ภาวะตลาดเงินบาท: ปิดตลาด 33.27 อ่อนค่าจากช่วงเช้า ตลาดหันเข้าถือครองดอลล์หลังกังวลวิกฤตการเมืองตุรกี

ข่าวเศรษฐกิจ Friday August 10, 2018 17:37 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดเย็นนี้อยู่ที่ 33.27 บาท/ดอลลาร์ อ่อนค่าจาก เปิดตลาดช่วงเช้าที่ระดับ 33.24 บาท/ดอลลาร์ เคลื่อนไหวในทิศทางเดียวกับค่าเงินภูมิภาค หลังตลาดมีความกังวลการเจรจาระ หว่างตรุรกีและสหรัฐเพื่อคลี่คลายวิกฤตทางการเมืองระหว่างกันประสบภาวะชะงักงัน ทำให้นักลงทุนกลับไปถือครองดอลลาร์ โดย ระหว่างวันเงินบาทเคลื่อนไหวในกรอบ 33.22-33.31 บาท/ดอลลาร์

"บาทกลับมาอ่อนค่าตามภูมิภาค หลังตลาดกังวลเรื่องวิกฤตทางการเมืองของตุรกี ส่งผลให้นักลงทุนหันไปถือครอง ดอลลาร์มากขึ้น"นักบริหารเงิน กล่าว

ปัจจัยที่ตลาดต้องติดตามคืนนี้มีการรายงานตัวเลขเงินเฟ้อของสหรัฐ

นักบริหารเงิน คาดว่า วันอังคารหน้าเงินบาทจะเคลื่อนไหวในกรอบ 33.20-33.35 บาท/ดอลลาร์

  • ปัจจัยสำคัญ
  • เงินเยนอยู่ที่ 110.94 เยน/ดอลลาร์ จากช่วงเช้าที่ระดับ 110.93 เยน/ดอลลาร์
  • เงินยูโรอยู่ที่ 1.1457 ดอลลาร์/ยูโร จากช่วงเช้าที่ระดับ 1.1531 ดอลลาร์/ยูโร
  • ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ระดับ 1,705.96 จุด ลดลง 16.52 จุด, -0.96% มูลค่าการซื้อขาย 55,003.80 ล้านบาท
  • สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติซื้อสุทธิ 235.67 ล้านบาท(SET+MAI)
  • สกุลเงินลีราของตุรกีร่วงลงไปกว่า 10% เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐในวันนี้ หลังจากการเจรจาซึ่งมีเป้าหมายเพื่อคลี่
คลายวิกฤตทางการเมืองระหว่างตุรกีกับสหรัฐประสบภาวะชะงักงัน ทั้งนี้ ลีราอ่อนค่าลงต่อเนื่องสู่ระดับ 6 ลีราต่อดอลลาร์ในช่วง
เช้าวันนี้ ตามเวลาท้องถิ่น หลังจากที่ร่วงลงไปกว่า 5% เมื่อคืนที่ผ่านมา
  • ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) รายงานตัวเลขเงินสำรองระหว่างประเทศ วันที่ 3 ส.ค.61 อยู่ที่ 204.8 พัน
ล้านดอลลาร์สหรัฐ จากวันที่ 26-27 ก.ค.61 ที่ 204.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ขณะเดียวกันฐานะฟอร์เวิร์ดสุทธิของไทย วันที่ 3 ส.
ค.61 อยู่ที่ 32.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เมื่อเทียบกับวันที่ 26-27 ก.ค.61 ซึ่งอยู่ที่ 32.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ส่วนเงินสำรอง
ระหว่างประเทศในรูปเงินบาทวันที่ 3 ส.ค.61 อยู่ที่ 6,829 พันล้านบาท จาก 6,810.4 พันล้านบาท เมื่อวันที่ 26-27 ก.ค.61
  • นายพิบูลย์ฤทธิ์ วิริยะผล ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยทองคำ แถลงดัชนีความเชื่อมั่นราคาทองคำประจำเดือนสิงหาคม
2561 อยู่ที่ระดับ 41.80 จุด ปรับลดลงจาก 54.72 จุดเมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา หรือลดลง 12.92 จุด คิดเป็น 23.61% โดยมี
ปัจจัยมาจากทิศทางนโยบายทางการเงินของธนาคารกลางสหรัฐฯ (FED) การแข็งค่าของเงินบาท แรงขายเก็งกำไรของกองทุน
การฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก และปริมาณความต้องการทองคำที่ลดลง
  • ศูนย์วิจัยกสิกรไทย เผยดัชนีภาวะเศรษฐกิจและการครองชีพของครัวเรือนไทย (KR-ECI) ในเดือน ก.ค.61 ปรับ
ตัวเพิ่มขึ้นเป็นครั้งแรกในรอบ 6 เดือน จากเดิมที่ระดับ 44.7 ในเดือน มิ.ย.มาอยู่ที่ระดับ 45.1 ในเดือน ก.ค. เนื่องจากครัว
เรือนมีมุมมองที่ดีขึ้นต่อประเด็นในเรื่องรายได้และการมีงานทำ ส่วนหนึ่งมาจากครัวเรือนนอกภาคเกษตรกรรมบางส่วนได้รับค่าตอบ
แทนพิเศษ (โบนัส) ในช่วงกลางปี ขณะที่ภาคเกษตรกรรมเข้าสู่ช่วงฤดูเพาะปลูกและเก็บเกี่ยวในหลายสินค้าเกษตร ทำให้มีปริมาณผล
ผลิตออกสู่ตลาดมากขึ้น ซึ่งช่วยหนุนรายได้ครัวเรือนเกษตรให้ปรับตัวดีขึ้นในอีกทางหนึ่ง นอกจากนี้ครัวเรือนยังมีความกังวลลดลงต่อ
ประเด็นเรื่องสถานการณ์ทางด้านราคาสินค้าและบริการภายในประเทศ โดยเฉพาะในเรื่องของราคาอาหารและเครื่องดื่มลดลงเล็ก
น้อยจากเดือน มิ.ย.61
  • ผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลญี่ปุ่นอายุ 10 ปี ปิดลบในการซื้อขายวันนี้ เนื่องจากนักลงทุนพากันเข้าซื้อพันธบัตร ซึ่งเป็น

สินทรัพย์ปลอดภัย หลังจากดัชนีนิกเกอิตลาดหุ้นโตเกียวปิดร่วงลงแตะระดับต่ำสุดในรอบเกือบ 1 เดือน โดยอัตราผลตอบแทนพันธบัตร

หมายเลข 351 ซึ่งเป็นมาตรวัดอัตราดอกเบี้ยระยะยาว ปิดที่ 0.010% ลดลง 0.010% จากระดับปิดเมื่อวานนี้ ขณะที่ราคาสัญญาล่วง

หน้าพันธบัตรอายุ 10 ปี ส่งมอบเดือนก.ย. เพิ่มขึ้น 0.20 จุด แตะที่ 150.27 ที่ตลาดหุ้นโอซาก้า


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ