นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เปิดเผยว่า คณะกรรมการเพื่อจัดการประมูลคลื่นความถี่ทั้งสองย่านได้วางหลักเกณฑ์ และวิธีการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่สำหรับกิจการโทรคมนาคม คลื่นความถี่ 900MHz และ 1800 MHz ที่จะสิ้นสุดสัญญาสัมปทาน ในวันที่ 15 ก.ย.61 เรียบร้อยแล้วเพื่อให้การดำเนินการประมูลและโอนย้ายคลื่นความถี่เสร็จสิ้นภายในเดือนก.ค.-ส.ค.61 ซึ่งเป็นกำหนดเวลาก่อนจะสิ้นสุดสัมปทานเพื่อไม่ต้องเข้าสู่ขั้นตอนการเยียวและไม่ให้เกิดผลกระทบกับการโอนย้ายลูกค้าไปยังผู้ให้บริการรายใหม่ และสำนักงานฯ ได้จัดทำร่างประกาศหลักเกณฑ์การประมูลคลื่นความถี่เสร็จแล้ว
กสทช. คาดว่าจะออกประกาศหลักเกณฑ์การประมูลคลื่นความถี่ (IM) ได้ในเดือนม.ค.61 ทั้งนี้ สำนักงานฯจะนำร่างหลักเกณฑ์เข้าสู่การพิจารณาของที่ประชุมคณะกรรมการ กสทช.ในวันที่ 8 พ.ย. นี้และนำไปรับฟังความคิดเห็นสาธารณะ 30 วัน ก่อนนำไปประกาศในราชกิจการนุเบกษา
หลังจากนั้น สำนักงาน กสทช.จะเชิญชวนเข้าร่วมประมูลคลื่นความถี่ในเดือน มี.ค.61 และคาดว่าจะสามารถเคาะราคาประมูลได้ในเดือน พ.ค.61 และจะดำเนินการมอบใบอนุญาตได้ในเดือน มิ.ย.61 อย่างไรก็ตาม หากการสรรหาคณะกรรมการ กสทช.ชุดใหม่เสร็จสิ้นภายในเดือน ม.ค.61 ก็ยังเดินหน้าการประมูลต่อเนื่องตามที่กำหนดไว้
สาระสำคัญ คือ จะมีการประมูลคลื่นความถี่รอบนี้ 4 ใบอนุญาต ได้แก่ คลื่นความถี่ 900 MHz จำนวน 5 MHz หรือ 1 ใบอนุญาต กำหนดราคาขั้นต่ำที่ 37,988 ล้านบาท เคาะราคาประมูลในแต่ละรอบขึ้นไป 76 ล้านบาท วางหลักประกันการประมูล 1,900 ล้านบาท ระยะเวลาใบอนุญาต 15 ปี ค่าปรับกรณีไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์เมื่อประมูลได้แล้วจำนวน 5,699 ล้านบาท (15% ของราคาขั้นต่ำ) แบ่งการชำระค่าธรรมเนียมใบอนุญาตเป็น 4 งวด งวดแรกชำระภายใน 90 วัน ขั้นต่ำ 4,020 ล้าบาท ปีที่สองขั้นต่ำ 2,010 ล้านบาท ปีที่ 3 จำนวน 2,010 ล้านบาท ปีที่ 4 ชำระส่วนที่เหลือทั้งหมด
ส่วนคลื่นย่าน 1800 MHz นำมาประมูลจำนวน 45 MHz จำนวน 3 ใบอนุญาต ใบอนุญาตละ 15 MHz ราคาเริ่มต้นที่ 37,457 ล้านบาท โดยให้ราคาเพิ่มขึ้นในแต่ละรอบรอบละ 75 ล้านบาท ระยะเวลาใบอนุญาต 15 ปี วางหลักประกัน 1,873 ล้านบาท ค่าปรับกรณีไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การประมูล 5,619 ล้าบาท (15% ของราคาขั้นต่ำ) แบ่งการชำระค่าธรรมเนียมใบอนุญาตเป็น 3 งวด งวดแรกชำระภายใน 90 วัน 50% ของราคาที่ประมูลได้ งวดที่สอง 25% และ งวดที่ 3 จ่าย 25%
ทั้งสองย่านความถี่ผู้ชนะประมูลต้องขยายโครงข่ายการให้บริการครอบคลุม 50% ภายใน 4 ปี และ ครอบคลุม 80% ภายใน 8 ปี
สำหรับการประมูลผู้เข้าประมูลจะต้องมีการเคาะราคาอย่างน้อยหนึ่งครั้ง การเคาะราคาจะต้องมีจำนวนผู้เข้าประมูลมากว่าจำนวนใบอนุญาต ผู้ชนะคือผู้ให้ราคาสูงสุดเมื่อสิ้นสุดการเคาะราคา กรณีคลื่นความถี่ 1800 MHz หากมีผู้เข้าประมูล 3 รายจะมีการเคาะราคา 2 ใบอนุญาต หากมีผู้เข้าประมูล 2 รายจะมีการเคาะราคา 1 ใบอนุญาต และหากมีผู้เข้าประมูล 1 ราย ก็จะขยายเวลาการประมูลออกไป 30 วันจนกว่าจะมีผู้เข้าประมูลเพิ่มขึ้น ขณะที่การประมูลคลื่นความถี่ 900MHz หากมีผู้เข้าประมูลมากกว่า 1 ราย แต่หากมีผู้นื่น 1 รายจะขยายเวลา 30 วันเช่นกัน
"ผมมีความมั่นใจจะมีคนเข้าประมูลแน่นอน ... จากการประเมินความต้องการใช้คลื่นความถี่ของสหภาพโทรคมนาคม (ITU) ยังมีความจำเป็นที่ผู้ให้บริการต้องการใช้คลื่นความถี่ยังไงก็ตามก็ต้องมีคนเข้าประมูล ถ้ามี 5G , 6G Operator ต้องการคลื่น 900, 1800 จะได้ไม่สะดุด "นายฐากร
อย่างไรก็ตาม หากรายใดที่เข้าประมูลได้แล้วจะทิ้งใบอนุญาตจะจะถูกยึดเงินประกันและเสียค่าปรับประมาณ 7.7 พันล้านบาท
ส่วนบริษัท แจส โมบาย จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของ บมจ.จัสมิน อินเตอร์เนชั่นแนล (JAS) ที่ประมูลได้คราวที่แล้ว แต่ทิ้งใบอนญาตนั้น นายฐากร กล่าวว่า แจส โมบายยังสามารถเข้าประมูลคลื่นความถี่ครั้งนี้ได้ เพราะครั้งที่แล้ว แจส โมบาย ได่จ่ายค่าปรับและถูกริบเงินประกันรวมกว่า 800 ล้านบาทไปเรียบร้อยแล้ว