ที่ประชุมคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) ระบุว่า จากเครื่องชี้เศรษฐกิจไทยในช่วง 2 เดือนแรกของ ปี 2561 บ่งชี้ว่าเศรษฐกิจไทยยังมีแรงส่งของการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง โดยแรงหนุนจากภาวะเศรษฐกิจโลกส่งผลให้การส่งออกของ ไทยเติบโตแข็งแกร่ง ขณะเดียวกัน การท่องเที่ยวก็ยังคงขยายตัวได้ดี นอกจากนี้ การนำเข้าที่ขยายตัวในทุกหมวดทั้งสินค้าทุน วัตถุดิบ และสินค้าขั้นกลาง และสินค้าเพื่อการบริโภค สะท้อนถึงกิจกรรมการผลิตภาคอุตสาหกรรมและการใช้จ่ายในประเทศที่มีแนวโน้มปรับตัว ดีขึ้น ที่ประชุม กกร.จึงมีมติปรับเพิ่มประมาณการการส่งออก และอัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยในปี 2561 โดยประเมินว่า การส่งออกอาจขยายตัว 5.0-8.0% ซึ่งจะสนับสนุนให้เศรษฐกิจไทยขยายตัว 4.0-4.5%
อย่างไรก็ตาม ในระยะข้างหน้ายังคงมีประเด็นท้าทายที่อาจส่งผลกระทบต่อเส้นทางการขยายตัวของเศรษฐกิจไทย ไม่ ว่าจะเป็น ความขัดแย้งทางการค้าระหว่างสหรัฐฯ กับนานาประเทศ รวมทั้งการเปิดเผยรายงานนโยบายอัตราแลกเปลี่ยนของ ประเทศคู่ค้าของสหรัฐฯ โดยกระทรวงการคลังสหรัฐฯ ในเดือนเมษายนนี้ ตลอดจนการปรับตัวของราคาสินค้าเกษตรบางรายการและ ความคืบหน้าของการลงทุนภาครัฐ ซึ่ง กกร.จะติดตามสถานการณ์เพื่อประเมินแนวโน้มเศรษฐกิจไทยอย่างใกล้ชิด
สำหรับประเด็นข้อพิพาททางการค้าจากการที่สหรัฐฯ ประกาศขึ้นอัตราภาษีนำเข้าสินค้าจากจีน รวมทั้งความเป็นไปได้ที่ ไทยอาจจะติดอยู่ในรายชื่อประเทศที่ต้องจับตามองในรายงานนโยบายอัตราแลกเปลี่ยนที่เปิดเผยโดยกระทรวงการคลังสหรัฐฯ นั้น ใน ชั้นนี้ กกร.เห็นว่าอาจจะยังมีผลกระทบที่จำกัดต่อการส่งออกของไทยในปี 2561 จึงมีการปรับเพิ่มประมาณการตามที่ระบุ
ปี 2561 ประมาณการเดิม (10 ม.ค.61) ประมาณการใหม่ (3 เม.ย.61) GDP 3.8-4.5% 4.0-4.5% ส่งออก 3.5-6.0% 5.0-8.0% เงินเฟ้อทั่วไป 1.1-1.6% 0.7-1.2% นอกจากนี้ กกร.เห็นว่า มาตรฐานการบัญชี IFRS 9 ที่จะมีการบังคับใช้ในปี 2562 เป็นมาตรฐานที่มีผลกระทบกับภาค ธุรกิจในวงกว้าง จึงเสนอให้คณะกรรมการกำกับวิชาชีพการบัญชี (กกบ.) ทำการพิจารณาผลกระทบให้รอบด้านและพิจารณาราย ละเอียดให้มากขึ้น และเสนอให้เลื่อนการบังคับใช้เป็นปี 2565