นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดวันนี้ที่ระดับ 32.43 บาท/ดอลลาร์ จากตอนเช้า ที่เปิดตลาดที่ระดับ 32.30 บาท/ดอลลาร์
"เงินบาทยังคงอ่อนค่าต่อเนื่องรับข่าวผลประชุมธนาคารกลางยุโรป (ECB) ขณะที่ยังมีแรงซื้อดอลลาร์เข้ามาหลังที่ ประชุมธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ส่งสัญญาณว่าจะขึ้นดอกเบี้ยอีก 2 ครั้งภายในปีนี้"
ทั้งนี้ ระหว่างวันค่าเงินบาทได้ขึ้นไปทดสอบ High ที่ระดับ 32.46 บาท/ดอลลาร์ ถือเป็นระดับอ่อนค่าสุดในรอบกว่า 5 เดือนนับจากวันที่ 2 ม.ค.61 ซึ่งวันเปิดทำการแรกของปี 61
นักบริหารเงิน ประเมินกรอบต้นสัปดาห์หน้าไว้ระหว่าง 32.30-32.50 บาท/ดอลลาร์
- ปัจจัยสำคัญ
- เงินเยนอยู่ที่ระดับ 110.56 เยน/ดอลลาร์ จากตอนเช้าที่อยู่ที่ระดับ 110.55 เยน/ดอลลาร์
- เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.1595 ดอลลาร์/ยโร จากตอนเช้าที่อยู่ที่ระดับ 1.1564 ดอลลาร์/ยูโร
- ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ระดับ 1,704.82 จุด ลดลง 5.04 จุด, -0.29% มูลค่าการซื้อขาย 68,841.20 ล้านบาท
- สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติขายสุทธิ 7,460.12 ลบ.(SET+MAI)
- กรมพัฒนาธุรกิจการค้า แถลงข่าวการจดทะเบียนธุรกิจในเดือนพฤษภาคม 2561 พบว่า มีผู้ประกอบธุรกิจยื่นขอจด
- ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB EIC) ระบุว่า ตามที่ธนาคารกลางยุโรป (ECB) ประกาศ
อย่างไรก็ดี ในระยะต่อไป อีไอซีประเมินว่าภาวะเศรษฐกิจและอัตราเงินเฟ้อของกลุ่มยูโรโซนจะสามารถขยายตัวได้ ตามที่ ECB คาด ทำให้ ECB สามารถยุติการเข้าซื้อพันธบัตรและสื่อสารถึงการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายได้ชัดเจนขึ้น ขณะที่ Fed จะชะลอการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยลง เพราะเริ่มเข้าใกล้ดอกเบี้ยนโยบายระยะยาว (neutral rate) จึงทำให้ส่วนต่างอัตรา ดอกเบี้ยคาดการณ์ (forward) จะกลับมาแคบลง ค่าเงินยูโรจึงมีแนวโน้มแข็งค่าขึ้นจากในระดับปัจจุบันที่ 1.16 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อ ยูโร สู่ระดับ 1.20 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อยูโร ในช่วงสิ้นปี 2561
- ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) มีมติคงนโยบายผ่อนคลายการเงินเชิงรุก ในการประชุมระยะเวลา 2 วันซึ่งเสร็จสิ้นใน
- ธนาคารกลางฝรั่งเศสปรับลดคาดการณ์ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ประจำปี 2561 หลังจากที่เศรษฐกิจ
- ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ แห่งสหรัฐ ได้อนุมัติมาตรการเรียกเก็บภาษีนำเข้าสินค้าจากจีน วงเงิน 5 หมื่นล้าน
- ผู้อำนวยการกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ได้แถลงเตือนในวันนี้ว่า นโยบายเรียกเก็บภาษีนำเข้าของ
นโยบายภาษีของสหรัฐจะทำลายเศรษฐกิจในวงกว้าง เนื่องจากนโยบายดังกล่าวได้กระตุ้นให้ประเทศคู่ค้ายักษ์ใหญ่อย่าง แคนาดาและเยอรมันออกมาตรการโต้กลับสหรัฐ
นอกจากนี้ IMF ยังมีมุมมองที่ว่า เศรษฐกิจสหรัฐในช่วงการนำของรัฐบาลปธน.ทรัมป์อาจขยายตัวไม่ได้ดีเท่าที่ควร
- คณะกรรมการนโยบายการเงินของไทยจะมีการประชุมในวันพุธที่ 20 มิถุนายน 2561 ซึ่งคาดว่าจะคงอัตราดอกเบี้ย