ภาวะตลาดเงินบาท: เปิด 31.50/54 แนวโน้มยังอ่อนค่า จับตาถ้อยแถลงจาก ECB-BOJ มองกรอบวันนี้ 31.45-31.60

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday April 24, 2018 09:25 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงเทพ เปิดเผยว่า เงินบาทเปิดตลาดเช้านี้อยู่ที่ระดับ 31.50/54 บาท/ดอลลาร์ ใกล้ เคียงกับเย็นวานนี้ที่ปิดตลาดที่ระดับ 31.50/51 บาท/ดอลลาร์

วันนี้เงินบาทยังมีแนวโน้มจะอ่อนค่าได้ต่อ ตลาดจับตาการประชุมธนาคารกลางญี่ปุ่น และการประชุมธนาคารกลางยุโรป ซึ่งในส่วนของอัตราดอกเบี้ยนั้น คาดการณ์ว่าจะยังมีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ในระดับเดิม เพียงแต่ต้องจับตาถ้อยแถลงของคณะ กรรมการฯ ที่จะมีขึ้นต่อมุมมองเศรษฐกิจในระยะต่อไป

นักบริหารเงิน คาดว่า วันนี้เงินบาทจะเคลื่อนไหวในกรอบ 31.45-31.60 บาท/ดอลลาร์

THAI BAHT FIX 3M (23 เม.ย.) อยู่ที่ระดับ 1.17440% ส่วน THAI BAHT FIX 6M อยู่ที่ระดับ 1.23482%

  • ปัจจัยสำคัญ
  • เช้านี้เงินเยนอยู่ที่ระดับ 108.79 เยน/ดอลลาร์ จากเย็นวานที่ระดับ 108.26 เยน/ดอลลาร์
  • ส่วนเงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.2203 ดอลลาร์/ยูโร จากเย็นวานนี้ที่ระดับ 1.2229 ดอลลาร์/ยูโร
  • อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท/ดอลลาร์ ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักระหว่างธนาคารของธปท.อยู่ที่ระดับ 31.1850 บาท/
ดอลลาร์

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงเทพ เปิดเผยว่า เงินบาทเปิดตลาดเช้านี้อยู่ที่ระดับ 31.50/54 บาท/ดอลลาร์ ใกล้ เคียงกับเย็นวานนี้ที่ปิดตลาดที่ระดับ 31.50/51 บาท/ดอลลาร์

วันนี้เงินบาทยังมีแนวโน้มจะอ่อนค่าได้ต่อ ตลาดจับตาการประชุมธนาคารกลางญี่ปุ่น และการประชุมธนาคารกลางยุโรป ซึ่งในส่วนของอัตราดอกเบี้ยนั้น คาดการณ์ว่าจะยังมีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ในระดับเดิม เพียงแต่ต้องจับตาถ้อยแถลงของคณะ กรรมการฯ ที่จะมีขึ้นต่อมุมมองเศรษฐกิจในระยะต่อไป

นักบริหารเงิน คาดว่า วันนี้เงินบาทจะเคลื่อนไหวในกรอบ 31.45-31.60 บาท/ดอลลาร์

THAI BAHT FIX 3M (23 เม.ย.) อยู่ที่ระดับ 1.17440% ส่วน THAI BAHT FIX 6M (23 เม.ย.) อยู่ที่ระดับ 1.23482%

  • ปัจจัยสำคัญ
  • เช้านี้เงินเยนอยู่ที่ระดับ 108.79 เยน/ดอลลาร์ จากเย็นวานที่ระดับ 108.26 เยน/ดอลลาร์
  • ส่วนเงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.2203 ดอลลาร์/ยูโร จากเย็นวานนี้ที่ระดับ 1.2229 ดอลลาร์/ยูโร
  • อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท/ดอลลาร์ ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักระหว่างธนาคารของธปท.อยู่ที่ระดับ 31.185 บาท/ดอลลาร์
  • ฟิทช์ เรทติ้งส์ เปิดเผยว่า การที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบมาตรการทางภาษีจูงใจให้ธนาคารพาณิชย์ไทยควบ
รวมกิจการอาจทำให้ภาพรวมอุตสาหกรรมธนาคารเปลี่ยนแปลง โดยธนาคารที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศเพียง 1 หรือ 2 ราย อาจ
ครองส่วนแบ่งทางการตลาดในประเทศในระดับที่สูงมากเมื่อเทียบกับอุตสาหกรรมโดยรวม และมีสถานะที่แข็งแกร่งขึ้นในการรับมือการ
แข่งขันกับธนาคารต่างชาติ ซึ่งการแข่งขันน่าจะรุนแรงขึ้นในอนาคต ตามความคืบหน้าของแนวทางการรวมตัวภาคการธนาคารอา
เซียน (ASEAN Banking Integration Framework หรือ ABIF)
  • นายกอบศักดิ์ ภูตระกูล รมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า เศรษฐกิจไทยในปีนี้จะขยายตัว 4-4.5%
เพราะมีปัจจัยบวกหลายด้านสนับสนุน ทั้งการส่งออกขยายตัวต่อเนื่อง การท่องเที่ยวเติบโตสูง เศรษฐกิจโลกเติบโตดี ราคาน้ำมันขยับ
จาก 29 ดอลลาร์สหรัฐ/บาร์เรล มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเป็น 60-70 ดอลลาร์/บาร์เรล ซึ่งจะดึงให้ราคายางพารา ปาล์มน้ำมันขยับขึ้น
ตามไปด้วย รวมทั้งราคาสินค้าเกษตรตกต่ำมานาน จากนั้นจะเริ่มขยับขึ้นใน อีก 6 เดือนข้างหน้า ทั้งราคาข้าว อ้อย มันสำปะหลัง
ทำให้เกษตรกรรายย่อยมีกำลังซื้อเพิ่ม เพราะเศรษฐกิจโลก ทั้งสหรัฐ ยุโรป จีน ญี่ปุ่น อินเดีย เศรษฐกิจฟื้นตัว
  • สมาคมนายหน้าอสังหาริมทรัพย์แห่งชาติของสหรัฐ (NAR) เปิดเผยว่า ยอดขายบ้านมือสองเพิ่มขึ้น 1.1% ในเดือนมี.
ค. เมื่อเทียบรายเดือน สู่ระดับ 5.60 ล้านยูนิต จากระดับ 5.54 ล้านยูนิตในเดือนก.พ. ขณะที่ไอเอชเอส มาร์กิต ซึ่งเป็นบริษัทให้
บริการข้อมูลทางการเงิน เปิดเผยว่า ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) รวมภาคการผลิต และภาคบริการเบื้องต้นของสหรัฐ ดีดตัวสู่
ระดับ 54.8 ในเดือนเม.ย. ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบ 2 เดือน หลังจากแตะ 54.2 ในเดือนมี.ค.
  • ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กเมื่อคืนนี้ (23 เม.
ย.) โดยได้แรงหนุนจากอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐที่พุ่งขึ้นใกล้ระดับ 3% ขณะที่นักลงทุนจับตาข้อมูลเศรษฐกิจที่สำคัญของสหรัฐใน
สัปดาห์นี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ไตรมาส 1/2561
  • สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดร่วงลงเมื่อคืนนี้ (23 เม.ย.) เนื่องจากการแข็งค่าของสกุลเงินดอลลาร์ได้ลดความน่า
ดึงดูดของสัญญาทองคำ นอกจากนี้ อัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐที่พุ่งขึ้นเมื่อคืนนี้ ยังส่งผลให้นักลงทุนกังวลว่าจะทำให้อัตราดอกเบี้ย
ประเภทอื่นๆในตลาดการเงินพุ่งขึ้นด้วย ซึ่งจะสร้างแรงกดดันต่อตลาดต่างๆ ซึ่งรวมถึงตลาดสินค้าโภคภัณฑ์
  • นักลงทุนจับตาการประชุมนโยบายการเงินของธนาคารกลางยุโรป (ECB) ในวันพฤหัสบดีนี้ และธนาคารกลางญี่ปุ่น
(BOJ) ในวันศุกร์
  • นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดการณ์ว่า ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) จะคงนโยบายการเงินในการประชุมซึ่งจะมีขึ้นในวันที่
27 เม.ย.นี้ โดยคาดว่า BOJ จะมีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับ -0.1% และเดินหน้าโครงการซื้อพันธบัตร ซึ่งมีเป้าหมายที่จะ
รักษาอัตราผลตอบแทนพันธบัตรอายุ 10 ปี ซึ่งเป็นมาตรวัดเงินเฟ้อระยะยาว ให้เคลื่อนไหวที่ระดับ 0%
  • นักลงทุนยังจับตาข้อมูลเศรษฐกิจที่สำคัญของสหรัฐในสัปดาห์นี้ด้วย ซึ่งได้แก่ ดัชนีราคาบ้านเดือนก.พ.โดยเอสแอนด์พี/
เคซ-ชิลเลอร์, ความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนเม.ย.จาก Conference Board, ยอดขายบ้านใหม่เดือนมี.ค., จำนวนผู้ขอรับ
สวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์, สต็อกสินค้าคงคลังภาคค้าส่งเดือนมี.ค., ยอดสั่งซื้อสินค้าคงทนเดือนมี.ค., ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายใน
ประเทศ (GDP) ไตรมาส 1/2561 และความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนเม.ย.จากมหาวิทยาลัยมิชิแกน

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ