นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทเปิดตลาดเช้านี้อยู่ที่ 33.33 บาท/ดอลลาร์ อ่อนค่าจาก ปิดตลาดเย็นวานนี้ที่ระดับ 33.31 บาท/ดอลลาร์ เคลื่อนไหวตามทิศทางค่าเงินในตลาดโลก หลังดอลลาร์แข็งค่าเนื่องจากตลาดกังวล เรื่องสงครามการค้า และตัวเลขดัชนีราคาผู้ผลิตของสหรัฐที่ประกาศออกมาเมื่อคืนนี้ดีกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้
"บาทอ่อนค่าตามทิศทางตลาดโลกและค่าเงินหยวน หลังมีปัจจัยหนุนให้ดอลลาร์แข็งค่าเมื่อเทียบกับทุกสกุลเงินหลัก" นัก
บริหารเงิน กล่าว
นักบริหารเงินประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทวันนี้ไว้ที่ 33.30-33.40 บาท/ดอลลาร์
THAI BAHT FIX 3M (11 ก.ค.) อยู่ที่ระดับ 1.41652% ส่วน THAI BAHT FIX 6M อยู่ที่ระดับ 1.40582%
SPOT ล่าสุดอยู่ที่ระดับ 33.2950 บาท/ดอลลาร์
- เงินเยนอยู่ที่ 112.10 เยน/ดอลลาร์ จากเย็นวานนี้ที่ระดับ 111.19 เยน/ดอลลาร์
- เงินยูโรอยู่ที่ 1.1676 ดอลลาร์/ยูโร จากเย็นวานนี้ที่ระดับ 1.1703 ดอลลาร์/ยูโร
- อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท/ดอลลาร์ ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักระหว่างธนาคารของธปท.อยู่ที่ระดับ 33.2610 บาท/
ดอลลาร์
- ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวถึงแนวทางการสร้างการฟื้นตัวต่อเนื่องของเศรษฐกิจไทยในปีนี้ว่า
ทิศทางเศรษฐกิจไทยในปีนี้ จะเห็นแนวโน้มการฟื้นตัวที่ชัดเจนมากขึ้นต่อเนื่อง ทำให้คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ปรับ
ประมาณการการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยล่าสุดเป็น 4.4% สอดคล้องกับสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่ง
ชาติ (สศช.) แถลงตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) ไตรมาสแรกปีนี้ สูงถึง 4.8% โดยเห็นกิจกรรมทางเศรษฐกิจมีแนว
โน้มฟื้นตัวดีขึ้นตามลำดับ
- สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย เปิดเผยถึงกรณีที่ประธานาธิบดีสหรัฐประกาศเรียกเก็บภาษีจากจีนเพิ่มอีก 200,000
ล้านดอลลาร์ ว่า สงครามการค้าที่เกิดขึ้น จะไม่ส่งผลต่อตลาดพันธบัตรไทย ทั้งระยะสั้นและระยะยาว เพราะเชื่อว่านักลงทุนต่างชาติ
จะกลับมาลงทุน เนื่องจากผลตอบแทนพันธบัตรไทยยังสูงกว่าสหรัฐ เมื่อพิจารณาดอกเบี้ยผลตอบแทนพันธบัตรไทยอายุ 10 ปีที่ 2.79%
ลบเงินเฟ้อที่ 1% ส่งผลอัตราดอกเบี้ยผลตอบแทนที่แท้จริงอยู่ที่ 1.7-1.8% สูงกว่าสหรัฐที่มีอัตราต่ำกว่า 1%
- โหวตเลือก 7 กกต.วันนี้ "สุรชัย" มั่นใจ สนช. ไม่ล้มกระดาน ระบุเลือกผ่านแค่ 5 คน ก็ทำหน้าที่ได้แล้ว ยัน สน
ช.ต้องตรวจคุณสมบัติเข้ม
- สถาบันการเงินระหว่างประเทศ (IIF) ระบุว่า ตัวเลขหนี้ทั่วโลกพุ่งแตะระดับ 247 ล้านล้านดอลลาร์ในช่วงไตร
มาสแรกของปีนี้ ซึ่งเป็นระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ ตัวเลขหนี้ที่พุ่งขึ้นดังกล่าวเป็นหนึ่งในปัจจัยที่สร้างความวิตกต่อนักลงทุน นอกเหนือ
จากการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐและการทำสงครามการค้าระหว่างสหรัฐและประเทศคู่ค้า
- ธนาคารกลางเกาหลีใต้มีมติคงอัตราดอกเบี้ย 1.5% ในการประชุมวันนี้ ซึ่งสอดคล้องกับที่ตลาดคาดการณ์ไว้ หลังจาก
มีสัญญาณบ่งชี้ถึงการชะลอตัวของเศรษฐกิจ และแรงกดดันด้านเงินเฟ้อที่ยังคงอยู่ในระดับต่ำ
- กระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยเมื่อคืนนี้ว่า ดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) ดีดตัวขึ้น 0.3% ในเดือนมิ.ย.เมื่อเทียบราย
เดือน ซึ่งสูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดว่าจะเพิ่มขึ้น 0.2% และหากเทียบเป็นรายปี ดัชนี PPI พุ่งขึ้น 3.4% ซึ่งเป็นการปรับตัวขึ้นมากที่
สุดนับตั้งแต่เดือนพ.ย.2554 และมากกว่าที่นักวิเคราะห์คาดว่าจะเพิ่มขึ้น 3.2% โดยการปรับตัวขึ้นของดัชนี PPI ได้รับแรงหนุนจาก
การพุ่งขึ้นของราคาน้ำมัน และค่าใช้จ่ายในภาคบริการ
- ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กเมื่อคืนนี้ (11 ก.
ค.) หลังจากทางการสหรัฐเปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) ซึ่งเป็นหนึ่งในข้อมูลที่บ่งชี้ภาวะเงินเฟ้อนั้น พุ่งขึ้นเกินคาดในเดือนมิ.
ย. ซึ่งส่งผลให้นักลงทุนเชื่อว่าธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะเดินหน้าปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยตามแผนในปีนี้ ขณะเดียวกันนักลงทุนจับตา
การทำสงครามการค้าระหว่างสหรัฐและจีน หลังจากรัฐบาลสหรัฐประกาศเรียกเก็บภาษีนำเข้าสินค้าจากจีนเพิ่มอีก 2 แสนล้าน
ดอลลาร์
- สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดร่วงลงเมื่อคืนนี้ (11 ก.ค.) เนื่องจากการแข็งค่าของสกุลเงินดอลลาร์ได้สร้างแรงกด
ดันต่อตลาด ขณะเดียวกันนักลงทุนระมัดระวังการซื้อขายในช่วงเวลาที่การทำสงครามการค้าระหว่างสหรัฐและจีนทวีความรุนแรงมาก
ขึ้น หลังจากรัฐบาลสหรัฐประกาศเรียกเก็บภาษีนำเข้าสินค้าจากจีนเพิ่มอีก 2 แสนล้านดอลลาร์เมื่อวานนี้
- นักลงทุนวิตกกังวลเกี่ยวกับการทำสงครามการค้าที่ทวีความรุนแรงมากขึ้นระหว่างสหรัฐและจีน หลังจากรัฐบาลสหรัฐ
ประกาศเรียกเก็บภาษีนำเข้าสินค้าจากจีนเพิ่มอีก 2 แสนล้านดอลลาร์ ในอัตรา 10% โดยคาดว่าจะมีผลบังคับใช้ในเดือนก.ย. ทาง
ด้านรัฐบาลจีนได้ออกมาประท้วงการกระทำดังกล่าวของสหรัฐ และเตือนว่าจะใช้มาตรการตอบโต้เช่นกัน
- นักลงทุนจับตาข้อมูลเศรษฐกิจของสหรัฐที่มีกำหนดเปิดเผยในสัปดาห์นี้ ได้แก่ ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) เดือนมิ.
ย., จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์, ราคานำเข้าและส่งออกเดือนมิ.ย. และดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนก.ค.จาก
มหาวิทยาลัยมิชิแกน
--อินโฟเควสท์ โดย ธนวัฏ เสือแย้ม โทร.02-2535000 ต่อ 325 อีเมล์: tanawat@infoquest.co.th--