ภาวะตลาดเงินบาท: ปิด 32.72 ธุรกรรมเบาบาง ตลาดขาดปัจจัยใหม่เหตุใกล้วันหยุดเทศกาล

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday December 21, 2017 17:38 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดเย็นนี้อยู่ที่ระดับ 32.72 บาท/ดอลลาร์ ทรงตัว จากช่วงเช้าที่เปิดตลาดที่ระดับ 32.73 บาท/ดอลลาร์

วันนี้เงินบาทเคลื่อนไหวในกรอบแคบมากไม่เกิน 7 สตางค์ เนื่องจากตลาดขาดปัจจัยใหม่ เพราะเป็นช่วงใกล้เทศกาล คริสต์มาสและสิ้นปี การทำธุรกรรมต่างๆ จึงค่อนข้างเบาบาง นอกจากนี้ การแข็งค่าของดอลลาร์สหรัฐก็มี room ค่อนข้างน้อย เพราะตลาดรับข่าวเรื่องมาตรการปฏิรูปภาษีของสหรัฐไปมากแล้วในช่วงก่อนหน้านี้

"วันนี้บาทเคลื่อนไหวแคบมากแค่ 6-7 สตางค์ อาจเพราะการแข็งค่าของดอลลาร์สหรัฐมี room น้อย เนื่องจากตลาด รับข่าวมาตรการปฏิรูปภาษีสหรัฐฯ ไปมากแล้ว ตัวเลขส่งออกของไทยเดือนพ.ย.ก็ออกมาแข็งแกร่ง การเดินดุลการค้ายังเป็นระดับพัน ล้านดอลลาร์ ซึ่งหนุนให้บาทไม่ขึ้นไปแรง" นักบริหารเงินระบุ

นักบริหารเงิน คาดว่า พรุ่งนี้เงินบาทจะเคลื่อนไหวในกรอบ 32.60-32.75 บาท/ดอลลาร์

  • ปัจจัยสำคัญ
  • ช่วงเย็นนี้เงินเยนอยู่ที่ระดับ 113.48 เยน/ดอลลาร์ จากช่วงเช้าที่ระดับ 113.30 เยน/ดอลลาร์
  • ส่วนเงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.1878 ดอลลาร์/ยูโร จากช่วงเช้าที่ระดับ 1.1871 ดอลลาร์/ยูโร
  • ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ระดับ 1,736.91 จุด ลดลง 1.25 จุด (-0.07%) มูลค่าการซื้อขาย 36,106 ล้านบาท
  • สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติซื้อสุทธิ 557.82 ลบ.(SET+MAI)
  • กระทรวงพาณิชย์ ประเมินเบื้องต้นการส่งออกไทยปี 61 เติบโต 6-7% ที่มูลค่า 2.5 แสนล้านดอลลาร์ โดยเชื่อว่า
การส่งออกปีหน้าจะขยายตัวได้ต่อเนื่องจากปัจจัยด้านปริมาณเป็นสำคัญ เนื่องจากเศรษฐกิจและการค้าโลกมีทิศทางขยายตัวในเกณฑ์ดี
ปัจจัยด้านราคาสินค้าเกษตรและสินค้าที่เกี่ยวเนื่องกับน้ำมันมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นตามทิศทางราคาน้ำมันโลก แต่ทั้งนี้ ยังต้องจับตา
ความเสี่ยงจากความไม่แน่นอนของนโยบายการค้าประเทศคู่ค้าหลัก ความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน และปัญหาความขัดแย้งทางการ
เมืองระหว่างประเทศ
  • ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB EIC) ประเมินว่าการส่งออกของไทยในปี 2561 จะขยาย
ตัวที่ 4.2%โดยได้รับแรงขับเคลื่อนจากปัจจัยด้านปริมาณเป็นหลัก เนื่องจากเศรษฐกิจคู่ค้าหลักทั้งที่มีแนวโน้มเติบโตดีจะส่งผลให้ความ
ต้องการสินค้าอุตสาหกรรมหลักจากไทยให้เติบโตได้ต่อ นอกจากนี้ อุปสงค์จากภาคครัวเรือนในกลุ่มประเทศเศรษฐกิจหลักและกลุ่มอา
เซียนที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะประเทศจีนที่มีนโยบายกระจายรายได้ ก็จะเป็นปัจจัยสนับสนุนให้ความต้องการสินค้าอุปโภคบริโภคจากไทย
ขยายตัวได้สูงต่อเนื่องจากปี 2560
  • สภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (สทท.) เปิดเผยดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยวใน
ประเทศไทย ไตรมาส 4/60 เท่ากับ 101 ซึ่งเป็นการปรับดีขึ้นจากไตรมาสก่อนมาอยู่ในระดับปกติ จากการฟื้นตัวของการลงทุนภาค
เอกชนและโครงการลงทุนขนาดใหญ่ของรัฐบาลที่จะเริ่มต้นในปีหน้า รวมถึงรายได้ภาคการท่องเที่ยวที่คาดว่าจะขยายตัวต่อเนื่อง อีก
ทั้งเศรษฐกิจเอเซียมีแนวโน้มขยายตัวดีต่อเนื่อง โดยเฉพาะจีน รวมถึงปัญหาเสถียรภาพการเงินที่ผ่อนคลายลง
  • สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) คาดการณ์สถานการณ์พลังงานในปี 61 คาดว่าการใช้พลังงานขั้นต้นจะ
เพิ่มขึ้นจากปี 60 ประมาณ 2.1% หรือใช้อยู่ที่ประมาณ 2.81 ล้านบาร์เรลเทียบเท่าน้ำมันดิบ/วัน โดยพิจารณาจากปัจจัยราคาน้ำมัน
ดิบดูไบเฉลี่ยที่ 50-60 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล อัตราแลกเปลี่ยนมีแนวโน้มอ่อนค่าลงอยู่ที่ 34-35 บาท/เหรียญสหรัฐ และการคาด
การณ์ GDP ของสภาพัฒน์จะขยายตัวที่ 3.6-4.6%
  • นักลงทุนจับตาสภาคองเกรสสหรัฐ ที่เตรียมอนุมัติร่างกฎหมายงบประมาณระยะสั้น เพื่อให้รัฐบาลมีงบประมาณในการ
ใช้จ่ายจนถึงเดือน ม.ค.61 โดยสภาคองเกรสจำเป็นต้องอนุมัติงบประมาณดังกล่าวให้ทันเส้นตายภายในวันศุกร์นี้ เพื่อหลีกเลี่ยงการ
ปิดหน่วยงานบางแห่งของสหรัฐฯ
  • ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) โดยคณะกรรมการนโยบายการเงินมีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับ -0.1% ขณะ
เดียวกัน BOJ จะยังคงเดินหน้าโครงการซื้อพันธบัตร โดยมีเป้าหมายที่จะรักษาอัตราผลตอบแทนพันธบัตรอายุ 10 ซึ่งเป็นมาตรวัดเงิน
เฟ้อระยะยาวให้เคลื่อนไหวที่ระดับ 0% ทั้งนี้ BOJ คงนโยบายการเงินเชิงรุกต่อไปตามที่ตลาดการเงินคาดการณ์ไว้ โดย BOJ จะรอ
ให้ภาวะเศรษฐกิจมีความแข็งแกร่งมากขึ้น เพื่อกระตุ้นการฟื้นตัวของอัตราเงินเฟ้อ
  • นักลงทุนยังจับตาข้อมูลเศรษฐกิจด้านอื่นๆ ที่จะมีการเปิดเผยในสัปดาห์นี้ ได้แก่ ดัชนีกิจกรรมเศรษฐกิจทั่วประเทศ
เดือนพ.ย.จากเฟดชิคาโก, ดัชนีการผลิตเบื้องต้นเดือนธ.ค.จากเฟดฟิลาเดลเฟีย, จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์,
ดัชนีราคาการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล (PCE) เดือนพ.ย., ยอดสั่งซื้อสินค้าคงทนเดือนพ.ย., ความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนธ.
ค.จากมหาวิทยาลัยมิชิแกน และยอดขายบ้านใหม่เดือนพ.ย.

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ