สมาคมโทรคมนาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้จัดทำข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนาเทคโนโลยี 5G เสนอต่อสำนักงานคณะกรรมการกิจกากระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เพื่อนำเสนอต่อรัฐบาลเป็นแนวทางในการวางยุทธศาสตร์และแผนพัฒนาคลื่นความถี่และอุตสาหกรรมรองรับการเข้ามาของเทคโนโลยี 5G
โดยข้อเสนอเชิงนโยบายที่รัฐบาลในอนาคตควรให้ความสำคัญ คือ การทบทวนและจัดทำแผนรวมถึงการอนุญาตให้มีการใช้คลื่นความถี่ร่วม (Spectrum sharing) การซื้อขายคลื่นความถี่ (Spectrum trading) ซึ่งเป็นแนวทางที่ปฎิบัติกันในต่างประเทศ รัฐควรศึกษาและเลือกมาตรฐาน 5G ตามแนวทางของสหภาพโทรคมนาคม (ITU) เพื่อเป็นประโยชน์ในการสนับสนุนอุตสาหกรรมหลักของประเทศ,
ประเทศไทยควรจัดสรรย่านคลื่นความถี่เพื่อใช้ในกิจการโทรคมนาคมโดยต้องกำหนดไว้ในแผนจัดสรรคลื่นความถี ,ควรมีเป้าหมายชัดเจนในการนำบิ๊กดาต้ามาใช้ประโยชน์บน 5G ,สร้างความตระหนักรู้ด้านดิจิทัลแก่สังคมผ่านเครือข่ายภาคประชาชนเพื่อให้ประชาชนสามารถประยุกต์ใช้และเท่าทันเทคโนโลยี ,จัดสรรคลื่นความถี่เพื่อใช้ในกิจการโทรคมนาคมโดยกำหนดไว้ในแผนจัดสรรคลื่น ,กำหนดนโยบายเพิ่มความปลอดภัยทางไซเบอร์เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับประชาชนและประเทศ ,สนับสนุนบริการสาธารณะที่เกี่ยวกับรัฐสวัสดิการภาครัฐโดยมุ่งให้เกิดประโยชน์ต่อมิติงานบริการ, เพิ่มประสิทธิภาพของแรงงานในภาคอุตสาหกรรมการผลิตและบริการ ,สนับสนุนนวัตกรรมและเทคโนโลยีด้านการดูแลสุขภาพเพื่อรองรับสังคมสูงอายุ และเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตด้วยปัญญาประดิษฐ์และหุ่นยนต์
สมาคมฯ ประเมินผลกระทบของเทคโนโลยี 5G ที่คาดว่าจะมีการให้บริการเชิงพาณิชย์ทั่วโลกภายใน 3 ปีข้างหน้าว่า อุตสาหกรรมหลัก 5 กลุ่ม จะได้รับผลกระทบจากการมาของ 5G คือ ธุรกิจค้าปลีก ,หน่วยงานกำกับดูแล ,สื่อและภาพยนตร์ ,ธุรกิจบริการ ,อุตสาหกรรมการผลิตและธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ เทคโนโลยีที่น่าสนใจและน่าจะมาพร้อมกับ 5G คือ การควบคุมเครื่องจักรและเครื่องยนต์ที่ชาญฉลาด (Machine Intelligent ) , เครือข่ายเว็บเคลื่อนที่ (Ubiquitous Web) , โมบายบอรดแบนด์ ,ยานพาหนะไร้คนขับ , Voice & Visual Search การค้นหาด้วยภาพและเสียง , เงินดิจิทัล ,เทคโนโลยีความจริงเสมือน ,การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตของทุกสรรพสิ่ง หรือ Interne of Things และแพลฟอร์มการโตตอบสนทนากับมนุษย์
ทั้งนี้ภาครัฐควรให้การส่งเสริมอุตสาหกรรม 11 กลุ่มเพื่อขยายการลงทุนรองรับบริการ 5G ที่จะเกิดขึ้น คือ อุตสหากรรมยานยนต์ ,อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ อัจฉริยะ ,อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวกลุ่มรายได้ดีและการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ , เทคโนโลยี การเกษตรและเทคโนโลยีชีวิภาพ ,อุตสาหกรรมแปรรูปอาหาร ,อุตสาหกรรมหุ่นยนต์เพื่อการอุตสาหกรรม ,อุตสาหกรรมการบินและโลจิสติกส์ ,อุตสาหกรรมเชื้อเพลิง ,อุตสาหกรรมดิจิทัลคอนเทนท์ ,อุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจร และอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ
"การพัฒนาเทคโนโลยีด้านการสื่อสารโทรคมนาคมของประเทศมีความสำคัญมากต่อเศรษฐกิจ การค้า การลงทุน การอำนวยความสะดวกทางการสื่อสารของประชาชน ช่วยเปลี่ยนผ่านเทคโนโลยี 4G ไปสู่ 5G จะเป็นช่วงเวลาสำคัญที่สุด การกำหนดทิศทางด้านการสื่อสารและดิจิทัลที่เหมาะสมจะขับเคลื่อนและพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมไทยให้ได้รับประโยชน์จากเทคโนโลยีใหม่ที่กำลังเกิดขึ้น เพื่อรองรองรับการพัฒนาไทยแลนด์ 4.0 ให้มีความต่อเนื่อง จำเป็นต้องเตรียมความพร้อมด้านบุคลากร โดยพัฒนานักเรียนนักศึกษาให้มีความพร้อมในทักษะที่จำเป็นต่อการเปลี่ยนแปลงโดยภาครัฐความสนับสนุนเนื้อหาหลักสูตรและสื่อการเรียนการสอน ,สร้างการตระหนักรู้และความเข้าใจในเทคโนโลยีใหม่ เพื่อให้ประชาชนทั่วไปเข้าใจถึงเทคโนโลยีที่มีบทบาทต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตและการทำธุรกิจ และส่งเสริมผู้ที่เกี่ยวข้องในภาคอุตสาหกรรมโดยพัฒนาศักยภาพของบุคลากรในภาคอุตสาหกรรมให้มีความพร้อม"