นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงเทพ เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดเย็นนี้อยู่ที่ระดับ 31.25/29 บาท/ดอลลาร์ อ่อนค่า เล็กน้อยจากช่วงเช้าที่เปิดตลาดที่ระดับ 31.24 บาท/ดอลลาร์
ในภาพรวมเงินบาทระหว่างวันยังเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบแคบ แต่ปรับตัวอ่อนค่าลงเล็กน้อยจากช่วงเช้า เนื่องจากนักลง ทุนเข้าซื้อดอลลาร์ในช่วงก่อนวันหยุดยาว ขณะที่ยังไม่มีปัจจัยสำคัญมากนักที่จะมีผลต่อทิศทางของค่าเงินบาทในระยะนี้
"บาทยังเคลื่อนไหวในกรอบแคบ แต่ก็อ่อนค่าลง เพราะลูกค้ามีการซื้อดอลลาร์ในช่วงก่อนที่จะหยุดยาว" นักบริหารเงิน
ระบุ
นักบริหารเงิน มองว่า พรุ่งนี้เงินบาทมีโอกาสอ่อนค่าได้ คาดเคลื่อนไหวในกรอบ 31.20-31.35 บาท/ดอลลาร์
- เย็นนี้เงินเยนอยู่ที่ระดับ 107.25 เยน/ดอลลาร์ จากช่วงเช้าที่ระดับ 106.92 เยน/ดอลลาร์
- ส่วนเงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.2260/2270 ดอลลาร์/ยูโร จากช่วงเช้าที่ระดับ 1.2271 ดอลลาร์/ยูโร
- ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ระดับ 1,751.27 จุด เพิ่มขึ้น 11.35 จุด (+0.65%) มูลค่าการซื้อขาย 55,590 ล้านบาท
- สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติซื้อสุทธิ 1,479.87 ลบ.(SET+MAI)
- ธนาคารโลก (World Bank) เปิดเผยรายงานติดตามเศรษฐกิจประเทศไทยล่าสุด พบว่า เศรษฐกิจไทยในปี
2561 จะขยายตัวได้ 4.1% ซึ่งเป็นการเติบโตสูงสุดนับตั้งแต่ปี 2555 ในขณะที่การเติบโตอย่างรวดเร็วของการส่งออกยังคงเป็น
กำลังขับเคลื่อนเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง อัตราการใช้กำลังการผลิตของภาคอุตสาหกรรมและการนำเข้าสินค้าทุนที่เพิ่มขึ้น ส่งสัญญาณว่า
การบริโภคในประเทศกำลังฟื้นตัว การปฏิรูประเบียบและเสถียรภาพของนโยบายโดยรวมต่างช่วยเพิ่มความเชื่อมั่นทางธุรกิจอย่างต่อ
เนื่อง
- ธนาคารกรุงศรีอยุธยา (BAY) มีมุมมองต่อทิศทางค่าเงินบาทในสัปดาห์นี้ว่า มีแนวโน้มเคลื่อนไหวในกรอบ 31.10-
31.35 บาทต่อดอลลาร์ โดยตลาดจะให้ความสนใจการเปิดเผยบันทึกการประชุมรอบล่าสุดของประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด)
รวมถึงตัวเลขเงินเฟ้อสหรัฐฯ หลังประธานเฟดมีมุมมองเชิงบวกต่อทิศทางเศรษฐกิจ และส่งสัญญาณขึ้นอัตราดอกเบี้ยต่อไป เนื่องจาก
ไม่ต้องการเร่งปรับขึ้นดอกเบี้ยมากเกินจำเป็นในระยะข้างหน้า ¶
อย่างไรก็ดี ในภาวะที่มีความไม่แน่นอนสูงเกี่ยวกับสงครามทางการค้าจีน-สหรัฐฯ นักลงทุนมีแนวโน้มที่จะหลีกเลี่ยง สินทรัพย์เสี่ยง เช่น หุ้นทั่วโลก และเข้าถือครองเงินเยน ซึ่งมักถูกมองว่าเป็นแหล่งพักเงินที่ปลอดภัยจนกว่าสถานการณ์จะมีความ ชัดเจนมากขึ้น
- ธนาคารกสิกรไทย (KBANK) ประเมินศรษฐกิจไทยในปี 2561 โดยคาดว่าเศรษฐกิจไทยในปีนี้จะสามารถฟื้นตัวต่อ
เนื่อง และน่าจะเติบโตได้มากกว่า 3.9% ที่ทำได้ในปี 2560 ตามแรงส่งจากภาคการส่งออกและท่องเที่ยว ตลอดจนปัจจัยหนุนเพิ่ม
เติมจากการลงทุนของภาครัฐ จากการเดินหน้าโครงการลงทุนขนาดใหญ่ที่บางส่วนถูกเลื่อนมาจากปี 2560 ประกอบกับรัฐบาลทยอย
ผลักดันกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) และการเลือกตั้งต่างๆ น่าจะส่งผลให้นักลงทุนต่างชาตินำเม็ด
เงินลงทุนโดยตรง (FDI) เข้าสู่ไทย เสริมให้ภาพรวมเศรษฐกิจในปีนี้เดินหน้าได้อย่างมีเสถียรภาพตามที่ได้วางแผนไว้
- สำนักงานสถิติแห่งชาติเยอรมนี รายงานว่า ยอดส่งออกเดือนมี.ค.ของเยอรมนี ร่วงลง 3.2% เมื่อเทียบเป็นราย
เดือน ซึ่งเป็นสถิติที่ปรับตัวลงหนักที่สุดในรอบ 2 ปีครึ่ง ขณะที่ยอดนำเข้าเดือนมี.ค.ลดลง 1.3% นับเป็นสัญญาณบ่งชี้ว่าการขยายตัว
ของเศรษฐกิจเยอรมนี ซึ่งมีขนาดใหญ่เป็นอันดับหนึ่งของยุโรปนั้นอาจจะมาถึงจุดอิ่มตัวแล้ว ทั้งนี้ การร่วงลงอย่างหนักของยอดส่งออก
ในเดือนมี.ค. ส่งผลให้ยอดเกินดุลการค้าของเยอรมนีในเดือนดังกล่าว ลดลงสู่ระดับ 1.92 หมื่นล้านยูโร (ประมาณ 2.3 หมื่นล้าน
ดอลลาร์สหรัฐ)
- สำนักงานคณะรัฐมนตรีญี่ปุ่น เปิดเผยว่า ดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจของชาวญี่ปุ่นที่ประกอบอาชีพที่มีความอ่อนไหวต่อ
ภาวะเศรษฐกิจ (Diffusion Index) ในเดือนมี.ค. แตะระดับ 48.9 ปรับตัวขึ้น 0.3 จุด โดยเป็นการปรับตัวขึ้นเป็นครั้งแรกใน
รอบ 4 เดือน หลังจากที่ร่วงลงอย่างหนักจากสภาพอากาศที่หนาวเย็น พร้อมกันนี้ สำนักงานคณะรัฐมนตรีญี่ปุ่น ยังคงการประเมินภาวะ
เศรษฐกิจเอาไว้ที่ระดับเดิม โดยระบุว่าเศรษฐกิจญี่ปุ่นกำลังฟื้นตัวในระดับปานกลาง
--อินโฟเควสท์ โดย กษมาพร กิตติสัมพันธ์/รัชดา โทร.02-2535000 ต่อ 317 อีเมล์: rachada@infoquest.co.th--