ภาวะตลาดเงินบาท: ปิด 32.74 แกว่งแคบจากช่วงเช้า ตลาดรอปัจจัยใหม่หนุนทิศทาง

ข่าวเศรษฐกิจ Monday December 25, 2017 17:27 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดเย็นนี้อยู่ที่ 32.74 บาท/ดอลลาร์ อ่อนค่าเล็ก น้อยจากเปิดตลาดเช้าที่ระดับ 32.73 บาท/ดอลลาร์ ระหว่างวันเคลื่อนไหวในกรอบระหว่าง 32.71-32.75 บาท/ดอลลาร์ เนื่อง จากยังไม่มีปัจจัยใหม่เข้ามา

"วันนี้เงินบาทแกว่งตัวแคบๆ ปริมาณการซื้อขายเบาบาง ยังไม่มีปัจจัยใหม่เข้ามา" นักบริหารเงิน กล่าว

นักบริหารเงิน คาดกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทในวันพรุ่งนี้ไว้ที่ 32.70-32.80 บาท/ดอลลาร์เช่นเดิม

  • ปัจจัยสำคัญ
  • เย็นนี้เงินเยนอยู่ที่ 113.28 เยน/ดอลลาร์ จากช่วงเช้าที่ระดับ 113.33 เยน/ดอลลาร์
  • ส่วนเงินยูโรอยู่ที่ 1.1866 ดอลลาร์/ยูโร จากช่วงเช้าที่ระดับ 1.1847 ดอลลาร์/ยูโร
  • ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ระดับ 1,750.22 จุด เพิ่มขึ้น 8.14 จุด, +0.47% มูลค่าการซื้อขาย 34,594.39 ล้านบาท
  • สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติซื้อสุทธิ 1,497.85 ล้านบาท (SET+MAI)
  • ธนาคารกรุงศรีอยุธยา (BAY) เผยทิศทางค่าเงินบาทในสัปดาห์นี้มีแนวโน้มเคลื่อนไหวในกรอบ 32.60-32.80 บาท
ต่อดอลลาร์ เทียบกับระดับปิดอ่อนค่าที่ 32.76 ต่อดอลลาร์เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว
  • ธนาคารกรุงไทย (KTB) เปิดเผยว่า ในปี 61 ธนาคารตั้งเป้าสินเชื่อรวมเติบโต 6-7% โดยในปีหน้าธนาคารจะ
เน้นการปล่อยสินเชื่อในกลุ่มลูกค้าเอสเอ็มอี ซึ่งเป็นไปตามนโยบายของกระทรวงการคลัง ที่ต้องการให้สนับสนุนกลุ่มเอสเอ็มอีให้
สามารถเติบโตได้อย่างยั่งยืน ซึ่งธนาคารตั้งเป้าปล่อยสินเชื่อเอสเอ็มอีที่เป็นสินเชื่อใหม่ในปี 61 อยู่ที่ 5 หมื่นล้านบาท รวมสินเชื่อ
ของบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) โดยธนาคารมีสินเชื่อคงค้างในกลุ่มลูกค้าเอสเอ็มอีอยู่ที่ 2 แสนล้านบาท

อีกทั้งการปล่อยสินเชื่อให้กับโครงการภาครัฐที่เริ่มมีการลงทุนโครงการมากขึ้น จะเป็นปัจจัยผลักดันการขยายตัวด้านสิน เชื่อของธนาคารให้เป็นไปตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ พร้อมกับธนาคารจะกระจายการให้สินเชื่อในกลุ่มผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้องกับงาน โครงการต่างๆของภาครัฐมากขึ้น เพื่อเป็นการต่อยอดการให้สินเชื่อแบบซัพพลายเชน เช่น กลุ่มรับเหมาก่อสร้าง ทั้งกลุ่มผู้รับเหมา หลักและกลุ่มผู้รับเหมาย่อยที่รับงานต่อมาจากผู้รับเหมาหลัก และกลุ่มวัสดุก่อสร้าง เป็นต้น

  • ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า นโยบายการเงินในปี 61 จะยังใช้นโยบายการเงินแบบผ่อน
คลายต่อเนื่อง แม้เศรษฐกิจไทยจะเริ่มเห็นการฟื้นตัวขึ้น แต่ธปท.ยังคงต้องการให้เศรษฐกิจไทยเติบโตอย่างเข้มแข็งมากขึ้นกว่า
ปัจจุบัน ประกอบยังไม่มีแรงกดดันจากเงินเฟ้อมากนัก โดยแนวโน้มของเงินเฟ้อยังเป็นการค่อยๆปรับเพิ่มขึ้น
  • มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เผยผลสำรวจพฤติกรรมการใช้จ่ายของผู้บริโภคในช่วงเทศกาลปีใหม่ 2561 ว่า ใน
ภาพรวมคาดว่าประชาชนทั่วประเทศจะมีค่าใช้จ่ายสำหรับในช่วงปีใหม่นี้อยู่ที่ประมาณ 132,050 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 2.1% ซึ่ง
ถือว่าสูงสุดเป็นประวัติการณ์นับตั้งแต่มีการสำรวจมาในรอบ 13 ปี
  • อธิบดีกรมสรรพากร เตรียมเสนอที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) วันพรุ่งนี้ (26 ธ.ค.) เพื่อพิจารณาเห็นชอบ
มาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยวเมืองรอง โดยให้สามารถนำค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการท่องเที่ยวเมืองรอง เช่น ค่าที่พัก, ค่า
อาหาร, ค่าซื้อสินค้า OTOP เป็นต้น รวมกันแล้วไม่เกิน 15,000 บาทมาหักลดหย่อนภาษี ระยะเวลา 1 ปี เริ่มตั้งแต่ 1 ม.ค. -
31 ธ.ค.61 โดยนำใบเสร็จรับเงินจากผู้ประกอบการที่ไปรับบริการหรือซื้อสินค้าเป็นหลักฐานเท่านั้น โดยมาตรการดังกล่าวเชื่อว่าจะ
ช่วยสนับสนุนให้ประชาชนที่อยู่ตามต่างจังหวัด โดยเฉพาะในเมืองรองมีรายได้เพิ่มขึ้น
  • สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) นำเงิน
รายได้จากการประมูลคลื่นความถี่สำหรับกิจการโทรคมนาคมย่าน 1800 MHz งวดที่ 2 และดอกเบี้ยส่งกระทรวงการคลังเพื่อเป็นราย
ได้แผ่นดิน จำนวนรวมทั้งสิ้น 20,195.59 ล้านบาท
  • ปลัดกระทรวงท่องเที่ยวและกีฬา คาดว่าทั้งปี 60 จะมีจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติ 35.38 ล้านคน เติบโต 8.77%
จากปีก่อน ซึ่งเป็นจำนวนที่สูงสุดเป็นประวัติการณ์ และทำรายได้จากนักท่องเที่ยวต่างชาติ 1.83 ล้านล้านบาท เติบโต 12%

ทั้งนี้ ตั้งแต่ 1 ม.ค.-23 ธ.ค.มีจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติอยู่ที่ 34,331,185 ล้านคน เติบโต 8.51% รายได้จาก นักท่องเที่ยวต่างชาติ 1,764,957.72 ล้านบาท เติบโต 11%

  • ธนาคารกลางจีนได้ระงับการอัดฉีดเงินผ่านการดำเนินงานทางตลาดเงิน (Open Market Operations - OMO)
ในวันนี้ เนื่องจากการใช้จ่ายทางการคลังได้ปรับตัวเพิ่มขึ้นในช่วงสิ้นปี
  • นักลงทุนจับตาข้อมูลเศรษฐกิจที่สำคัญของสหรัฐฯ ได้แก่ ดัชนีราคาบ้านเดือนต.ค.โดยเอสแอนด์พี/เคส-ชิลเลอร์,

ความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนธ.ค. และดัชนีภาคการผลิตเดือนธ.ค. จากเฟดดัลลัส


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ