ภาวะตลาดเงินบาท: ปิด 33.09 มองกรอบพรุ่งนี้ 33.09 - 33.13 ตลาดรอลุ้นตัวเลขเงินเฟ้อสหรัฐฯ-ผลประชุม BoE

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday September 13, 2017 17:27 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงเทพ เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดเย็นนี้อยู่ที่ระดับ 33.09 บาท/ดอลลาร์ แข็งค่าเล็ก น้อยจากช่วงเช้าที่เปิดตลาดที่ระดับ 33.11/12 บาท/ดอลลาร์

เงินบาทช่วงเย็นนี้แข็งค่าขึ้นเล็กน้อยเมื่อเทียบกับช่วงเช้า เนื่องจากระหว่างวันยังคงมี inflow เข้ามา และคืนพรุ่งนี้ คงต้องจับตาดูการรายงานตัวเลขเงินเฟ้อในเดือนส.ค.ของสหรัฐฯ เพราะหากมีทิศทางที่ดีจะทำให้ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่า และบาทมี โอกาสจะปรับอ่อนค่าลงได้บ้าง นอกจากนี้ยังต้องติดตามการประชุมธนาคารกลางอังกฤษ (BoE) ด้วย

"วันนี้บาทแข็งค่าเล็กน้อย เพราะยังมี flow เข้ามาในบ้านเรา คืนพรุ่งนี้คงต้องรอดูตัวเลข CPI ของสหรัฐ เพราะถ้า แนวโน้มดี ดอลลาร์ก็อาจจะกลับไปแข็งค่า รวมถึงต้องรอดูการประชุม BoE ด้วยเช่นกัน" นักบริหารเงินระบุ

นักบริหารเงิน คาดว่า พรุ่งนี้เงินบาทจะเคลื่อนไหวในกรอบแคบๆ ที่ 33.09 - 33.13 บาท/ดอลลาร์

  • ปัจจัยสำคัญ
  • ช่วงเย็นนี้เงินเยนอยู่ที่ระดับ 110.03/07 เยน/ดอลลาร์ จากช่วงเช้าที่ระดับ 110.08 เยน/ดอลลาร์
  • ส่วนเงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.1973 ดอลลาร์/ยูโร จากช่วงเช้าที่ระดับ 1.1986 ดอลลาร์/ยูโร
  • ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ระดับ 1,642.94 จุด ลดลง 0.61 จุด (-0.04%) มูลค่าการซื้อขาย 53,642 ล้านบาท
  • สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติซื้อสุทธิ 963.93 ลบ.(SET+MAI)
  • รมว.อุตสาหกรรม เปิดเผยในนำนายฮิโรชิเกะ เซโกะ รมว.เศรษฐกิจการค้า และอุตสาหกรรมของญี่ปุ่น (METI)
พร้อมด้วยผู้บริหารระดับสูงของหน่วยงานด้านเศรษฐกิจ และคณะนักลงทุนกว่า 300 ราย ลงพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวัน
ออก (EEC) เพื่อสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับนโยบายและการดำเนินโครงการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องว่า ขณะนี้กระทรวงอุตสาหกรรมกำลัง
เร่งผลักดันให้เกิดการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน 5 โครงการหลักเพื่อให้มีความพร้อมต่อการลงทุนเร็วที่สุด
  • ฟิทช์ เรทติ้ง มองว่า แม้ว่าเศรษฐกิจปี 60 ได้เริ่มปรับตัวในทิศทางที่ดีขึ้น แต่การเติบโตของเศรษฐกิจไทยในระยะ
ปานกลางยังคงต้องเผชิญกับความท้าทายจากสัดส่วนหนี้สินภาคครัวที่อยู่ในระดับสูง และผลกระทบเชิงลบจากสัดส่วนโครงสร้าง
ประชากรสูงอายุที่เพิ่มขึ้น ในขณะที่สภาพแวดล้อมในการดำเนินงานและผลการดำเนินงานโดยรวมของภาคธนาคารพาณิชย์ไทยยังคงมี
แนวโน้มเป็นลบ แม้ว่าในปี 61 จะมีการคาดการณ์ว่าอัตราการเติบโตของสินเชื่อ คุณภาพสินทรัพย์ และอัตราการทำกำไรจะมีการปรับ
ตัวดีขึ้นบ้าง
  • ดัชนีความเชื่อมั่นราคาทองคำในเดือนกันยายน 2560 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนสิงหาคม 2560 ที่ระดับ 60.06 ซึ่ง
เพิ่มขึ้น 0.19 จุด หรือคิดเป็น 0.32 % แสดงให้เห็นว่ากลุ่มตัวอย่างยังคงมีความเชื่อมั่นต่อราคาทองคำในเดือนกันยายนที่เพิ่มขึ้นจาก
เดือนสิงหาคม
  • ปลัดกระทรวงการคลัง เตรียมเสนอแพ็คเกจส่งเสริมการออมแห่งชาติต่อ รมว.คลัง ภายในเดือน ก.ย.นี้ เพื่อดูแล
การออมในทุกระดับ โดยมีข้อเสนอ 4 ด้าน ได้แก่ 1.การยกระดับของการให้ความรู้ทางด้านการเงินกับประชาชนทุกระดับเป็นวาระ
แห่งชาติ ซึ่งจัดทำแผนส่งเสริมความรู้ทางการเงินแห่งชาติ โดยให้กระทรวงการคลังเป็นผู้รับผิดชอบหลัก โดยร่วมมือกับหน่วยงานที่
เกี่ยวข้อง สถาบันการเงิน และภาคเอกชน เนื่องจากการให้ความรู้แต่ละกลุ่มจะมีความแตกต่างกัน ได้แก่ กลุ่มคน Gen-Y, กลุ่มคน
Gen-Z, กลุ่มคนที่ทำงาน, กลุ่มคนฐานราก, กลุ่มคนโสด, กลุ่มคนที่สมรสแล้ว, กลุ่มคนตกงาน, กลุ่มคนชรา และกลุ่มเกษตรกร
  • ศูนย์วิจัยกสิกรไทย เปิดเผยว่า ภาวะการครองชีพของครัวเรือนในเดือนส.ค. ปรับตัวดีขึ้นเล็กน้อยจากเดือนก่อน
หน้า สะท้อนจากดัชนีภาวะเศรษฐกิจของครัวเรือน (KR-ECI) ที่เพิ่มขึ้นจากระดับ 45.5 ในเดือนก.ค. มาอยู่ที่ระดับ 45.7 ใน
เดือนส.ค. 2560 ตามลำดับ
  • สำนักข่าวเกียวโดรายงายโดยอ้างแหล่งข่าวทางการทูตของสหรัฐว่า นายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐ มีแผนที่
จะเดินทางเยือนญี่ปุ่นเป็นครั้งแรกในช่วงต้นเดือนพ.ย.นี้ เพื่อหารือกับนายชินโซ อาเบะ นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น
  • ประธานคณะกรรมาธิการยุโรป (EC) แถลงนโยบายและผลงานประจำปี (State of the Union) ต่อรัฐสภา
ยุโรป ณ เมืองสตราสบูร์กของฝรั่งเศสในวันนี้ ระบุเศรษฐกิจยุโรปกำลังดีดตัวขึ้นจากช่วงวิกฤติ โดยได้รับแรงหนุนที่ดีและส่งสัญญาณฟื้น
ตัวอย่างสดใส ทั้งนี้ ประเทศสมาชิกจำเป็นต้องใช้เวลานี้เพื่อทำให้สิ่งที่เริ่มไว้นั้นเสร็จสิ้นสมบูรณ์ และระมัดระวังไม่ให้กระทบการเติบ
โตมากเกินไป
  • นักลงทุนจับตาการเปิดเผยอัตราเงินเฟ้อเดือนส.ค.ของสหรัฐฯ และรอดูการประชุมของธนาคารกลางอังกฤษในวัน

พรุ่งนี้ และข้อมูลเศรษฐกิจที่สำคัญของสหรัฐที่จะประกาศในสัปดาห์นี้ ได้แก่ ดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) เดือนส.ค., จำนวนผู้

ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์, ยอดค้าปลีกเดือนส.ค., การผลิตภาคอุตสาหกรรม-อัตราการใช้กำลังการผลิตเดือนส.ค.,

สต็อกสินค้าคงคลังภาคธุรกิจเดือนก.ค. และความเชื่อมั่นผู้บริโภคเบื้องต้นเดือน ก.ย.จากมหาวิทยาลัยมิชิแกน


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ