กบง.ลดเงินชดเชยกองทุนน้ำมันฯสำหรับดีเซล หลังค่าการตลาดของผู้ค้าฯสูง ,เล็งชงกพช.เก็บเงินเข้ากองทุนฯหากส่งออก LPG

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday July 19, 2018 17:50 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นายทวารัฐ สูตะบุตร ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) แถลงผลการประชุมคณะกรรมการ บริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) เมื่อวันที่ 18 ก.ค. 61 ว่า ที่ประชุมกบง. ได้เห็นชอบปรับลดอัตราเงินชดเชยกองทุนน้ำมันเชื้อ เพลิง สำหรับน้ำมันดีเซลหมุนเร็วจาก 0.50 บาทต่อลิตร เป็น 0.13 บาทต่อลิตร และเห็นควรปรับลดอัตราเงินชดเชยกองทุน น้ำมันฯ สำหรับน้ำมันดีเซลหมุนเร็วบี20 จาก 3.51 บาทต่อลิตร เป็น 3.10 บาทต่อลิตร เพื่อเป็นการลดภาระชดเชยของกองทุน น้ำมันฯ และให้ค่าการตลาดของผู้ค้าน้ำมันอยู่ในระดับที่เหมาะสม

เนื่องจากสถานการณ์ราคาน้ำมันตลาดโลกมีแนวโน้มผันผวนและลดลง โดยราคาน้ำมันตลาดโลก ปิดตลาด ณ วันที่ 17 ก.ค. 2561 น้ำมันดิบดูไบ อยู่ที่ 70.43 เหรียญสหรัฐฯ/บาร์เรล น้ำมันเบนซิน 95 อยู่ที่ 79.64 เหรียญสหรัฐฯ/บาร์เรล และน้ำมัน ดีเซลอยู่ที่ 83.23 เหรียญสหรัฐฯ/บาร์เรล ซึ่งแม้ว่าผู้ค้าน้ำมันเชื้อเพลิงในประเทศจะได้ปรับลดราคาขายปลีกลงแล้ว แต่ยังไม่ทันกับ สถานการณ์ราคาตลาดโลกที่ลดลง ส่งผลให้ค่าการตลาดของผู้ค้าน้ำมันอยู่ในระดับสูง 1.90-2.00 บาท/ลิตร

          ชนิดน้ำมัน (หน่วย: บาทต่อลิตร)           เดิม          ใหม่          เปลี่ยนแปลง(+/-)
          น้ำมันเบนซิน                          6.68         6.68             -
          น้ำมันแก๊สโซฮอล 95                    0.72         0.72
          น้ำมันแก๊สโซฮอล 91                    0.72         0.72
          น้ำมันแก๊สโซฮอล E20                  -2.63        -2.63             -
          น้ำมันแก๊สโซฮอล E85                  -8.98        -8.98             -
          น้ำมันดีเซล                          -0.50        -0.13           +0.37
          น้ำมันดีเซล บี 20                     -3.51        -3.10           +0.41

สำหรับสถานภาพเงินกองทุนน้ำมันฯ ณ วันที่ 15 ก.ค. 2561 มีฐานะเป็นบวกสุทธิ 29,673 ล้านบาท ผลจากการปรับ ลดอัตราเงินชดเชยกองทุนน้ำมันฯ สำหรับน้ำมันดีเซลฯ นี้จะทำให้กองทุนน้ำมันฯ มีสภาพคล่องเพิ่มขึ้นประมาณ 724 ล้านบาท/เดือน (หรือ 24 ล้านบาท/วัน) จากเดิมมีรายจ่าย -1,040 ล้านบาท/เดือน (หรือ-35 ล้านบาท/วัน) เป็นมีรายจ่าย -315 ล้านบาท/ เดือน (หรือ -11 ล้านบาท/วัน)

นอกจากนี้ที่ประชุมกบง. ได้พิจารณาให้มีการเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ในกรณีที่จะมีการส่งออกก๊าซ ปิโตรเลียมเหลว(LPG) ด้วย โดยจะมีการเสนอในการประชุมคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ในวันที่ 3 ส.ค. พิจารณาต่อไป สืบเนื่องจากมติกบง. เมื่อวันที่ 5 ก.ค. 61 ได้วางกรอบกำหนดให้บัญชี LPG ของกองทุนน้ำมันฯ สามารถติดลบได้ไม่ เกิน 3,000 ล้านบาท และขอความร่วมมือบมจ.ปตท. (PTT) งดส่งออก LPG ที่ผลิตจากโรงแยกก๊าซฯ ยกเว้นมีความจำเป็นทาง เทคนิค เช่น การ Shut-Down และการบำรุงรักษาของหน่วยรับก๊าซ LPG เป็นต้น

นอกจากนี้ กบง. ได้เห็นชอบปรับหลักเกณฑ์ราคานำเข้า และราคาก๊าซ LPG ณ โรงกลั่น จากเดิมที่เปลี่ยนแปลงเป็น รายสัปดาห์เป็นเปลี่ยนแปลงทุก 2 สัปดาห์แทน โดยใช้ค่าเฉลี่ยย้อนหลัง 2 สัปดาห์ก่อนหน้าในการคำนวณค่าที่จะใช้ใน 2 สัปดาห์ต่อ ไป ทั้งนี้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 31 ก.ค.นี้เป็นต้นไป

โดยที่ประชุมกบง. รับทราบสถิติ 5 เดือนแรกปี 61 (ม.ค.-พ.ค.) พบว่า ปริมาณการนำเข้า LPG เฉลี่ย 42,120 ตัน/เดือน ขณะที่ปริมาณการส่งออก LPG เฉลี่ยอยู่ที่ 22,876 ตัน/เดือน ขณะที่ความต้องการใช้ในประเทศจะสูงกว่าการผลิตใน ประเทศอยู่ประมาณ 20,000 ตัน/เดือน ชี้ให้เห็นว่า การนำเข้ามีปริมาณมากเกินความต้องการ จึงไม่น่าจะเกิดปัญหาการขาดแคลน ขึ้น

ทั้งนี้ที่ประชุมเห็นว่าควรเพิ่มระดับการแข่งขันของตลาดในประเทศโดยให้โรงแยกก๊าซฯ และโรงกลั่นลดการส่งออกและ ให้มุ่งเน้นการแข่งขันจำหน่าย LPG ให้ตลาดภายในประเทศเพิ่มขึ้น

นายทวารัฐ กล่าวด้วยว่า สำหรับการพิจารณาแนวทางรับซื้อไฟฟ้าจากกลุ่มผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนรายเล็ก (SPP) ที่จะหมด อายุในปี 60-68 นั้น ยังไม่มีการพิจารณาในที่ประชุม กบง.ในครั้งนี้ และยังไม่สามารถตอบได้ว่าจะสามารถนำเข้าสู่การพิจารณาขอ งกพช. ในวันที่ 3 ส.ค.นี้หรือไม่


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ