พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี กล่าวต้อนรับ Mr.Hiroshige Seko รมว.เศรษฐกิจ การค้า และอุตสาหกรรมญี่ปุ่น (METI) พร้อมด้วยหน่วยงานด้านเศรษฐกิจและคณะนักลงทุนรายใหญ่กว่า 570 รายจากประเทศญี่ปุ่น เนื่องในโอกาที่ความสัมพันธ์ของทั้ง 2 ประเทศดำเนินมาสู่ปีที่ 130 พร้อมเผยญี่ปุ่นยังเชื่อมั่นในเสภียรภาพทางเศรษฐกิจ ย้ำปีนี้การเมืองไทยมั่นคงที่สุดในรอบ 10 ปี
นอกจากนี้ ในการพบกันครั้งนี้ยังได้ผลักดันให้เกิดการเชื่อมโยงยุทธศาสตร์ Thailand 4.0 และ Connected Industries ไปสู่นโยบาย Thailand 4.0 Towrrds Connected Industries เพื่อจับมือร่วมกันในการเป็นหุ้นส่วนยุทธศาสตร์และเศรษฐกิจต่อเนื่องถึงการส่งเสริมการเปิดเสรีการค้าและการลงทุน
"เร็วๆ นี้มีข่าวน่ายินดีที่เศรษฐกิจของประเทศญี่ปุ่นเติบโตมากที่สุดในรอบ 2 ปีและเป็นผลต่อเนื่องให้เกิดการกระตุ้นการใช้จ่าย การลงทุน ตลอดจนการผลักดันนโยบายอาเบะโนมิกส์ และ Connected Industries ที่ทั้ง 2 นโยบายดังกล่าจะเชื่อมโยงมาสู่ยุทธศาสตร์การส่งเสริมกลุ่มประเทศ CLMVT การพัฒนาพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) รวมทั้งนโยบายไทยแลนด์ 4.0 ซึ่งจะทำให้เกิดการร่วมมือและขับเคลื่อทั้ง 2 ประเทศ ไปสู่อนาคตอย่างมีนัยสำคัญ"
นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ในการเชื่อมโยงการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ รัฐบาลและหน่วยงานต่างๆ ยังคงยึดแม่เหล็กใหญ่คือนโยบายไทยแลนด์ 4.0 เป็นสำคัญ โดยหลักการดังกล่าวนั้นสามารถเชื่อมโยงและร้อยเรียงกับนโยบาย Connected Industries ของประเทศญี่ปุ่นให้เกิดความสอดคล้องและเติมเต็มระหว่างกันและนำไปสู่ยุทธศาสตร์ Thailand 4.0 Towards Connected Industries ได้อย่างดีเยี่ยม
ทั้งนี้ การเชื่อมต่อของทั้งสองนโยบายจะเริ่มต้นที่การเป็นหุ้นส่วนยุทธศาสตร์และเศรษฐกิจ ซึ่งครอบคลุมทั้งด้านเสรีการค้า การส่งเสริมการลงทุน การพัฒนา 10 อุตสาหกรรมเป้าหมาย และผู้ประกอบการ SMEs ของทั้งสองประเทศ โดยปัจจัยทั้งหมดนี้ยังจะช่วยยกระดับระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกของไทย ให้เป็นแลนด์มาร์คของแหล่งอุตสาหกรรมที่ทันสมัยที่สุดแห่งหนึ่งของเอเชีย
นอกจากนี้ รัฐบาลยังมีแผนงานการลงทุนเพื่อยกระดับและพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกให้เป็นพื้นที่เศรษฐกิจใหม่ด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม (EECi) ที่มีจุดเด่นด้านความเป็นเมืองนวัตกรรมที่เป็นต้นแบบของการพัฒนางานวิจัยเทคโนโลยีและนวัตกรรมในลักษณะองค์รวม มีการใช้ทรัพยากรร่วมกันเพื่อก่อประโยชน์สูงสุดด้วยการรวมศูนย์ห้องปฏิบัติการและสนามทดสอบนวัตกรรม ศูนย์รับรองมาตรฐานนวัตกรรมทางด้านระบบและอุปกรณ์อัจฉริยะ โดยจัดตั้งเป็นเขตทดสอบนวัตกรรมอัจฉริยะของประเทศที่ผ่อนปรนกฎระเบียบที่อาจเป็นอุปสรรคต่อการคิดค้นนวัตกรรม
ทั้งนี้ รัฐบาลยังได้กำหนดแผนการลงทุนพัฒนาโครงข่ายคมนาคมขนส่งภายใต้โครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ในระยะ 5 ปี (60 – 64) เพื่อเชื่อมโยงเส้นทางคมนาคมขนส่งสินค้าระหว่างกรุงเทพฯ กับภาคตะวันออกรวมทั้งเชื่อมสู่ทุกภูมิภาคทั่วประเทศ และเป็นประตูสู่เมียนมา เวียดนาม สปป.ลาว กัมพูชา และจีนตอนใต้ ซึ่งประกอบด้วยโครงการสำคัญๆ ได้แก่ โครงการพัฒนาท่าอากาศยานนานาชาติอู่ตะเภา ในระยะ 5 ปีแรก จะเพิ่มขีดความสามารถให้รองรับผู้โดยสารจาก 3 ล้านคน เป็น 5 ล้านคนต่อปี และ 60 ล้านคนภายในปี 2575, โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่และรถไฟความเร็วสูง เพื่อเชื่อมต่อการเดินทางและการขนส่ง,
โครงการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบัง ระยะที่ 3 เพื่อรองรับความต้องการขนส่งสินค้าทางทะเลระหว่างประเทศในอนาคต, โครงการพัฒนาท่าเรือมาบตาพุด ระยะที่ 3 เพื่อให้เป็นส่วนหนึ่งของสาธารณูปโภคหลักในการรองรับการขนส่งสินค้าเหลว ก๊าซธรรมชาติ และอุตสาหกรรมต่อเนื่อง, โครงการพัฒนาท่าเรือพาณิชย์สัตหีบ, โครงการก่อสร้างถนนมอเตอร์เวย์ 3 เส้นทาง, ศูนย์บริการเบ็ดเสร็จด้านการลงทุน (OSS: One Stop Service) เพื่ออำนวยความสะดวกแก่นักลงทุนในอุตสาหกรรมเป้าหมาย
นอกจากนั้น เพื่อสร้างแรงจูงใจให้เกิดการลงทุนในประเทศ รัฐบาลยังได้แก้ไขกฎหมายการส่งเสริมการลงทุน และออกมาตรการเพื่อเร่งรัดการลงทุนเพิ่มเติม ตลอดจนเพิ่มสิทธิประโยชน์และการอำนวยความสะดวกต่างๆ ที่สอดคล้องกับความต้องการของนักลงทุนอีกเป็นจำนวนมาก เพื่อหวังให้เกิดการลงทุนรูปแบบใหม่ๆ ตลอดจนการส่งเสริมให้ไทยเป็นฐานการลงทุนต่อไปยังประเทศเพื่อนบ้านมากขึ้น โดยยังตั้งเป้าให้มีการถ่ายทอดหรือแลกเปลี่ยนในอุตสาหกรรมเดิมและอุตสาหกรรมใหม่ อาทิ ยานยนต์ อากาศยาน เครื่องมือแพทย์ Green Technology ฯลฯ ซึ่งทั้งหมดทั้งมวลนี้จะอัพเกรดให้ทุกอย่างอยู่ภายใต้คอนเซปต์ “สมาร์ท" เพื่อให้ความก้าวล้ำเกิดขึ้นอย่างทั่วถึง
ทั้งนี้ คณะผู้เดินทางจากญี่ปุ่น ประกอบด้วย ผู้บริหารระดับสูงทั้งภาครัฐและภาคเอกชน อาทิ อธิบดีกรมนโยบายการค้า ประธานองค์การส่งเสริมการค้าต่างประเทศของญี่ปุ่น-กรุงเทพฯ (JETRO) ประธานองค์การสนับสนุน SME แห่งประเทศญี่ปุ่น (SMRJ) ผู้บริหารบริษัท อายิโน๊ะโมโต๊ะ คูโบต้าคอร์ปอเรชั่น มิตซุยซูมิโตโม่อินชัวรันส์