ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ระบุกรณีสหรัฐฯ เดินเกมกดดันทางการค้ากับนานาชาติต่อเนื่อง จากจุดเริ่มต้นที่ประกาศใช้มาตรการ Safeguard (ปรับขึ้นภาษีนำเข้ากับทุกประเทศที่ส่งสินค้าไปยังสหรัฐฯ) กับสินค้าแผงโซลาร์เซลล์และเครื่องซักผ้าขนาดใหญ่เมื่อต้นปี 2561 ตามมาด้วยการประกาศใช้มาตรการ Safeguard กับสินค้าเหล็กและอะลูมิเนียม 25% และ 10% ตามลำดับ ซึ่งประธานาธิบดีทรัมป์ เพิ่งลงนามไปเมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2561
ความคืบหน้าล่าสุด ทางการสหรัฐฯ เปิดเผยว่า สำหรับเหล็กและอะลูมิเนียมนั้น แคนาดาและเม็กซิโก เป็น 2 ประเทศที่จะได้รับการยกเว้นภาษีเป็นการชั่วคราวในฐานะ "เพื่อนแท้ (Real Friends)" ของสหรัฐฯ ประเด็นนี้ นำมาซึ่งความคุกรุ่นทางการค้าให้กับอีกหลายชาติที่ส่งสินค้าดังกล่าวไปยังสหรัฐฯ นอกจากนี้ สหรัฐฯ ยังเตรียมที่จะกีดกันการนำเข้าเพิ่มเติมกับสินค้าจีนในกลุ่มเทคโนโลยี IT สินค้าอิเล็กทรอนิกส์เพื่อการบริโภค เครื่องนุ่งหุ่ม รองเท้าและของเล่นที่มีมูลค่ารวมสูงถึง 6 หมื่นล้านดอลลาร์ฯ
"การเดิมเกมกดดันทางการค้าข้างต้นของสหรัฐฯเป็นการเปิดฉากความเป็นไปได้ที่จะส่งผลให้เกิดการตอบโต้ทางการค้าที่รุนแรงขึ้นจากคู่ค้าสหรัฐฯ ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นเศรษฐกิจหลักในโลกและในท้ายที่สุดแล้วคงจะไม่ส่งผลดีต่อใครในภาวะที่การค้าของโลกในปัจจุบันนั้นมีการเชื่อมโยงกันอยู่อย่างแนบแน่น" ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ระบุ
มาตรการกีดกันทางการค้าครั้งนี้ของสหรัฐฯ แน่นอนว่ามีเป้าหมายหลักเพื่อการลดการขาดดุลการค้าที่มีสูงถึง 1.02 ล้านล้านดอลลาร์ฯ ปกป้องธุรกิจสหรัฐฯ ที่ถูกปฏิบัติอย่างไม่เป็นธรรม รวมทั้งต้องการจะสร้างอำนาจต่อรองเพื่อให้สหรัฐฯ ได้รับผลประโยชน์ที่พึงพอใจ สะท้อนได้จากการนำเงื่อนไขการเป็น "เพื่อนแท้ (Real Friends)" ของสหรัฐฯ มาพิจารณา ส่งผลให้คู่ค้าของสหรัฐฯ แต่ละประเทศ จำเป็นต้องเข้ามาเจรจากับสหรัฐฯ ในลักษณะหนึ่งต่อหนึ่งเพื่อแลกเปลี่ยนผลประโยชน์ร่วมกัน
ดังนั้น ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จึงมองว่า ขณะนี้เป็นช่วงเวลาสำคัญที่ต้องรอดูว่าจะมีประเทศใดที่เข้าเจรจากับสหรัฐฯ และได้รับการยกเว้นเพิ่มเติม ซึ่งสหรัฐฯ คงมีแผนงานพิเศษเพื่อเตรียมรับการเจรจากับ EU และจีน โดยคาดว่ารายละเอียดน่าจะเปิดเผยออกมาได้ก่อนที่มาตรการ Safeguard สินค้าเหล็กและอะลูมิเนียมจะบังคับใช้ในปลายสัปดาห์หน้า ถ้าหากสหรัฐฯ ยกเว้นภาษีให้แก่ EU และจีนก็อาจจะช่วยคลี่คลายแรงกดดันทางการค้าโลกในระยะต่อไปได้บางส่วน แต่ถ้าหากสหรัฐฯ ไม่มีข้อผ่อนผันให้แก่คู่กรณีทั้งสอง และยังเดินหน้าบังคับใช้มาตรการใหม่กับจีน หรือแม้กระทั่งหรือแม้กระทั่ง EU จนนำไปสู่การที่ทั้งจีนและ EU ประกาศใช้มาตรการตอบโต้ทางการค้ากับสหรัฐฯ เช่นกัน และเกิดการตอบโต้ทางการค้าระหว่างกันในรอบต่อๆ ไปอีก มูลค่าความเสียหายจากข้อพิพาททางการค้าคงจะลุกลามไปทั่วโลก โดยการเจรจาที่ไม่สำเร็จในด้านหนึ่งเปิดความเสี่ยงให้จีนและ EU นำมาตรการตอบโต้ออกมาใช้ และต่อจากนั้นสหรัฐฯ ก็คงโต้กลับโดยเพิ่มความรุนแรงตามคำขู่ที่เคยมีมาก่อนหน้านี้
ทั้งนี้ในเบื้องต้น หากมีการเก็บภาษีเหล็กและอะลูมิเนียม EU ได้เปิดเผยว่ามีแผนจะโต้กลับด้วยการกีดกันสินค้าสหรัฐฯ ในมูลค่าที่ใกล้เคียงกันที่ 3.5 พันล้านดอลลาร์ฯ ซึ่งนับว่าไม่สูงนักเมื่อเทียบกับแผนงานใหม่ที่สหรัฐฯ จะกดดันจีนด้วยมูลค่าสูงถึง 6 หมื่นล้านดอลลาร์ฯ และจีนเองก็คงไม่ยุติสงครามการค้าครั้งนี้โดยอาจโต้สหรัฐฯ กลับด้วยวิถีทางที่ไม่ต่างกันในกลุ่มสินค้าถ่านหิน สินค้าเกษตร และสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า แม้ธุรกิจไทยที่ไม่ใช่เป้าหมายหลักของสหรัฐฯ โดยตรง ประกอบกับการส่งออกของไทยในเดือนมกราคม 2561 เร่งตัวที่ 17.6% (YoY) และน่าจะมีผลต่อเนื่องให้ไตรมาสแรกปี 2561 เติบโตค่อนข้างสูง ซึ่งจะมีส่วนช่วยหนุนการส่งออกในช่วงที่เหลือของปีศูนย์วิจัยกสิกรไทย จึงยังคงมุมมองการส่งออกของไทยไปตลาดโลกว่าอาจจะขยายตัว 4.5% ในปี 2561 โดยจะรอประเมินสถานการณ์ที่เกิดขึ้นหลังจากนี้ จากข้อพิพาททางการค้าระหว่างแกนนำเศรษฐกิจโลกทั้งสหรัฐฯ EU และ จีน ซึ่งมีประเด็นหลักที่ต้องพิจารณา ดังนี้ ผลระทบทางตรงจากเศรษฐกิจและการค้าโลกที่บิดเบือนไป อาจกระทบการส่งออกของไทยไปตลาดโลกคลาดเคลื่อนจากที่ศูนย์วิจัยกสิกรไทยมองไว้ทั้งนี้ นักเศรษฐศาสตร์ Bloomberg ได้ประเมินขนาดผลกระทบในกรณีที่สงครามการค้าโลกดำเนินไปสู่ความเลวร้ายที่จุดชนวนโดยสหรัฐฯ โดยคาดว่าจะสร้างความเสียหายแก่เศรษฐกิจโลกเป็นวงเงินกว่า 4.7 แสนล้านดอลลาร์ฯ และฉุดเศรษฐกิจโลกอ่อนแรงลงจนกระทั่งหดตัว 0.5% ในปี 2563 เมื่อเทียบกรณีที่สหรัฐฯ ไม่ได้เก็บภาษี นอกจากนี้จากข้อพิพาททางการค้าที่คุกรุ่นขึ้นนี้ แน่นอนว่าคงทำให้การส่งออกของแต่ละประเทศในกลุ่มสินค้าที่อยู่ในรายการกีดกันปรับลดลง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
หากจำนวนสินค้าที่นำมาตอบโต้กันมีมากขึ้น ตัวอย่างเช่น กรณี EU ได้เตรียมแผนตอบโต้สหรัฐฯ ไว้ในระดับที่ใกล้เคียงกับกลุ่มเหล็กและอะลูมิเนียมเป็นมูลค่า 3.5 พันล้านดอลลาร์ฯ ซึ่งในความเป็นจริงแทบจะไม่กระเทือนเศรษฐกิจของทั้งสองประเทศ แต่สิ่งที่จะเกิดหลังจากนี้ถ้าหากสหรัฐฯ โต้กลับโดยกีดกันการนำเข้ารถยนต์จาก EU ด้วยขนาดการพึ่งพาการส่งออกยานยนต์ไปสหรัฐฯ ถึง 18.9% ของการส่งออกยานยนต์ทั้งหมดของ EU และ เป็นการส่งออกยานยนต์ที่มีมูลค่าสูงยากที่จะหาตลาดอื่นทดแทนได้ ผลที่เกิดคงเกี่ยวโยงมาสู่กิจกรรมการผลิตและ การจ้างงานใน EU ให้อ่อนแรงลงได้ ซึ่งเหตุการณ์เช่นนี้คงเกิดขึ้นกับจีนและนานาชาติที่เป็นคู่กรณีของสหรัฐฯ ทั้งสิ้น
ผลกระทบทางอ้อมต่อธุรกิจไทย มีได้หลายแง่มุม ซึ่งธุรกิจไทยในเวลานี้ต้องเตรียมแผนงานทั้งเชิงรุกและตั้งรับกับความผันผวนทางการค้าที่ไม่ได้เกิดจากประเทศใดประเทศหนึ่ง แต่อาจจะครอบคลุมหลายประเทศทั่วโลก ดังนี้
- สินค้าที่เป็นประเด็นกีดกันทางการค้าจะประสบปัญหาล้นตลาดและพร้อมที่จะระบายไปสู่ตลาดอื่น โดยเป็นผลกระทบที่น่าจะเกิดขึน้ ทันทีหลังจากมาตรการถูกบังคับใช้ซึ่งคาดว่าสินค้าเหล็กและอะลูมิเนียมจะเป็นสินค้ากลุ่มแรกที่ประสบปัญหานี้ โดยเฉพาะหากจีนไม่ได้รับการยกเว้นภาษี อาจทำให้สินค้าดังกล่าว ระบายมายังตลาดในเอเชียมากขึ้เพื่อหาตลาดทดแทนตลาดสหรัฐฯซึ่งผู้ประกอบการในประเทศไทย อาจมีความเสี่ยงที่จะถูกสินค้าเหล็กราคาต่าจากจีนเข้ามาแข่งขัน อีกทั้งยังต้องติดตามมาตรการตอบโต้ทางการค้าใน
- สินค้าไทยมีโอกาสที่จะแทรกตัวเข้าไปทำตลาดในประเทศคู่กรณีโดยได้อานิสงส์จากข้อพิพาทระหว่างสหรัฐฯ EU และจีน ซึ่งขนึ้ อยู่กับ 3 ปัจจัยหลัก คือ 1) ประเภทสินค้า ถ้าเป็นประเภทสินค้าที่สามารถทดแทนกันได้หรือทดแทนกันได้บางส่วน ซึ่งในกรณีนี้สินค้าไทยอาจเข้าไปทำตลาดในประเทศปลายทางได้ อาทิ อาหารบางประเภท เสื้อผ้า และเหล็ก เป็นต้น แต่ถ้าเป็นสินค้าที่มีความเฉพาะตัวที่ต่างกับที่ไทยผลิต ก็คงยากที่ไทยจะเข้าไปทำตลาดแทนได้ อาทิ ตลาดรถยนต์หรูในสหรัฐฯซึ่งชาวอเมริกันนิยมรถยนต์ขนาดใหญ่
2) กำลังการผลิตของไทยมีเพียงพอที่จะเข้าไปทำตลาดอื่นเพิ่มเติมได้หรือไม่ ซึ่งถ้าหากไทยมีกำลังการผลิตส่วนเกิน ผู้ประกอบการไทยก็จะสามารถคว้าโอกาสนี้ไปได้ แต่ถ้าต้องขยายกำลังการผลิตคงต้องรอเวลาอีกเช่นกัน และ 3) ต้นทุนค่าขนส่งจากไทยไปยังประเทศปลายทาง หากมีต้นทุนที่ต่ำกว่าต้นทุนที่เพิ่มขึ้นจากการเก็บภาษีสินค้าที่มีการกีดกัน ก็คุ้มค่ากับการส่งสินค้าไทยเข้าไปรองรับความต้องการในตลาด EU และสหรัฐฯ นอกจากนี้ความท้าทายสำคัญของการผลิตไทยอีกประการหนึ่งคือ สินค้าไทยบางรายการไม่อยู่ ในห่วงโซ่การผลิตของประเทศที่มีข้อพิพาทเหล่านี้ จึงยากที่สินค้าไทยจะแทรกตัวเข้าไปทำตลาดแทนสินค้าชาติที่ถูกกีดกัน อาทิ ในกรณีที่สหรัฐฯ ใช้มาตรการกีดกันสินค้าจีนโดยเฉพาะสินค้าเทคโนโลยีและ IT ในด้านหนึ่ง อาจกระทบกำลังการผลิตของจีนทำให้ต้องนำเข้าวัตถุดิบบางชิ้นจากไทยน้อยลง ขณะเดียวกันสินค้าที่ไทยมีก็ไม่สามารถทดแทนสินค้าจีนที่เคยทำตลาดสหรัฐฯ ได้เพราะไทยไม่ได้อยู่ในห่วงโซ่การผลิตตั้งแต่ต้น ซึ่งทำให้ไทยไม่ได้ประโยชน์จากเกมการค้านี้เลย นอกจากนี้หากการตอบโต้ทางการค้ายังดำเนินต่อไปจน ครอบคลุมสินค้าหลายรายการมากขึ้น คงยากจะหลีกเลี่ยงผลกระทบในวงกว้างที่มีต่อการผลิต การจ้างงาน จนส่งผลกดดันประเทศที่เป็นคู่กรณีของสหรัฐฯ
อนึ่ง ในกรณีเลวร้ายหากเกมการค้าที่เริ่มต้นโดยสหรัฐฯ ในรอบนี้ ได้ลุกลามไปจนครอบคลุมนานาประเทศมากขึ้นเรื่อยๆ ครอบคลุมสินค้ามากรายการมากขึ้นอีก ในที่สุดแล้วคงนำมาสู่วิกฤตความวุ่นวายทางการค้าโลก กระทบต่อห่วงโซ่การผลิตและกิจกรรมทางเศรษฐกิจในโลก และท้ายที่สุดก็จะฉุดการส่งออกของไทยในระยะข้างหน้า กล่าวคือ ประเทศคู่กรณีคงใช้มาตรการโต้กลับสหรัฐฯ โดยอาจพิจารณาใช้มาตรการแบบเจาะจงเป้าหมายหรืออาจใช้มาตรการ Safeguard ที่ส่งผลกีดกันสินค้าจากทุกประเทศ หรือประเทศที่ ได้รับผลกระทบโดยอ้อมจากการตอบโต้ทางการค้าอาจใช้มาตรการ AD/CVD แบบเฉพาะเจาะจงเพื่อป้องกันตัวเองจากการทะลักเข้ามาของสินค้าที่ล้นตลาดโลกซึ่งไม่ว่าจะเป็นการกีดกันในรูปแบบใดก็ย่อมจะไม่เกิดผลดีอีกทั้งยังทำให้เกิดการบิดเบือนของการค้าโลกในระยะข้างหน้า
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า การจะจบเกมนี้ได้คงต้องเป็นการหันหน้าเข้าสู่การเจรจาเพื่อแบ่งปันผลประโยชน์ร่วมกันระหว่างสหรัฐฯ และประเทศคู่กรณีที่เกินดุลการค้ากับสหรัฐฯ ผ่านเครื่องมือทางการค้าที่มีอยู่โดยนำมาปรับเปลี่ยนให้สอดรับกับสถานการณ์ภายใต้เงื่อนไขสู่การเป็น "เพื่อนแท้(Real Friends)" ของสหรัฐฯ โดยหัวใจหลักในการเจรจาคงต้องคำนึงถึงผลประโยชน์ในรูปแบบที่สหรัฐฯ พึงพอใจ แต่ถ้าหากในที่สุดแล้วไม่สามารถหาข้อยุติได้นานาชาติคงร้องขอต่อองค์การการค้าโลก (WTO) ให้ออกหน้าเรียกร้องความเป็ นธรรมทางการค้าและยุติความปั่นป่วน