นายวิณะโรจน์ ทรัพย์ส่งสุข เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผย ถึงภาวะเศรษฐกิจการเกษตรในไตรมาส 2 ปี 2561 (เม.ย.-มิ.ย.) ขยายตัวร้อยละ 6.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของ ปี 2560 สำหรับปัจจัยหนุนที่ทำให้ภาวะเศรษฐกิจการเกษตรในไตรมาส 2 ปี 2561 ขยายตัวได้ดีเช่นเดียวกับไตรมาสแรกของปีนี้ ยังคง เป็นปัจจัยทางด้านสภาพอากาศที่เอื้ออำนวยต่อการผลิตทางการเกษตร มีการพัฒนาแหล่งน้ำและระบบการกระจายน้ำอย่างมี ประสิทธิภาพ ประกอบกับการดำเนินนโยบายที่สำคัญ อาทิ การตลาดนำการผลิต การส่งเสริมเกษตรแบบแปลงใหญ่ การพัฒนาคุณภาพ สินค้าเกษตรสู่มาตรฐาน ทำให้การผลิตสินค้าเกษตรมีประสิทธิภาพและมีมาตรฐานที่ดีขึ้น ส่งผลให้ผลผลิตพืชเศรษฐกิจเพิ่มขึ้น โดยราย ละเอียดในแต่ละสาขา พบว่า
สาขาพืช ไตรมาส 2 ปี 2561 ขยายตัวร้อยละ 8.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2560 โดยผลผลิตพืชสำคัญที่เพิ่ม ขึ้น ได้แก่ ข้าวนาปี ข้าวนาปรัง ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ อ้อยโรงงาน สับปะรดโรงงาน ยางพารา ปาล์มน้ำมัน ลำไย และเงาะ ซึ่ง ข้าวนาปี มีผลผลิตเพิ่มขึ้น เนื่องจากปริมาณน้ำเพียงพอต่อการเพาะปลูก ทำให้เกษตรกรในพื้นที่ภาคเหนือตอนล่างและภาคกลาง สามารถปลูกข้าวนาปีรอบสองได้ ข้าวนาปรัง ผลผลิตเพิ่มเนื่องจากปริมาณน้ำฝนมากกว่าปีที่ผ่านมา ทำให้ปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำและ แหล่งน้ำธรรมชาติอยู่ในเกณฑ์ดี ประกอบกับราคาข้าวเพิ่มขึ้น ส่งผลให้เกษตรกรขยายเนื้อที่เพาะปลูกในพื้นที่นาที่เคยปล่อยว่าง
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ มีผลผลิตเพิ่มขึ้น เนื่องจากราคาในช่วงต้นปีอยู่ในเกณฑ์ดีและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น จูงใจให้เกษตรกร ขยายพื้นที่เพาะปลูก อ้อยโรงงาน มีผลผลิตเพิ่มขึ้น จากนโยบายภาครัฐที่สนับสนุนให้เกษตรกรปลูกอ้อยโรงงานทดแทนในพื้นที่เพาะปลูก ข้าวที่ไม่เหมาะสม และโรงงานน้ำตาลให้การส่งเสริมการปลูกอ้อย สับปะรดโรงงาน มีผลผลิตเพิ่มขึ้น เนื่องจากราคาในปี 2558 – 2559 อยู่ในเกณฑ์ดี จูงใจให้เกษตรกรขยายเนื้อที่ปลูกในพื้นที่ปล่อยว่าง รวมทั้งปลูกแซมในสวนยางพาราและปลูกใหม่ทดแทนมัน สำปะหลัง ยางพารา มีผลผลิตเพิ่มขึ้น เนื่องจากมีเนื้อที่กรีดยางเพิ่มขึ้นซึ่งเป็นผลจากการปลูกต้นยางแทนในพื้นที่พืชไร่ ไม้ผล นาข้าว และพื้นที่ตัดโค่นต้นยางอายุมากเมื่อปี 2555 ปาล์มน้ำมัน ผลผลิตเพิ่มขึ้น เนื่องจากมีเนื้อที่ให้ผลเพิ่มขึ้นจากต้นปาล์มน้ำมันที่ปลูกใหม่ใน ปี 2558 ซึ่งเริ่มให้ผลผลิตในปีนี้ ลำไย มีผลผลิตเพิ่มขึ้นจากต้นลำไยที่ปลูกในปี 2558 เริ่มให้ผลผลิต ประกอบกับมีปริมาณน้ำฝนเพียง พอ และเกษตรกรมีการผลิตลำไยนอกฤดูมากขึ้น เงาะ มีผลผลิตเพิ่มขึ้น เนื่องจากสภาพอากาศเอื้ออำนวย ทำให้ต้นมีความสมบูรณ์ออก ดอกและติดผลดี
ด้านราคา เมษายน – มิถุนายน 2561 สินค้าพืชที่มีราคาเฉลี่ยเพิ่มขึ้น ได้แก่ ข้าว ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ มันสำปะหลัง ทุเรียน และมังคุด โดย ข้าว มีราคาเพิ่มขึ้น แม้ว่าจะมีปริมาณข้าวออกสู่ตลาดเพิ่มขึ้นแต่ความต้องการของตลาดมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเช่น กัน ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ราคาเพิ่มขึ้น เนื่องจากมีความต้องการใช้เป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมอาหารสัตว์เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง มัน สำปะหลัง ราคาเพิ่มขึ้น เนื่องจากมีผลผลิตออกสู่ตลาดลดลง ประกอบกับประเทศคู่ค้ามีความต้องการมันสำปะหลังและผลิตภัณฑ์ของ ไทยอย่างต่อเนื่อง ขณะเดียวกันภาคเอกชนมีการกำหนดราคาส่งออกมันเส้นขั้นต่ำ ทำให้ราคาส่งออกผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังและราคามัน สำปะหลังที่เกษตรกรขายได้ปรับตัวสูงขึ้น ทุเรียน ราคาเพิ่มขึ้น เนื่องจากปริมาณผลผลิตไม่เพียงพอกับความต้องการของตลาดทั้งใน และต่างประเทศ มังคุด มีราคาเพิ่มขึ้น เนื่องจากผลผลิตออกสู่ตลาดน้อย
ทั้งนี้ แนวโน้มเศรษฐกิจการเกษตรในปี 2561 คาดว่าจะขยายตัวอยู่ในช่วงร้อยละ 3.0 – 4.0 โดยทุกสาขาการผลิต ขยายตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปี 2560 จากสภาพอากาศและปริมาณน้ำที่เอื้ออำนวยต่อการผลิตทางการเกษตร การดำเนินนโยบายด้าน การเกษตรต่าง ๆ ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์อย่างต่อเนื่อง เพื่อพัฒนาเกษตรกรและประสิทธิภาพในการผลิตสินค้าเกษตร รวม ถึงเศรษฐกิจโลกที่มีสัญญาณดีขึ้น ส่งผลดีต่อการส่งออกสินค้าเกษตรและผลิตภัณฑ์ของไทย
นายวิณะโรจน์ กล่าวว่า จำเป็นต้องติดตามสถานการณ์และปัจจัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับภาคเกษตรอย่างใกล้ชิด อาทิ ภัย ธรรมชาติ ความผันผวนของสภาพอากาศ และโรคระบาด ซึ่งอาจส่งผลต่อการผลิตทางการเกษตรในช่วงครึ่งหลังของปี 2561
อัตราการเติบโตของภาคเกษตร สาขา ไตรมาส 2/2561 (เม.ย.– มิ.ย.61) ภาคเกษตร 6.2 พืช 8.4 ปศุสัตว์ 0.3 ประมง 0.4 บริการทางการเกษตร 5.6 ป่าไม้ 1.8