นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงเทพ เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดเย็นนี้อยู่ที่ระดับ 32.22/24 บาท/ดอลลาร์ อ่อนค่า เล็กน้อยจากช่วงเช้าที่เปิดตลาดที่ระดับ 32.20 บาท/ดอลลาร์
โดยระหว่างวันเงินบาทลงไปแข็งค่าสุดที่ระดับ 32.15/17 บาท/ดอลลาร์ เชื่อว่าเป็นผลจาก flow ของนักลงทุนต่าง ชาติที่เข้ามาซื้อในตลาดพันธบัตรค่อนข้างมาก เพราะในส่วนของดอลลาร์สหรัฐเองก็ไม่ได้มีปัจจัยสำคัญที่กดดันให้อ่อนค่าลงในช่วงนี้ ซึ่ง คืนนี้ต้องรอดูตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรเดือน ธ.ค.ของสหรัฐ เนื่องจากมีส่วนช่วยหนุนดอลลาร์ได้
"ช่วง 3 วันนี้ ต่างชาติซื้อบอนด์ค่อนข้างเยอะ ถ้ายังซื้อในระดับนี้ บาทก็ยังมีทิศทางแข็งค่าได้ต่อ" นักบริหารเงินระบุ
นักบริหารเงิน คาดว่า ต้นสัปดาห์หน้าเงินบาทจะเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบ 32.10 - 32.30 บาท/ดอลลาร์
- ปัจจัยสำคัญ
- เย็นนี้เงินเยนอยู่ที่ระดับ 113.19/22 เยน/ดอลลาร์ จากช่วงเช้าที่ระดับ 112.78 เยน/ดอลลาร์
- ส่วนเงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.2045/2047 ดอลลาร์/ยูโร จากช่วงเช้าที่ระดับ 1.2072 ดอลลาร์/ยูโร
- ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ระดับ 1,795.45 จุด เพิ่มขึ้น 4.43 จุด (+0.25%) มูลค่าการซื้อขาย 87,481 ล้านบาท
- สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติขายสุทธิ 1,991.76 ลบ.(SET+MAI)
- ตลาดหุ้นไทยภาคบ่ายพุ่งขึ้นทะลุ 1,800 จุดเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ตลาดหุ้นไทย ท่ามกลางแรงซื้อที่มีเข้ามา
- ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ระบุ ตั้งแต่ต้นปี 61 เงินบาทแข็งค่าขึ้นในทิศทางเดียวกับเงินสกุลของภูมิภาค
ทั้งนี้ ธปท.ได้ติดตามสถานการณ์ในตลาดการเงินอย่างใกล้ชิด และหากค่าเงินเปลี่ยนแปลงรวดเร็วเกินควร จน อาจกระทบต่อการปรับตัวของภาคเอกชน ธปท.ก็พร้อมทำหน้าที่ธนาคารกลางในการเข้าไปดูแล
- คณะกรรมการกำกับดูแลธุรกิจประกันภัยของจีน (CIRC) ได้ออกมาตรการคุมเข้มครั้งใหม่โดยห้ามไม่ให้บริษัทประกัน
การออกมาตรการดังกล่าวพุ่งเป้าไปที่โครงการร่วมลงทุนระหว่างภาครัฐและเอกชน (PPP) ซึ่งเปิดโอกาสให้เอกชน สามารถลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ แต่ในขณะเดียวกันก็เป็นช่องทางกู้ยืมเงินของรัฐบาลท้องถิ่นด้วย โดยหากไม่มีมาตรการควบ คุมแล้ว ต้นทุนในการระดมทุนก็จะปรับตัวขึ้นและส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจที่แท้จริง
- ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) รายงานว่าฐานเงินของญี่ปุ่นได้ปรับตัวเพิ่มขึ้นในปี 2560 เป็นปีที่ 11 ติดต่อกัน โดยทำ
- นักลงทุนรอติดตามตัวเลขเศรษฐกิจสำคัญของสหรัฐฯ ในคืนนี้ เช่น ตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรเดือน ธ.ค.,
ดุลการค้าเดือน พ.ย., ยอดสั่งซื้อภาคโรงงานเดือน พ.ย. และดัชนีภาคบริการเดือนธ.ค. จากสถาบันจัดการด้านอุปทานของสหรัฐ
(ISM)