สนง.นวัตกรรมแห่งชาติ เผยเยอรมนีสนใจลงทุน Urban Tech และ Fin Tech รุกเชื่อม Start Up กรุงเทพ – เบอร์ลิน ดันสู่เวทีโลก

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday May 3, 2018 15:17 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นายสุวิทย์ เมษินทรีย์ รมว.วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กล่าวว่า สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จับมือ Germany Accelerator South East Asia (GASEA) หน่วยงานของกระทรวงความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา และ enpact หน่วยงานภายใต้ Startup AsiaBerlin (SUAB) ของกระทรวงเศรษฐกิจและพลังงาน เพื่อส่งเสริมร่วมมือในระดับนานาชาติในการพัฒนาระบบนิเวศและผลักดันสตาร์ทอัพให้ก้าวสู่เวทีต่างประเทศ

ภายใต้ความร่วมมือนี้มีกิจกรรมที่สำคัญ 5 ด้าน อาทิ การพัฒนาแพลตฟอร์ม Accelerator เพื่อให้เข้าถึงข้อมูลการขยายตลาดยุโรปและอาเซียน การร่วมกันพัฒนาเครื่องมืองการวิเคราะห์ระบบนิเวศสตาร์ทอัพในระดับเมือง การอำนวยความสะดวกด้านการจัดตั้งบริษัทและพื้นที่การดำเนินธุรกิจทั้ง 2 ฝ่าย ซึ่งหน่วยงานฝั่งเยอรมันยังได้ให้ความสนใจในเรื่องเออเบิร์นเทค (Urban Tech) และฟินเทค (Fin Tech) และเตรียมวางแผนกิจกรรมที่จะทำร่วมกันในอนาคตอันใกล้นี้

"การลงนามในครั้งนี้ทั้ง 3 หน่วยงาน ล้วนมีเป้าประสงค์เดียวกันคือการสร้างความร่วมมือในระดับนานาชาติเพื่อส่งเสริมสตาร์ทอัพของประเทศตนเองให้ก้าวไปสู่เวทีต่างประเทศ และแลกเปลี่ยนและพัฒนาระบบนิเวศสตาร์ทอัพร่วมกัน ซึ่งถือเป็นประโยชน์ที่จะเอื้อต่อการพัฒนาประเทศไทยตามนโยบาย Thailand 4.0 และช่วยให้ประเทศก้าวไปสู่เศรษฐกิจฐานนวัตกรรมได้รวดเร็วขึ้น"

ด้านนายพันธุ์อาจ ชัยรัตน์ ผู้อำนวยการ NIA กล่าวว่า จกรรมความร่วมมือภายใต้ความร่วมมือนี้ ประกอบด้วย 1) การพัฒนาแพลตฟอร์ม Accelerator ร่วมกันเพื่อเป็นสะพานเชื่อมให้สตาร์ทอัพในเมืองหลวงของทั้งสองประเทศเข้าถึงข้อมูลการขยายตลาดยุโรปและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 2) การเชื่อมโยงโครงสร้างพื้นฐานทางเทคโนโลยีและการลงทุนของทั้ง 2 เมืองมหานคร โดยเน้นเข้าถึงแหล่งเงินทุน องค์ความรู้ทางด้านเทคนิค และระบบเมนเทอร์ (Internation Mentoring Program) 3) การประเมินและการวิเคราะห์พัฒนาการของระบบนิเวศ ผ่านการร่วมกันพัฒนาเครื่องมือการวิเคราะห์พัฒนาการของระบบนิเวศสตาร์ทอัพในระดับเมือง 4) การสร้างเครือข่ายผู้พัฒนาระบบนิเวศสตาร์ทอัพในเมืองต่างๆ ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน นักลงทุน หน่วยงานส่งเสริม และสมาคมที่เกี่ยวข้อง และ 5) การอำนวยความสะดวกด้านการจัดตั้งบริษัทและพื้นที่การดำเนินธุรกิจทั้ง 2 ฝ่าย เช่น การได้รับสิทธิประโยชน์ในการทำงานของสตาร์ทอัพต่างชาติในไทย (Smart Visa) เป็นต้น


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ