นายนพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการ สำนักวิจัยซูเปอร์โพล (SUPER POLL) เรื่อง เสียงของเกษตรกรเรื่องตลาดการเกษตร กับ มุมมองต่อการเมืองไทย กรณีศึกษาตัวอย่างเกษตรกร จำนวน 1,096 ตัวอย่าง โดยดำเนินโครงการระหว่าง วันที่ 1 - 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 ที่ผ่านมา พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 58.03 ระบุ เกษตรกรต่างคนต่างทำการเกษตรโดยอิสระไม่มีการวางแผนร่วมกันผลิตร่วมกันทำการเกษตร ในขณะที่ร้อยละ 41.97 ระบุมีการวางแผนการทำการเกษตร ผลิตร่วมกัน และเมื่อถามถึงเจ้าหน้าที่รัฐลงพื้นที่ช่วยวางแผนการเงิน ช่วยให้ใช้จ่ายเงินตามวัตถุประสงค์หรือไม่ พบว่า เกินขึ้นหรือร้อยละ 53.21 ระบุไม่มีใครมาช่วย และร้อยละ 10.80 ระบุมีมา แต่ไม่ได้ช่วยอะไรมาก
ในขณะที่ร้อยละ 35.99 ระบุ มีเจ้าหน้าที่รัฐลงพื้นที่ช่วยวางแผนการเงินช่วยให้ใช้จ่ายเงินตามวัตถุประสงค์ได้ดี และเมื่อถามถึง ธนาคารรัฐ ลงพื้นที่ช่วยเหลือแหล่งทุนการเกษตรหรือไม่ พบว่า ร้อยละ 42.42 ระบุ มีธนาคารรัฐลงพื้นที่ช่วยเหลือแหล่งทุนการเกษตรได้ดี ในขณะที่ร้อยละ 14.65 ระบุมีมา แต่ ไม่ได้ช่วยอะไรมาก และร้อยละ 42.93 ระบุไม่มีใครมาเลย
ที่น่าเป็นห่วงคือ เมื่อถามถึงแหล่งตลาดการเกษตรเพิ่มขึ้นหรือไม่ หลังเกษตรกรรวมตัวกันเป็นวิสาหกิจชุมชน พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 57.73 ระบุไม่เพิ่มขึ้น ในขณะที่ร้อยละ 42.27 ระบุเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ ร้อยละ 43.56 ระบุประโยชน์ที่ได้รับจากการทำงานของเจ้าหน้าที่รัฐระดับพื้นที่เพิ่มขึ้น แต่เกินครึ่งหรือร้อยละ 51.07 ระบุเหมือนเดิม และร้อยละ 5.37 ระบุลดลง
ที่น่าพิจารณาคือ ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 81.47 ระบุ มุมมองต่อการเมืองไทยว่า การเมืองเป็นต้นตอของความขัดแย้งวุ่นวายเสียเอง ในขณะที่ เพียงร้อยละ 18.53 ระบุการเมืองช่วยลดความขัดแย้ง โดยส่วนใหญ่หรือร้อยละ 55.93 ระบุ ความเชื่อมั่นว่า หลังการเลือกตั้ง เงินในกระเป๋าจะเพิ่มขึ้น แต่ร้อยละ 42.38 ระบุจะเหมือนเดิม และร้อยละ 1.69 ระบุจะลดลง อย่างไรก็ตาม น่าเป็นห่วงคือ ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 58.11 ระบุยังไม่มีหลักประกันความยั่งยืนของรายได้จากการเกษตร ในขณะที่ร้อยละ 41.89 ระบุ มีหลักประกันความยั่งยืนของรายได้แล้ว