ภาวะตลาดเงินบาท: ปิด 33.14 แนวโน้มยังอ่อนค่าจากเงินทุนไหลออก คาดกรอบพรุ่งนี้ 33.10-33.25

ข่าวเศรษฐกิจ Monday July 2, 2018 17:23 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงเทพ เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดเย็นนี้อยู่ที่ระดับ 33.14 บาท/ดอลลาร์ อ่อนค่าจาก เปิดตลาดช่วงเช้าที่ระดับ 33.05 บาท/ดอลลาร์

เงินบาทยังคงอ่อนค่าอย่างต่อเนื่องจากปัจจัยเดิมที่ยังมีความกังวลต่อสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีน รวมทั้ง ปัจจัยที่ยังมีเงินทุนไหลออกจากตลาดเกิดใหม่ในเอเชียจากสถานการณ์ที่นักลงทุนเชื่อว่าธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะปรับขึ้นอัตรา ดอกเบี้ยนโยบายรวม 4 ครั้งภายในปีนี้

"แนวโน้มบาทก็ยังอ่อนค่าต่อ เพราะยังมีเงินทุนไหลออกจากตลาดเกิดใหม่ในเอเชีย รวมทั้งปัญหาสงครามการค้าที่ยัง เป็นปัจจัยกดดันตลาดต่อไป" นักบริหารเงิน ระบุ

นักบริหารเงิน คาดว่า พรุ่งนี้เงินบาทจะเคลื่อนไหวอยู่ที่ระดับ 33.10-33.25 บาท/ดอลลาร์

  • ปัจจัยสำคัญ
  • เย็นนี้เงินเยนอยู่ที่ระดับ 110.82 เยน/ดอลลาร์ จากช่วงเช้าที่ระดับ 110.97 เยน/ดอลลาร์
  • ส่วนเงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.1638 ดอลลาร์/ยูโร จากช่วงเช้าที่ระดับ 1.1658 ดอลลาร์/ยูโร
  • ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ระดับ 1,607.27 จุด เพิ่มขึ้น 11.69 จุด (+0.73%) มูลค่าการซื้อขาย 48,303 ล้านบาท
  • สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติขายสุทธิ 1,837.79 ลบ.(SET+MAI)
  • กระทรวงพาณิชย์ รายงานอัตราเงินเฟ้อทั่วไป (CPI) ในเดือนมิ.ย.61 เพิ่มขึ้น 1.38% ขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือน
ที่ 12 โดยปัจจัยหลักมาจากการเพิ่มขึ้นของหมวดพลังงานเป็นหลัก โดยเฉพาะราคาน้ำมันเชื้อเพลิง ส่งผลให้ช่วงครึ่งปีแรกนี้ อัตรา
เงินเฟ้อเฉลี่ยอยู่ที่ 0.97% ทั้งนี้ กระทรวงพาณิชย์ได้ปรับกรอบเงินเฟ้อให้แคบลงมาอยู่ที่ 0.8-1.6% จากเดิม 0.7-1.7% ซึ่งคาดว่า
เงินเฟ้อในปีนี้จะเพิ่มขึ้น 1.2% ซึ่งอยู่ในกรอบนโยบายการเงินระยะปานกลางที่รัฐบาลกำหนดไว้ที่ 1-4%
  • กระทรวงการคลัง รายงานหนี้สาธารณะคงค้าง ณ วันที่ 31 พ.ค.61 มีจำนวน 6,497,688.57 ล้านบาท คิดเป็น
40.78% ของผลผลิตมวลรวมในประเทศ (GDP) แบ่งเป็น หนี้รัฐบาล 5,202,092.04 ล้านบาท, หนี้รัฐวิสาหกิจ 907,969.04
ล้านบาท, หนี้รัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงิน (รัฐบาลค้ำประกัน) 378,871.31 ล้านบาท และหนี้หน่วยงานของรัฐ 8,756.18
ล้านบาท ทั้งนี้ เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อนหน้าหนี้สาธารณะคงค้างเพิ่มขึ้นสุทธิ 10,977.09 ล้านบาท
  • ธนาคารกรุงศรีอยุธยา (BAY) เผยมุมมองต่อทิศทางค่าเงินบาทในสัปดาห์นี้ว่า มีแนวโน้มเคลื่อนไหวในกรอบ
32.85-33.25 บาท/ดอลลาร์ เทียบกับระดับปิดอ่อนค่าที่ 33.13 บาท/ดอลลาร์เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว โดยสัปดาห์นี้ ปัจจัยภายในประเทศ
ที่นักลงทุนติดตาม คือ ตัวเลขเงินเฟ้อเดือนมิ.ย.61 และท่าทีของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) หลังเงินบาทอ่อนค่าอย่างรวด
เร็วในช่วงท้ายไตรมาสที่ 2 ขณะที่ธนาคารกลางอินโดนีเซียได้สร้างความประหลาดใจให้กับตลาดด้วยการปรับขึ้นดอกเบี้ย 0.50% สู่
ระดับ 5.25% เป็นการปรับขึ้นรวม 1% ในช่วงเวลาเพียง 6 สัปดาห์ เพื่อชะลอการอ่อนค่าของเงินรูเปียห์
  • ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB EIC) วิเคราะห์สถานการณ์หนี้ครัวเรือนในช่วงครึ่งหลังของ
ปี 61 โดยคาดว่าจะคลี่คลายในทางที่ดีขึ้น EIC คาดว่าในปีนี้รายได้ของครัวเรือน โดยเฉพาะครัวเรือนที่มีรายได้น้อยจะมีแนวโน้มที่ดี
ขึ้น โดยรายได้ภาคเกษตรขยายตัวที่ 10.3% ในเดือนพ.ค.61 และมีแนวโน้มที่จะขยายตัวต่อเนื่องจากสภาพอากาศที่เอื้ออำนวย และ
ราคาผลผลิตที่ดีกว่าปีก่อนหน้า ประกอบกับค่าจ้างแรงงานนอกภาคเกษตรที่ขยายตัวเฉลี่ย 4.2% ในเดือนเม.ย.61 นอกจากนี้ จำนวน
การจ้างงานที่เพิ่มขึ้นติดต่อกัน 2 เดือนหลังจากที่หดตัวมาเป็นช่วงเวลาหนึ่ง นับเป็นสัญญาณที่ดีต่อการบรรเทาปัญหาการแบกรับภาระหนี้
ครัวเรือนในปี 61
  • นักลงทุนในตลาดการเงินต่างจับตารัฐบาลจีนและสหรัฐฯ ซึ่งเตรียมบังคับใช้มาตรการเก็บภาษีนำเข้าสินค้าในวันศุกร์
ที่ 6 ก.ค.นี้ หลังจากสำนักงานตัวแทนการค้าสหรัฐ (USTR) ได้ประกาศรายการสินค้าจำนวน 1,100 รายการของจีนที่จะถูกเรียก
เก็บภาษีนำเข้าในอัตรา 25% คิดเป็นมูลค่ารวม 5 หมื่นล้านดอลลาร์ ทั้งนี้ USTR ระบุว่า สินค้าล็อตแรกจำนวน 818 รายการ
มูลค่า 3.4 หมื่นล้านดอลลาร์ จะถูกเรียกเก็บภาษีตั้งแต่วันที่ 6 ก.ค.เป็นต้นไป ขณะที่สินค้าล็อตที่ 2 กำลังอยู่ระหว่างการพิจารณา
  • ในสัปดาห์นี้สหรัฐจะมีการเปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจที่สำคัญ เช่น คณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงิน ธนาคารกลาง
สหรัฐ (FOMC) เปิดเผยรายงานการประชุมวันที่ 12-13 มิ.ย, ตัวเลขดุลการค้าเดือนพ.ค., ตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตร
เดือนมิ.ย., จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ เป็นต้น

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ