ภาวะตลาดเงินบาท: ปิด 32.00 ตลาดรอติดตามตัวเลขจ้างงานนอกภาคเกษตรสหรัฐฯคืนนี้ สัปดาห์หน้ามองกรอบ 31.95-32.05

ข่าวเศรษฐกิจ Friday June 1, 2018 17:42 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดเย็นนี้ที่ระดับ 32.00 บาท/ดอลลาร์ จากตอน เช้าที่เปิดตลาดที่ 32.06/09 บาท/ดอลลาร์ ระหว่างวันเคลื่อนไหวระหว่าง 31.98-32.10 บาท/ดอลลาร์

"ตลาดมีความกังวลเรื่องการค้าโลกจากกรณีที่สหรัฐจะเรียกเก็บภาษีนำเข้าเหล็ก 25% และภาษีนำเข้าอลูมิเนียม 10% จากแคนาดา, เม็กซิโก และ EU..ขณะที่ตลาดยังรอตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรของสหรัฐฯ คืนนี้" นักบริหารเงิน กล่าว

นักบริหารเงิน ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทต้นสัปดาห์หน้าระหว่าง 31.95-32.05 บาท/ดอลลาร์

  • ปัจจัยสำคัญ
  • เงินเยนอยู่ที่ 109.23 เยน/ดอลลาร์ จากตอนเช้าที่อยู่ที่ระดับ 109.10/15 เยน/ดอลลาร์
  • เงินยูโรอยู่ที่ 1.1705 ดอลลาร์/ยูโร จากตอนเช้าที่อยู่ที่ระดับ 1.1685/1690 ดอลลาร์/ยูโร
  • ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ระดับ 1,719.82 จุด ลดลง 7.15 จุด, -0.41% มูลค่าการซื้อขาย 57,649.09 ล้านบาท
  • สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติซื้อสุทธิ 132.01 ลบ.(SET+MAI)
  • กระทรวงพาณิชย์ รายงานอัตราเงินเฟ้อทั่วไปเดือนพฤษภาคมปรับเพิ่มขึ้นไปที่ 1.49%YOY จาก 1.07%YOY ในเดือน
ก่อน ส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ย 5 เดือนแรกของปี 61 อยู่ที่ 0.89%YOY ขณะที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานปรับขึ้นไปที่ 0.80%YOY
จาก 0.64%YOY ในเดือนก่อน ส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานเฉลี่ย 5 เดือนแรกของปีอยู่ที่ 0.66%YOY อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเร่งตัวขึ้น
เป็นผลจากราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้นเป็นหลัก โดยราคาน้ำมันดิบเบรนท์เฉลี่ยเดือนพฤษภาคมอยู่ที่ 76.7 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อบาร์เรล สูง
กว่าช่วงเดียวกันของปีก่อนถึง 51.0%YOY ส่งผลให้ดัชนีราคาพลังงานขยายตัว 7.7%YOY
  • ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB EIC) ปรับคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ยทั้งปี 61 ขึ้น
ไปที่ 1.3%YOY จากเดิม 1.1%YOY โดยเป็นผลมาจากราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกที่ปรับขึ้นสูงกว่าที่คาดเป็นหลัก ส่งผลต่อราคาขาย
ปลีกน้ำมันในประเทศและต้นทุนสินค้าและบริการอื่นๆ
  • ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ระบุว่า ในเดือนพฤษภาคม 2561 ดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจปรับดีขึ้นจากเดือน
ก่อนจากระดับ 49.5 มาสู่ระดับ 51.5 โดยเป็นการปรับเพิ่มขึ้นในเกือบทุกองค์ประกอบ สะท้อนถึงความเชื่อมั่นที่เพิ่มขึ้นต่อกิจกรรม
ทางเศรษฐกิจที่กลับมาขยายตัวจากเดือนก่อนที่มีวันทำการน้อย
  • ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ทีเอ็มบี (TMB Analytics) เผยเศรษฐกิจไทยปี 61 มีแนวโน้มขยายตัวได้ 4.5% 5%
จากเดิมมอง 4.2%ในช่วงต้นปี จากแรงส่งของทุกองค์ประกอบเศรษฐกิจไตรมาสแรกที่โตดีกว่าคาด ที่สำคัญคือการกลับมาของการลง
ทุนภาคเอกชน เสริมภาคส่งออกและท่องเที่ยวที่เป็นแรงขับเคลื่อนหลัก
  • สำนักบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) รายงานหนี้สาธารณะคงค้าง ณ วันที่ 30 เมษายน 2561 มีจำนวน
6,486,711.48 ล้านบาท หรือคิดเป็น 41.04% ของ GDP โดยแบ่งเป็น หนี้รัฐบาล 5,182,896.20 ล้านบาท หนี้รัฐวิสาหกิจ
914,646.77 ล้านบาท หนี้รัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงิน (รัฐบาลค้ำประกัน) 379,903.38 ล้านบาท และหนี้หน่วยงานของรัฐ
9,265.13 ล้านบาท ทั้งนี้เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อนหน้าหนี้สาธารณะคงค้างเพิ่มขึ้นสุทธิ 32,879.78 ล้านบาท
  • รัฐมนตรีกระทรวงคลังของญี่ปุ่น ได้พบปะกับนายสตีเวน มนูชิน รัฐมนตีคลังสหรัฐ โดยนายอาโสะได้เรียกร้องให้สหรัฐ
ยกเว้นการเก็บภาษีนำเข้าเหล็กจากญี่ปุ่นเป็นการถาวร
  • กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ได้ออกมาเรียกร้องนานาประเทศ ให้ทำงานอย่างสร้างสรรค์ เพื่อแก้ไข
ความขัดแย้งทางการค้า หลังจากที่สหรัฐเดินหน้าเก็บภาษีสินค้าประเภทเหล็กและอลูมิเนียมที่นำเข้าจากสหภาพยุโรป (EU) แคนาดา
และเม็กซิโก
  • รัฐสภายุโรปได้ออกแถลงการณ์ประณามสหรัฐที่ประกาศเรียกเก็บภาษีนำเข้าเหล็กและอลูมิเนียมจากสหภาพยุโรป
(EU) พร้อมกับเรียกร้องให้ประเทศสมาชิก EU ใช้มาตรการตอบโต้อย่างเหมาะสมในทันที

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ