น.ส.กาญจนา โชคไพศาลศิลป์ ผู้บริหารงานวิจัย บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดวันนี้ที่ ระดับ 32.95 บาท/ดอลลาร์ แข็งค่าจากตอนเช้าที่เปิดตลาดที่ระดับ 33.00 บาท/ดอลลาร์ และ เป็นการแข็งค่าในรอบ 30 เดือน
"เงินบาทปิดหลุดระดับ 33.00 ยังมาจากเรื่องเดิมๆ คือแผนปฏิรูปภาษีของสหรัฐฯที่ทำท่าจะ Delay ออกไป และยัง ต้องลุ้นว่าจะผ่านหรือไม่ หลังมีวุฒิสมาชิกจากรีพับลิกันคนแรกที่ออกมาแสดงจุดยืนคัดค้านร่างกฎหมายดังกล่าว ประกอบกับมีผู้ส่งออกขาย ดอลลาร์และพบการเข้าซื้อบอนด์จากต่างชาติ รวมๆแล้ว Sentiment ของดอลลาร์ยังไม่ดีและยังรอปัจจัยใหม่ๆมาหนุนดอลลาร์" ผู้ บริหารงานวิจัย ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ระบุ
ทั้งนี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทไว้ที่ 32.90-33.20 บาท/ดอลลาร์
- เงินเยนอยู่ที่ระดับ 113.26 เยน/ดอลลาร์ จากตอนเช้าที่อยู่ที่ระดับ 112.87 เยน/ดอลลาร์
- ส่วนเงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.1772 ดอลลาร์/ยูโร จากตอนเช้าที่อยู่ที่ระดับ 1.1785 ดอลลาร์/ยูโร
- ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ระดับ 1,691.25 จุด เพิ่มขึ้น 0.99 จุด, +0.06% มูลค่าการซื้อขาย 58,163.93 ล้านบาท
- สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติขายสุทธิ 1,863.08 ลบ.(SET+MAI)
- ผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวถึงสถานการณ์เงินบาทแข็งค่าว่า เป็นไปในทิศทางเดียวกับ
ภูมิภาค โดยเป็นผลมาจากปัจจัยภายนอกเพราะดอลลาร์อ่อนค่าเมื่อเทียบกับสกุลอื่น เนื่องจากความไม่แน่นอนเกี่ยวกับมาตรการปฏิรูป
ภาษีของสหรัฐฯ
- สำนักวิจัย ธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย (CIMBT) กล่าวในงานสัมมนาทิศทางเศรษฐกิจไทย ปี 2561 "เอสเอ็มอีไทย
ก้าวไปกับไทยแลนด์ 4.0" ว่า หากเปรียบเทียบลักษณะของเศรษฐกิจไทยในปีนี้ จะเปรียบได้กับ "ทุเรียน" คือ แข็งนอก อ่อน
ใน "แข็งนอก" คือเป็นเศรษฐกิจที่เติบโตได้จากปัจจัยภายนอกที่เศรษฐกิจต่างประเทศเริ่มฟื้นตัวและมีความเข้มแข็งขึ้น จึงส่งผลดีมา
ยังภาคการส่งออกและการท่องเที่ยวของไทยทำให้มีการสร้างรายได้เข้าประเทศมากขึ้น ในขณะที่ "อ่อนใน" นั้น จะเห็นได้ว่าอุปสงส์
ในประเทศยังอ่อนแอ เพราะการบริโภคยังไม่ได้ฟื้นตัวมากนัก ประชาชนยังระมัดระวังการจับจ่ายใช้สอย เนื่องจากยังไม่มั่นใจต่อ
เศรษฐกิจในอนาคต รวมทั้งหนี้ครัวเรือนยังอยู่ในระดับสูง ซึ่งเมื่อมีรายได้เข้ามาก็จะนำไปใช้หนี้ก่อนเป็นอันดับแรก แล้วจึงค่อยนำเงิน
ออกไปใช้จ่าย
- ปลัดกระทรวงการคลัง กล่าวว่า จากมาตรการช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อยในเฟสแรก ซึ่งภาครัฐได้มีการออกบัตร
สวัสดิการแห่งรัฐให้แก่ผู้มีรายได้น้อยที่มีสิทธิจำนวน 11.4 ล้านคน เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการเดินทางและซื้อสินค้าจำเป็นในชีวิตประจำ
วันนั้น ล่าสุดนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี และนายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ รมว.คลัง ได้มอบหมายให้หามาตรการช่วย
เหลือผู้มีรายได้น้อยเพื่อพ้นเส้นความยากจน และจะต้องมีข้อสุรปภายในเดือนธ.ค.นี้ ดังนั้นจึงขอฝากให้ทางตลาดทุนช่วยร่วมหาแนว
ทางว่าจะใช้ตลาดทุนเข้ามามีส่วนช่วยในจุดนี้ได้อย่างไรบ้าง
- กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ได้ปรับคาดการณ์จำนวนการเติบโตของธุรกิจจัดตั้งใหม่ในปี 60 เป็น 66,000 - 68,000
ราย จากเดิมที่คาดการณ์ไว้ที่ 66,000 ราย จากในช่วง 10 เดือนที่ผ่านมา (ม.ค.-ต.ค.) มีการจดทะเบียนจัดตั้งห้างหุ้นส่วน
บริษัท จำนวน 61,615 ราย มีมูลค่าทุนทั้งสิ้น 304,244 ล้านบาท จำนวนธุรกิจจัดตั้งใหม่เพิ่มขึ้น จำนวน 7,536 ราย คิดเป็น
14% เมื่อเทียบกับ ม.ค.- ต.ค.59 ซึ่งมีจำนวน 54,079 ราย ซึ่งสอดคล้องกับแนวโน้มทางเศรษฐกิจที่ดีขึ้น
- ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) สาขาชิคาโก กล่าวในการประชุมของยูบีเอสว่า เศรษฐกิจสหรัฐยังคงดำเนินไป
ได้ค่อนข้างดี แต่ยังไม่ถึงขั้นขยายตัวอย่างร้อนแรง
- ผู้ว่าการธนาคารกลางฟิลิปปินส์ ได้แสดงความเชื่อมั่นว่า เศรษฐกิจฟิลิปปินส์ไม่มีความเสี่ยงที่จะตกอยู่ในภาวะร้อนแรง
เกินไป หลังจากมีรายงานว่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ไตรมาส 3 ของฟิลิปปินส์ ขยายตัวแข็งแกร่งถึง 6.9%
- นักวิเคราะห์จากสถาบัน "Hong Leong Investment Bank Researh" ของมาเลเซีย คาดการณ์ว่า สกุลเงิน
ริงกิตมีแนวโน้มแข็งค่าขึ้นแตะระดับ 4.00 ดอลลาร์สหรัฐในปีหน้า โดยได้ปัจจัยหนุนจากกระแสเงินหมุนเวียนที่มีความสมดุลมากขึ้น
--อินโฟเควสท์ โดย นิศารัตน์ วิเชียรศรี/รัชดา โทร.02-2535000 ต่อ 317 อีเมล์: rachada@infoquest.co.th--