ภาวะตลาดเงินบาท: ปิด 32.07 ระหว่างวันแกว่งแคบ รอติดตามตัวเลขเงินเฟ้อสหรัฐฯ-ผลประชุมเฟด

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday June 12, 2018 17:41 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดวันนี้ที่ระดับ 32.07 บาท/ดอลลาร์ จากตอนเช้า ที่เปิดตลาดที่ระดับ 32.08 บาท/ดอลลาร์

"วันนี้แคบมาก ระหว่างวันวิ่งระหว่าง 32.07-32.10 ไม่ค่อยไปไหน ตลาดโลกก็แกว่งแคบ การประชุมสุดยอดผู้นำก็ส่ง ผลจำกัด ไม่มีด้านบวกหรือด้านลบ แต่คืนนี้จะมีตัวเลขเงินเฟ้อของสหรัฐฯ ซึ่งออกมาอย่างไรก็อาจจะส่งผลต่อการตัดสินใจของ ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด)"นักบริหารเงิน ระบุ

นักบริหารเงิน ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทวันพรุ่งไว้ที่ 32.00-32.15 บาท/ดอลลาร์

  • ปัจจัยสำคัญ
  • เงินเยนอยู่ที่ระดับ 110.14 เยน/ดอลลาร์ จากตอนเช้าที่อยู่ที่ระดับ 110.37 เยน/ดอลลาร์
  • ส่วนเงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.1796 ดอลลาร์/ยูโร จากตอนเช้าที่อยู่ที่ระดับ 1.176 ดอลลาร์/ยูโร
  • ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ระดับ 1,727.29 จุด เพิ่มขึ้น 4.18 จุด, +0.24% มูลค่าการซื้อขาย 50,814.49 ล้านบาท
  • สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติขายสุทธิ 1,467.71 ลบ.(SET+MAI)
  • ธนาคารทหารไทย (TMB) ออก"พันธบัตรสีเขียว" (green bond) อายุ 7 ปี มูลค่า 60 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือ
ประมาณ 1,850 ล้านบาท โดยไอเอฟซี ซึ่งเป็นสมาชิกของกลุ่มธนาคารโลกเป็นผู้ลงทุนทั้งหมด เพื่อนำเงินไปสนับสนุนการลงทุนของ
ภาคเอกชนในโครงการที่เท่าทันต่อสภาพภูมิอากาศ (climate-smart project) และส่งเสริมการพัฒนาที่ยั่งยืนต่อไป
  • ธนาคารทหารไทย เปิดเผยว่า แนวโน้มการขยายตัวของสินเชื่อรวมของธนาคารในปี 61 คาดว่าจะเติบโตราว 8%
หรืออยู่ที่กรอบล่างของเป้าหมายที่ธนาคารตั้งเป้าเติบโต 8-10% หลังกลุ่มสินเชื่อเอสเอ็มอี ซึ่งเป็นเป้าหมายจะต้องการให้เติบโตมาก
ที่สุดนั้น ยังไม่ฟื้นตัวกลับมาดีเท่าที่ควร แม้ว่าภาวะเศรษฐกิจโดยรวมจะเริ่มฟื้นตัวขึ้นมากแล้ว
  • ศูนย์วิจัยกสิกรไทย เปิดเผยดัชนีภาวะเศรษฐกิจของครัวเรือนเดือน พ.ค.61 พบว่า ดัชนีภาวะเศรษฐกิจและการ
ครองชีพของครัวเรือนในปัจจุบัน (KR-ECI) ปรับตัวลดลงมาอยู่ที่ระดับ 44.9 จากปัจจัยทางด้านสถานการณ์ราคาสินค้าและบริการ
ภายในประเทศเป็นสำคัญ โดยเฉพาะราคาพลังงาน แต่รายได้และการมีงานทำของครัวเรือนค่อยๆ ปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่อง ส่วนหนึ่งได้
อานิสงส์จากการฟื้นตัวที่ต่อเนื่องของเศรษฐกิจไทย

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า มุมมองของครัวเรือนต่อภาวะเศรษฐกิจและการครองชีพจะทยอยปรับตัวดีขึ้นในช่วง 1-2 เดือนข้างหน้า ส่วนหนึ่งเนื่องมาจากราคาพลังงานในประเทศทยอยปรับตัวลดลงตั้งแต่ช่วงปลายเดือนพ.ค.61 ที่ผ่านมา ตามทิศทาง ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกที่ชะลอตัว อีกทั้งรัฐบาลออกมาตรการช่วยเหลือดูแลภาระค่าครองชีพของครัวเรือนอย่างทันท่วงที ประกอบ กับตลาดแรงงานมีสัญญาณที่ดีขึ้นต่อเนื่อง ซึ่งก็น่าจะช่วยหนุนมุมมองของครัวเรือนไปในทิศทางที่ดีขึ้น

  • ศูนย์วิจัยทองคำ เปิดเผยว่า ในเดือนมิ.ย. 61 ดัชนีความเชื่อมั่นราคาทองคำ ปรับลดลงเล็กน้อยจากเมื่อเดือน พ.
ค. ที่ผ่านมา จากระดับ 54.90 จุด มาอยู่ที่ระดับ 52.00 จุด ลดลง 2.90 จุด หรือคิดเป็น 5.29% ซึ่งดัชนีที่ปรับลดลง นั้น น่าจะมี
ปัจจัยหลักมาจากนโยบายทางการเงินของธนาคารกลางสหรัฐ (FED) ในการประชุมนโยบายดอกเบี้ยกลางเดือนมิ.ย.นี้ ซึ่งคาดการณ์
ว่ามีแนวโน้มขึ้นอัตราดอกเบี้ย โดยมีปัจจัยสนับสนุน เช่น อัตราเงินเฟ้อ อัตรการว่างงาน เป็นต้น
  • สภาธุรกิจตลาดทุนไทย (FETCO) เปิดเผยว่า ดัชนีความเชื่อมั่นนักลงทุน (FETCO Investor Confidence
Index: ICI) ในอีก 3 เดือนข้างหน้า (ส.ค.61) ปรับตัวลดลง 1.07% มาอยู่ที่ 91.66 ถือว่าเป็นภาวะทรงตัว (Neutral)
ที่มีค่าดัชนีระหว่าง 80-120 และนับว่าอยู่ในภาวะทรงตัวเป็นที่สอง จากระดับ 92.65 ในเดือนก่อน
  • นางคริสติน ลาการ์ด ผู้อำนวยการกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ได้ออกมาจุดยืนไม่เห็นด้วยกับนโยบายกีด
กันทางการค้าของสหรัฐ พร้อมกับเตือนว่า เศรษฐกิจโลกกำลังมืดมนมากยิ่งขึ้น
  • ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) เปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) เดือนเม.ย. ปรับตัวขึ้น 2.7 % เมื่อเทียบเป็นราย
ปี ซึ่งเป็นการขยายตัวรวดเร็วสุดนับตั้งแต่เดือนม.ค.ปีนี้ และทำสถิติขยายตัวติดต่อกันเป็นเดือนที่ 17 โดยได้รับปัจจัยหนุนจากราคา
พลังงานที่เพิ่มขึ้น
  • ธนาคารกลางจีนเปิดเผยว่า ยอดการปล่อยสินเชื่อใหม่สกุลเงินหยวนในเดือนพ.ค. อยู่ที่ระดับ 1.15 ล้านล้านหยวน
(ประมาณ 1.797 แสนล้านหยวน) ซึ่งลดลงจากระดับ 1.18 ล้านล้านหยวนในเดือนเม.ย.
  • ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ แห่งสหรัฐ เปิดเผยในระหว่างการแถลงข่าวที่สิงคโปร์ ภายหลังการประชุมสุดยอดกับ

นายคิม จอง อึน ผู้นำเกาหลีเหนือสิ้นสุดลงว่า สหรัฐจะยุติเกมแห่งสงครามเหนือคาบสมุทรเกาหลี พร้อมกับแสดงความหวังที่จะยุติ

ภาวะสงครามเกาหลีได้โดยเร็ว


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ