รายงานข่าวจากทำเนียบรัฐบาล เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติรับทราบประกาศคณะกรรมการค่า จ้าง เรื่อง อัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือ (ฉบับที่ 7) ลงวันที่ 30 ตุลาคม 2560 เพื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษาให้มีผลใช้บังคับ ต่อไป ตามที่กระทรวงแรงงาน (รง.) เสนอ ดังนี้
1. การกำหนดอัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือเป็นอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการค่าจ้าง ซึ่งเป็นองค์กรไตรภาคีพระราช บัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2551 ประกอบด้วย ผู้ แทนฝ่ายนายจ้าง ผู้แทนฝ่ายลูกจ้าง และผู้แทนฝ่ายรัฐบาล ฝ่ายละ 5 คนเท่ากัน โดยอัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือนี้มุ่งที่จะคุ้มครอง ลูกจ้างที่ผ่านการทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติแต่ละสาขาอาชีพและแต่ละระดับให้ได้รับค่าจ้างที่เหมาะสมและเป็นธรรม อีกทั้งยังเป็นการส่งเสริมให้ลูกจ้างมีการพัฒนาฝีมือแรงงานและมีผลิตภาพแรงงานเพิ่มขึ้นเพื่อรองรับการพัฒนาของประเทศและเพิ่มขีด ความสามารถในการแข่งขันของประเทศรวมถึงเพิ่มศักยภาพแรงงานไทยให้เป็นที่ยอมรับทั้งในประเทศและต่างประเทศ
2. คณะกรรมการค่าจ้างได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการอัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือ จำนวน 4 กลุ่มอุตสาหกรรม เพื่อ ศึกษาและจัดทำร่างอัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือ รวม 16 สาขาอาชีพ ซึ่งในการประชุมคณะกรรมการค่าจ้าง ชุดที่ 19 ครั้งที่ 9/2560 เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2560 ได้มีมติเห็นชอบให้กำหนดอัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือ จำนวน 4 กลุ่มอุตสาหกรรม รวม 16 สาขาอาชีพ โดยให้มีผลใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดเก้าสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ดังนี้
อัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือ 4 กลุ่มอุตสาหกรรม 16 สาขาอาชีพ หน่วย : บาท/วัน กลุ่มอุตสาหกรรม / สาขาอาชีพ ระดับ 1 ช่วงห่าง ระดับ 2 กลุ่มอุตสาหกรรมเหล็ก (1) พนักงานหลอมเหล็กเตาอาร์คไฟฟ้า 480 100 580 (2) พนักงานปรุงแต่งน้ำเหล็กในเตาปรุงน้ำเหล็ก (Ladle Furnace) 500 100 600 (3) พนักงานหล่อเหล็ก 460 100 560 (4) พนักงานควบคุมการอบเหล็ก 440 100 540 กลุ่มอุตสาหกรรมพลาสติก (5) ช่างเทคนิคเครื่องฉีกพลาสติก 380 70 450 (6) ช่างเทคนิคเครื่องเป่าถุงพลาสติก 380 70 450 (7)ช่างเทคนิคเครื่องเป่าภาชนะกลวง 380 70 450 (8) ช่างเทคนิคการซ่อมเครื่องเป่าถุงพลาสติก 410 70 480 กลุ่มอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ (9) พนักงานเตรียมวัตถุดิบสำหรับอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ไม้จริง 340 30 370 (10) พนักงานผลิตชิ้นส่วนเฟอร์นิเจอร์ไม้จริงด้วยเครื่องจักรอัตโนมัติ 380 60 440 (11) พนักงานประกอบเฟอร์นิเจอร์ไม้จริง 350 50 400 (12) ช่างทำสีเฟอร์นิเจอร์ไม้จริง 360 40 400 กลุ่มอุตสาหกรรมรองเท้า (13) พนักงานตัดวาดรองเท้า 370 35 405 (14) พนักงานอัดพื้นรองเท้า 380 40 420 (15) ช่างเย็บรองเท้า 380 40 420 (16) พนักงานประกอบรองเท้า (เย็น) 360 30 390