นายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) กล่าวภายหลังรับข้อเสนอและความเห็นต่อร่าง พ.ร.บ.ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง จากผู้แทนคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) ว่า จะรวบรวมข้อเสนอดังกล่าวส่งต่อให้คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่าง พ.ร.บ.ที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ซึ่งเป็นไปตามหลักการออกกฎหมาย และรับฟังความเห็นรอบด้าน และที่สำคัญ กฎหมายทุกฉบับในยุค สนช.จะต้องคำนึงถึงประโยชน์ประชาชนเป็นสำคัญ และต้องตอบโจทย์ให้ได้ว่าเป็นประโยชน์ต่อประชาชนทั้งประเทศ ไม่ใช่เฉพาะกลุ่มหนึ่งกลุ่มใด โดย สนช.ได้พิจารณาร่างกฎหมายอย่างรอบคอบ
สำหรับข้อเสนอสำคัญของ กกร.ระบุว่า ร่างกฎหมายดังกล่าวยังขาดความชัดเจน มีปัญหาในการตีความ เมื่อนำไปปฏิบัติในแต่ละพื้นที่ ในแต่ละสาขาธุรกิจอาจมีลักษณะไม่เหมือนกัน ก่อให้เกิดการใช้ดุลยพินิจของพนักงานเจ้าหน้าที่ในการบังคับใช้กฎหมาย, หลักการจัดเก็บภาษีที่ดีจะต้องมีความเหมาะสมและเป็นที่ยอมรับจากภาคประชาชนและภาคธุรกิจตลอดจนสามารถนำปฏิบัติได้โดยไม่เป็นภาระต่อผู้ถูกจัดเก็บมากเกินไป และการจัดเก็บภาษีที่ส่งผลกระทบต่อประชาชนทุกกลุ่มทั่วประเทศ ควรเปิดโอกาสให้ประชาชนที่เกี่ยวข้องได้แสดงความคิดเห็นตามหลักในรัฐธรรมนูญพ.ศ.2560 มาตรา 77 ดังนั้น การกำหนดอัตราภาษี ควรมีความชัดเจนและแน่นอน โดยกำหนดเป็นอัตราคงที่อัตราเดียว, การกำหนดอัตราภาษีเป็นเพดานสูงโดยภาครัฐจะประกาศใช้อัตราเรียกเก็บจริงในอนาคตนั้น จะส่งผลเสียต่อการลงทุน เนื่องจากทำให้ไม่เกิดความไม่แน่นอนและไม่สามารถวางแผนลงทุนได้,
การเก็บภาษีในครั้งนี้ ในระยะสั้นเป็นการเพิ่มภาระทางตรงให้กับผู้เสียภาษี โดยส่งผลต่อผู้เสียภาษีทั้งประชาชนผู้อยู่อาศัยและผู้ครอบครองที่ดิน ตลอดจนธุรกิจเอสเอ็มอี และธุรกิจขนาดใหญ่ โดยคาดว่าประชาชนจะมีภาระภาษีจ่ายทั้งประเทศอยู่ในวงเงินรวม 50,000-100,000 ล้านบาทต่อปี ซึ่งเป็นการบั่นทอนอำนาจซื้อของปภาคประชาชนและธุรกิจ และทำให้ภาคเอกชนขาดความมั่นใจต่อการลงทุนในอนาคต
ด้วยเหตุผลดังกล่าวทำให้เศรษฐกิจขยายตัวลดลงจากเดิม 0.3%-0.7% ต่อปี นอกจากนี้แนวทางในการปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดเก็บภาษีในแต่ละพื้นที่ยังไม่มีความชัดเจน ผลกระทบที่จะเกิดขึ้นต่อการบริโภคและการลงทุนทำให้เศรษฐกิจไทยขยายตัวต่ำกว่าที่ควรจะเป็น,
เพื่อให้ร่างพ.ร.บ.ดังกล่าวเป็นกฎหมายที่ดีและสามารถบังคับใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพและส่งเสริมการมีส่วนร่วมรับฟังความคิดเห็นของผู้ที่เกี่ยวข้องอย่างรอบด้าน ขอเสนอให้แต่งตั้งคณะทำงานโดยมีผู้แทนจากภาคเอกชน