ภาวะตลาดเงินบาท: เปิด 32.06/09 แนวโน้มอ่อนค่าตามภูมิภาค ตลาดกลับมากังวลสงครามการค้าระลอกใหม่

ข่าวเศรษฐกิจ Friday June 1, 2018 09:24 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงเทพ เปิดเผยว่า เงินบาทเปิดตลาดเช้านี้อยู่ที่ 32.06/09 บาท/ดอลลาร์ อ่อนค่าจาก ช่วงเย็นวานนี้ที่ระดับ 31.98 บาท/ดอลลาร์ หลังตลาดคลายความกังวลต่อปัญหาการเมืองของอิตาลี แต่ยังมีความเป็นห่วงเรื่องการ ตอบโต้มาตรการกีดกันทางการค้าของสหรัฐ

"บาทกลับมาอ่อนค่าตามภูมิภาค หลังตลาดคลายกังวลเรื่องการเมืองในอิตาลี แต่น่าจะเป็นการอ่อนค่าแค่ช่วงสั้นๆ โดย มองแนวต้านไว้ที่ 32.20 บาท/ดอลลาร์" นักบริหารเงิน กล่าว

นักบริหารเงินประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทวันนี้ไว้ที่ 32.00-32.16 บาท/ดอลลาร์

THAI BAHT FIX 3M (31 พ.ค.) อยู่ที่ระดับ 1.11227% ส่วน THAI BAHT FIX 6M อยู่ที่ระดับ 1.24555%

  • ปัจจัยสำคัญ
  • เงินเยนอยู่ที่ 109.10/15 เยน/ดอลลาร์ จากเย็นวานนี้ที่ระดับ 108.94/97 เยน/ดอลลาร์
  • เงินยูโรอยู่ที่ 1.1685/1690 ดอลลาร์/ยูโร จากเย็นวานนี้ที่ระดับ 1.1703/1706 ดอลลาร์/ยูโร
  • อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท/ดอลลาร์ ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักระหว่างธนาคารของธปท.อยู่ที่ระดับ 32.0070 บาท/
ดอลลาร์
  • วันนี้กระทรวงพาณิชย์ แถลงสถานการณ์ด้านราคาสินค้าและบริการ หรือดัชนีเงินเฟ้อประจำเดือนพฤษภาคม 2561
  • ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ในครึ่งหลังปี 61 ธปท.มีแผนปฏิรูปกฎเกณฑ์การกำกับสถาบัน
การเงิน โดยเชิญสถาบันการเงินและภาคธุรกิจมาหารือตั้งแต่วันที่ 1 มิ.ย.นี้ เป็นระยะเวลา 4 เดือน ซึ่งประเด็นสำคัญของการ
ปฏิรูปจะต้องทำให้สถาบันการเงินทำธุรกรรมที่เกี่ยวข้องกับดิจิตอลและอิเล็กทรอนิกส์ให้คล่องตัวมากขึ้น รวมถึงกฎเกณฑ์การปล่อยสิน
เชื่อเอสเอ็มอี เพราะปัจจุบันมีต้นทุนสูง โดยลดขั้นตอนการพิจารณาสินเชื่อ ลดเอกสาร หลักประกัน การกำกับดูแลความเสี่ยง การ
บริหารจัดการสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) ซึ่งจะทำให้ต้นทุนทั้งของสถาบันการเงินและเอสเอ็มอีลดลง
  • ผู้ว่าแบงก์ชาติ ห่วงความเสี่ยงสินเชื่อที่อยู่อาศัยของสถาบันการเงิน เริ่มเห็นสัญญาณการแข่งขันปล่อยสินเชื่อของ
แบงก์สูงขึ้น เตือนสถานการเงินบางแห่งให้ระมัดระวังความเสี่ยง ระบุปัญหาการเมืองอิตาลีไม่กระทบตลาดเงินตลาดทุนไทย เนื่อง
จากไม่มีธุรกรรมโดยตรง พร้อมจับตากระแสเงินทุนไหลออกจากประเทศตลาดเกิดใหม่
  • ม.หอการค้าไทย ประกาศเออีซีล่ม คาดอีก 5 ปีข้างหน้า อาเซียนทำการค้าระหว่างกันน้อยลงทำมูลค่าการค้าหาย
วับ 1.17 แสนล้านเหรียญฯ หันค้าขายกับนอกอาเซียนมากขึ้น ชี้เออีซีไม่ช่วยส่งเสริมการค้าเหตุสมาชิกแห่ออกมาตรการกีดกันการค้า
มากขึ้น ขณะที่จีน-เกาหลีใต้ เข้ามาแย่งตลาด
  • นักเศรษฐศาสตร์ที่เคยได้รับรางวัลโนเบล ระบุว่า บิตคอยน์ดูเหมือนกำลังอยู่ในภาวะฟองสบู่ และคาดการณ์ว่าบิต
คอยน์จะหายไปจากโลกนี้ภายในเวลา 100 ปี
  • กระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยว่า ดัชนีราคาการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล (PCE) พื้นฐาน ซึ่งไม่นับรวมหมวด
อาหารและพลังงาน และเป็นมาตรวัดอัตราเงินเฟ้อที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ให้ความสำคัญ เพิ่มขึ้น 1.8% ในเดือนเม.ย. เมื่อ
เทียบเป็นรายปี ซึ่งใกล้เคียงกับเป้าหมายของเฟดที่ระดับ 2%
  • กระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยว่า จำนวนชาวอเมริกันที่ยื่นขอสวัสดิการว่างงานครั้งแรกลดลง 13,000 ราย สู่
ระดับ 221,000 รายในสัปดาห์ที่แล้ว ขณะที่นักวิเคราะห์คาดว่าจะลดลงสู่ระดับ 228,000 ราย
  • นักลงทุนต่างพากันวิตกกังวลเกี่ยวกับสงครามการค้าระลอกใหม่ หลังจากนายวิลเบอร์ รอสส์ รมว.พาณิชย์สหรัฐ
กล่าวว่า สหรัฐจะเรียกเก็บภาษีนำเข้าเหล็ก 25% และภาษีนำเข้าอลูมิเนียม 10% จากแคนาดา, เม็กซิโก และ EU โดยจะเริ่มมีผล
บังคับใช้ในวันนี้เวลา 11.00 น.ตามเวลาไทย หลังจากที่การเจรจาระหว่างสหรัฐและ EU ประสบความล้มเหลว
  • ดอลลาร์อ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กเมื่อคืนนี้ (31 พ.ค.)
เนื่องจากความวิตกกังวลเกี่ยวกับสงครามการค้า หลังจากสหรัฐประกาศเรียกเก็บภาษีนำเข้าเหล็กและอลูมิเนียมจากแคนาดา,
เม็กซิโก และสหภาพยุโรป (EU) ขณะที่ประเทศคู่ค้าเหล่านี้ได้ออกมาตรการตอบโต้สหรัฐเช่นกัน
  • สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดปรับตัวลงเมื่อคืนนี้ (31 พ.ค.) โดยได้รับปัจจัยกดดันจากกระแสคาดการณ์ที่ว่า
ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) อาจจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในการประชุมเดือนมิ.ย. นอกจากนี้ ตลาดทองคำยังได้รับผลกระทบจากสกุล
เงินดอลลาร์ที่แข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับเงินเยน
  • นักลงทุนจับตาข้อมูลเศรษฐกิจด้านอื่นๆของสหรัฐที่จะมีการเปิดเผยในวันนี้ ซึ่งได้แก่ ตัวเลขจ้างงานนอกภาคเกษตร

เดือนพ.ค., ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตเดือนพ.ค.จากมาร์กิต, ดัชนีภาคการผลิตเดือนพ.ค. จากสถาบันจัดการ

ด้านอุปทานของสหรัฐ (ISM) และยอดขายรถยนต์เดือนพ.ค.


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ