ภาวะตลาดเงินบาท: ปิด 32.74/75 ระหว่างวันแกว่งแคบ เหตุตลาดสหรัฐฯ ปิดทำการ

ข่าวเศรษฐกิจ Monday September 3, 2018 17:33 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย เปิดเผยว่า เงินบาทเย็นนี้ปิดตลาดที่ระดับ 32.74/75 บาท/ดอลลาร์ แข็ง ค่าจากช่วงเช้าที่เปิดตลาดที่ระดับ 32.79 บาท/ดอลลาร์

ช่วงเย็นนี้เงินบาทปรับตัวแข็งค่าเล็กน้อยจากเปิดตลาดในช่วงเช้า แต่โดยรวมตลอดทั้งวันเงินบาทยังแกว่งอยู่ในกรอบ แคบๆ เนื่องจากวันนี้ตลาดการเงิน และหน่วยงานราชการของสหรัฐฯ ปิดทำการ เนื่องในวันแรงงาน โดยตลาดจับตาการรายงาน ข้อมูลเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ในปลายสัปดาห์นี้ คือ ตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรเดือน ส.ค.

"วันนี้ยังเงินบาทยังวิ่งในกรอบแคบๆ เพราะเป็นวันหยุดของทางตลาดสหรัฐ ส่วนที่กระทรวงพาณิชย์รายงานเงินเฟ้อ เดือนส.ค.วันนี้ ก็มีผลอยู่บ้าง ให้เงินบาทแข็งค่าขึ้นจากช่วงเช้า" นักบริหารเงินระบุ

นักบริหารเงิน คาดว่า พรุ่งนี้เงินบาทจะเคลื่อนไหวในกรอบ 32.60-32.95 บาท/ดอลลาร์

  • ปัจจัยสำคัญ
  • เย็นนี้เงินเยนอยู่ที่ระดับ 111.04 เยน/ดอลลาร์ จากช่วงเช้าที่ระดับ 110.96 เยน/ดอลลาร์
  • ส่วนเงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.1596 ดอลลาร์/ยูโร จากช่วงเช้าที่ระดับ 1.1595 ดอลลาร์/ยูโร
  • ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ระดับ 1,721.21 จุด ลดลง 0.37 จุด (-0.02%) มูลค่าการซื้อขาย 36,963 ล้านบาท
  • สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติขายสุทธิ 1,840.65 ลบ.(SET+MAI)
  • กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไป (CPI) ในเดือน ส.ค.61 ขยายตัว 1.62% จากช่วงเดียว
กันของปีก่อน ส่วนอัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน (CORE CPI) ขยายตัว 0.75% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ทั้งนี้ อัตราเงินเฟ้อทั่วไปใน
เดือนส.ค.61 สูงขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 14 มาจากราคาพลังงานที่สูงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 11 และการสูงขึ้นของสินค้าในหมวด
อาหารสด พร้อมคาดว่าอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในไตรมาส 4/61 จะเพิ่มขึ้นต่อเนื่องมาอยู่ที่ 1.5% โดยทั้งปีคาดว่าจะเฉลี่ยที่ 1.2%
  • ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB EIC) ประเมินอัตราเงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ยทั้งปี 2561 จะอยู่
ที่ 1.1%YOY ปรับลดลงจากคาดการณ์เดิมที่ 1.3%YOY โดยมองว่าอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในช่วงที่เหลือของปีมีแนวโน้มจะชะลอลงจาก
ฐานสูงของราคาน้ำมัน
  • กลุ่มงานโกลบอลมาร์เก็ตส์ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา (BAY) มีมุมมองต่อทิศทางค่าเงินบาทในสัปดาห์นี้ว่า มีแนวโน้ม
เคลื่อนไหวในกรอบ 32.50-33.00 ต่อดอลลาร์ นักลงทุนจะให้ความสนใจกับข้อมูลตลาดแรงงานและการเติบโตของค่าจ้างใน
สหรัฐฯ ขณะที่ความขัดแย้งทางการค้า สถานการณ์ค่าเงินตลาดเกิดใหม่บางแห่งที่ประสบภาวะวิกฤติ และการคลังอิตาลียังเป็นประเด็น
ที่ต้องติดตาม ในสัปดาห์ที่แล้ว
  • ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจในเดือนส.ค.61 ปรับลดลงจากเดือนก่อน
เล็กน้อยจากระดับ 52.0 มาอยู่ที่ระดับ 51.4 จากดัชนีองค์ประกอบด้านการลงทุนและการจ้างงานที่ลดลงเป็นสำคัญ
  • ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ทีเอ็มบี (TMB Analytics) แนะนักลงทุนที่ต้องการลงทุนในตราสารหนี้ระยะยาวทั้ง
สินทรัพย์ในประเทศและต่างประเทศ อาจต้องพิจารณาให้รอบคอบถึงความเป็นไปได้ที่ทั้งผลตอบแทนพันธบัตร (bond yield) 10 ปี
ของสหรัฐฯและของไทยจะพุ่งสูงขึ้น แม้ตอนนี้จะยังทรงตัวในระดับต่ำก็ตาม โดยนักลงทุนอาจจะเริ่มมองหากลยุทธ์การลงทุนในตราสาร
หนี้ที่จะช่วยลดผลกระทบจากแนวโน้มดอกเบี้ยขาขึ้นบนผลตอบแทนของพอร์ตการลงทุน
  • ผู้ว่าการธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) เตือนว่า ระบบการซื้อขายหลักทรัพย์ด้วยความเร็วสูง (High-Frequency
Trading - HFT) ซึ่งกำลังมีการใช้งานมากขึ้นในขณะนี้ อาจส่งผลกระทบต่อความเคลื่อนไหวของราคาหุ้น และส่งผลให้ตลาดการ
เงินตกอยู่ในภาวะไร้เสถียรภาพ
  • ประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ของจีน เปิดเผยว่า จีนจะปกป้องระบบการค้าแบบพหุภาคีและระบบเศรษฐกิจโลกแบบเปิด
อย่างเต็มที่ พร้อมกับปฏิเสธลัทธิการกีดกันการค้าและลัทธิเอกภาคนิยม

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ