.8% ของกาลังแรงงานรวมของภูมิภาค
กทม.และปริมณฑล เศรษฐกิจขยายตัว โดยมีการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชน รวมถึงการท่องเที่ยว เป็นตัวขับเคลื่อนหลัก สะท้อนจากเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านอุปสงค์ โดยเฉพาะการบริโภคภาคเอกชน จากภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ขยายตัว 2.6% ต่อปี สอดคล้องกับการบริโภคภาคเอกชนในหมวดสินค้าคงทน สะท้อนจากยอดรถยนต์ นั่งและยอดรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ ขยายตัวที่ 3.6% และ 10.6% ต่อปีตามลำดับ ตามการขยายตัวในเกือบทุกจังหวัด โดยได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการเพิ่มขึ้นของรายได้เกษตรกร และดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค สอดคล้องกับการลงทุนภาคเอกชนในหมวดเครื่องมือเครื่องจักรที่มีสัญญาณปรับตัวดีขึ้น สะท้อนจากยอดรถปิคอัพและเม็ดเงินลงทุนในโรงงานอุตสาหกรรมขยายตัว 17.8% และ 247.5% ต่อปีตามลำดับ
ด้านอุปทาน โดยเฉพาะภาคการท่องเที่ยวขยายตัวได้ในเกณฑ์ดีทั้งจำนวนและรายได้จากการเยี่ยมเยือนในเดือน เม.ย.60 ที่ขยายตัว 7.7% และ 34.4% ต่อปี ตามลำดับ สอดคล้องกับภาคเกษตรที่ขยายตัวได้ดี ตามการขยายตัวของผลผลิตสำคัญ อาทิ ข้าวเปลือก และสินค้าประมง เป็นต้น ส่วนด้านเสถียรภาพภายในยังอยู่ในเกณฑ์ดี สะท้อนจากอัตราเงินเฟ้อทั่วไปอยู่ในระดับต่ำที่ 2.6% ต่อปี และอัตราการว่างงานในเดือน เม.ย.60 อยู่ที่ 1.1% ของกำลังแรงงานรวมของภูมิภาค
ภาคกลาง เศรษฐกิจส่งสัญญาณฟื้นตัว โดยได้รับแรงขับเคลื่อนจากการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชน และการท่องเที่ยวเป็นหลัก สะท้อนจากเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านอุปสงค์ โดยเฉพาะการบริโภคภาคเอกชนในหมวดสินค้าคงทน จากยอดรถยนต์นั่งและยอดรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ขยายตัวที่ 23.5% และ 14.0% ต่อปี โดยได้รับปัจจัยสนับสนุนจากฟื้นตัวของเศรษฐกิจภายในภูมิภาคและการปรับตัวดีขึ้นของดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค สอดคล้องกับ การลงทุนภาคเอกชนที่ส่งสัญญาณปรับตัวดีขึ้นเช่นกัน จากยอดรถปิคอัพและยอดรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่ที่ขยายตัวในอัตราเร่งที่ 27.0% และ 30.8% ต่อปีตามลำดับ นอกจากนี้ เม็ดเงินลงทุนในโรงงานอุตสาหกรรมขยายตัวในอัตราเร่งเช่นกันที่ 494.7% ต่อปี
ด้านอุปทานขยายตัวต่อเนื่อง โดยภาคการท่องเที่ยวขยายตัว ต่อเนื่องทั้งจำนวนและรายได้จากการเยี่ยมเยือนในเดือน เม.ย.1.4% และ 5.2% ตามลำดับ ขณะที่ด้านเสถียรภาพภายในยังอยู่ในเกณฑ์ดี สะท้อนจากอัตราการว่างงานในเดือน เม.ย.60 อยู่ที่ 1.6% ของกาลังแรงงานรวมของภูมิภาค อย่างไรก็ดี อัตราเงินเฟ้อทั่วไปปรับตัวลดลงมาอยู่ที่ -0.9% ต่อปี
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือเศรษฐกิจขยายตัว โดยมีการบริโภคภาคเอกชน และภาคการท่องเที่ยวเป็นตัว ขับเคลื่อนหลัก สะท้อนจากเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านอุปสงค์ โดยเฉพาะการบริโภคภาคเอกชน จากภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ ที่ขยายตัว 0.2% ต่อปี สอดคล้องกับการบริโภคสินค้าในหมวดสินค้าคงทน สะท้อนจากยอดรถยนต์นั่งและยอด รถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ขยายตัวในอัตราเร่งที่ 32.1% และ 14.0% ต่อปี ตามลาดับ ขณะที่การลงทุน ภาคเอกชนในหมวดเครื่องมือเครื่องจักรยังคงทรงตัวจากเดือนก่อน สะท้อนจากยอดบรรทุกทะเบียนใหม่ที่หดตัวร้อยละ -0.2 ต่อปี อย่างไรก็ดี ยอดรถปิคอัพจดทะเบียนใหม่ที่ขยายตัว 7.5% ต่อปี
ด้านอุปทาน โดยเฉพาะภาคการเกษตรมีแนวโน้มขยายตัว จากการปรับตัวเพิ่มขึ้นของผลผลิตสินค้าเกษตรที่สำคัญ โดยเฉพาะข้าวเปลือก อ้อยโรงงาน เป็นต้น ในขณะที่ด้านเสถียรภาพภายในยังอยู่ในเกณฑ์ดี สะท้อนจากอัตราเงินเฟ้อทั่วไปยังอยู่ในระดับที่เอื้อต่อการบริโภคภายในภูมิภาค 3.2% ต่อปี และอัตราการว่างงานในเดือน เม.ย.60 อยู่ที่ 1.5% ของกำลังแรงงานรวมของภูมิภาค
ภาคเหนือ เศรษฐกิจส่งสัญญาณฟื้นตัว โดยมีการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชน และภาคการท่องเที่ยว เป็นตัวขับเคลื่อนหลัก สะท้อนจากเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านอุปสงค์ โดยเฉพาะการบริโภคภาคเอกชนในหมวดสินค้าคงทน สะท้อนจากยอดรถยนต์นั่งและยอดรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ขยายตัวที่ 24.2% และ 15.1% ต่อปีตามลำดับ ตามการขยายตัวในเกือบทุกจังหวัด โดยได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการเพิ่มขึ้นของรายได้เกษตรกร สอดคล้องกับการลงทุน ภาคเอกชนในหมวดเครื่องมือเครื่องจักรมีสัญญาณปรับตัวดีขึ้น สะท้อนจากยอดรถปิคอัพและยอดรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่ขยายตัวในอัตราเร่งที่ 18.8% และ 19.7% ต่อปี ตามลำดับ นอกจากนี้เม็ดเงินลงทุนในโรงงานอุตสาหกรรมกลับมาขยายตัวที่ 33.9% ต่อปี
ด้านอุปทาน โดยเฉพาะด้านภาคการท่องเที่ยวขยายตัวทั้งจำนวนและรายได้จากการเยี่ยมเยือนในเดือน เม.ย.60 ที่ขยายตัว 2.7% และ 7.7% ต่อปีตามลำดับ สอดคล้องกับภาคเกษตรขยายตัวต่อเนื่องจากผลผลิตสินค้าเกษตรที่ขยายตัวในอัตราเร่ง ตามการปรับตัวเพิ่มขึ้นของ สินค้าเกษตรสำคัญ อาทิ ข้าว และข้าวโพด เป็นต้น เสถียรภาพภายในยังอยู่ในเกณฑ์ดี สะท้อนจากอัตราการว่างงานในเดือน เม.ย.60 อยู่ที่ 1.2 ของกาลังแรงงานรวมของภูมิภาค อย่างไรก็ดีอัตราเงินเฟ้อทั่วไปปรับตัวลดลงมาอยู่ที่ -1.3% ต่อปี
ภาคตะวันตก เศรษฐกิจส่งสัญญาณฟื้นตัว โดยได้รับแรงขับเคลื่อนจากการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชน และการท่องเที่ยวเป็นหลัก สะท้อนจากเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านอุปสงค์ โดยเฉพาะการบริโภคภาคเอกชนในหมวดสินค้าคงทน สะท้อนจากยอดรถยนต์นั่งและยอดรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ขยายตัวที่ 19.5% และ 4.9% ต่อปี ตามลำดับ ตามการขยายตัวในเกือบทุกจังหวัด โดยได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจภายในภูมิภาค และดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น สอดคล้องกับการลงทุนภาคเอกชนที่ส่งสัญญาณปรับตัวดีขึ้นเช่นกัน จากยอดรถปิคอัพบรรทุกจดทะเบียนใหม่และเม็ดเงินลงทุนในโรงงานอุตสาหกรรมที่ขยายตัวในอัตราเร่งที่ 13.2% และ 96.0% ต่อปี ตามลำดับ
ด้านอุปทาน โดยเฉพาะการท่องเที่ยวขยายตัวได้ดีทั้งจำนวนและรายได้จากการเยี่ยมเยือนในเดือน เม.ย.60 ที่ 5.4% และ 6.7% ต่อปี ตามลำดับ ขณะที่เสถียรภาพภายในยังอยู่ในเกณฑ์ดี สะท้อนจากอัตราการว่างงานในเดือน เม.ย.อยู่ที่ 1.0% ของกำลังแรงงานรวมของภูมิภาค ในขณะที่อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือน พ.ค.60 ปรับตัวลดลงที่ -0.4% ต่อปี