พล.ท.สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติ กรอบวงเงินค่าเวนคืนที่ดินและอสังหาริมทรัพย์ในโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่เส้นทางชายฝั่งทะเลตะวันออก ช่วงฉะเชิงเทรา-คลอง สิบเก้า-แก่งคอย พร้อมทางคู่เลี่ยงเมือง (Chord Line) จำนวน 3 แห่งเพิ่มเติม ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ โดยใช้ราคาประ เมินพ.ศ.2559-2562 มาพิจารณาและปรับเพิ่มค่าทดแทนตามสภาพทำเล เพื่อให้สะท้อนมูลค่าที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่แท้จริงและเป็น ปัจจุบัน
ทั้งนี้ การกำหนดค่าทดแทนตามหลักเกณฑ์ดังกล่าวทำให้วงเงินค่าเวนคืนที่ดินและรื้อย้ายสิ่งปลุกสร้างที่กำหนดโดยคณะ กรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นสูงกว่าวงเงินที่คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติ (คำนวณโดยใช้ราคาประเมิน พ.ศ.2551-2554) แต่เมื่อรวม กับวงเงินค่าก่อสร้างที่ได้ลงนามในสัญญาแล้ว ซึ่งต่ำกว่าวงเงินค่าก่อสร้างที่ ครม.อนุมัติ ยังคงทำให้วงเงินรวมของโครงการอยู่ภาย ใต้กรอบวงเงินเดิมที่ ครม.ได้มีมติอนุมัติไว้
หน่วย:ล้านบาท
รายการ วงเงินเดิม วงเงินที่เสนอในครั้งนี้ ส่วนต่าง เวนคืนที่ดินและรื้อย้ายสิ่งที่ปลูกสร้าง 128.82 372.45 +243.63 ค่าก่อสร้าง 10,805.29 10,232.85 -572.43 ค่าจ้างที่ปรึกษาประกวดราคา และควบคุมงานก่อสร้าง 414.24 320.35 -93.89 รวม 11,348.35 10,925.65 -422.70
แม้ว่าการปรับเพิ่มวงเงินค่าเวนคืนที่ดินและรื้อย้ายสิ่งปลูกสร้างที่กระทรวงคมนาคมเสนอในครั้งนี้ เป็นการปรับค่าทดแทน เพื่อให้สะท้อนมูลค่าที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่แท้จริงและเป็นปัจจุบัน และมิได้ทำให้กรอบวงเงินรวมของโครงการเกินกว่ากรอบวงเงินที่ ครม.อนุมัติไว้
แต่เนื่องจากการดำเนินงานที่ล่าช้าของการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) จึงส่งผลให้วงเงินค่าเวนคืนที่ดินและรื้อย้าย สิ่งปลูกสร้างที่เสนอในครั้งนี้สูงกว่าวงเงินที่ ครม.ได้อนุมัติเมื่อปี 55 และส่งผลให้การดำเนินโครงการไม่เป้นไปตามแผนที่เสนอ ครม.กล่าวคือ จากเดิม รฟท.คาดว่าจะสามารถเปิดใช้ทางคู่ ช่วงฉะเชิงเทรา-คลองสิบเก้า-แก่งคอย ได้ในปี 59 แต่จากรายงาน ผลการดำเนินงานที่เสนอมาครั้งนี้ ผู้รับจ้างสัญญาก่อสร้างได้เริ่มงานเมื่อวันที่ 19 ก.พ.59 และจะใช้ระยะเวลาก่อสร้าง 36 เดือน ซึ่งจะทำให้ รฟท.สามารถเปิดใช้ทางคู่ในเส้นทางดังกล่าวได้จริงประมาณปี 62 ส่งผลให้การเปิดใช้ทางคู่ในเส้นทางดังกล่าวล่าช้า กว่าแผนการดำเนินงานเดิมถึง 3 ปี