ภาวะตลาดเงินบาท: ปิด 32.36 ระหว่างวันผันผวนในกรอบ 32.32-32.37 ตลาดรอดูตัวเลขศก.สหรัฐฯในสัปดาห์นี้

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday October 3, 2018 17:54 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดวันนี้ที่ระดับ 32.36 บาท/ดอลลาร์ จากตอนเช้า ที่เปิดตลาดที่ระดับ 32.37 บาท/ดอลลาร์ ระหว่างวันเคลื่อนไหวในกรอบ 32.32-32.37 บาท/ดอลลาร์

"ระหว่างวันผันผวนในกรอบ...หนี้อิตาลีคลี่คลายลงมาบ้างทำให้ยูโรฟื้นตัวกลับมา ขณะที่ธปท.ส่งสัญญาณจะเข้าดูแลค่า เงินบาทหากเห็นความผิดปกติ แต่ตอนนี้ยังไม่พบสัญญาณหรือมีการเก็งกำไรผิดปกติ" นักบริหารเงิน กล่าว

นักบริหารเงิน ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทวันพรุ่งนี้ระหว่าง 32.30-32.45 บาท/ดอลลาร์ โดยจับตาตัวเลข ISM ภาคบริการของสหรัฐฯ, การจ้างงานภาคเอกชนของสหรัฐฯ และตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรของ สหรัฐฯในวันศุกร์ที่จะถึงนี้

  • ปัจจัยสำคัญ
  • เงินเยนอยู่ที่ระดับ 113.83 เยน/ดอลลาร์ จากตอนเช้าที่อยู่ที่ระดับ 113.55 เยน/ดอลลาร์
  • เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.1565 ดอลลาร์/ยูโร จากตอนเช้าที่อยู่ที่ระดับ 1.1539 ดอลลาร์/ยูโร
  • ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ระดับ 1,741.96 จุด ลดลง 6.13 จุด, -0.35% มูลค่าการซื้อขาย 58,138.89 ล้านบาท
  • สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติขายสุทธิ 972.38 ลบ.(SET+MAI)
  • ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เผยตั้งแต่สิ้นปี 60- 2 ต.ค.61 บาทแข็งค่าขึ้น 0.6% เมื่อเทียบดอลลาร์ แต่
แข็งค่าขึ้น 5% เมื่อเทียบกับค่าเงินประเทศคู่แข่ง และยังไม่เห็นสัญญาณการเก็งกำไรที่ผิดปกติช่วงนี้

พร้อมระบุว่า กรณีเงินบาทแข็งค่าไม่ได้เป็นปัจจัยหลักที่ส่งผลกระทบต่อภาคการส่งออกของไทย เนื่องจากปัจจัยสำคัญอยู่ที่ การขยายตัวของเศรษฐกิจประเทศคู่ค้ามากกว่า ทั้งนี้เงินบาทที่แข็งค่ายังไม่มีผลกระทบต่อภาคเศรษฐกิจที่แท้จริง แต่ในทางกลับกันได้ ช่วยลดผลกระทบจากการนำเข้าน้ำมันที่มีราคาแพงขึ้นได้

  • ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เผยแพร่รายงานการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) เมื่อวันที่
19 ก.ย.61 ระบุว่า คณะกรรมการ กนง.ได้อภิปรายเกี่ยวกับเงื่อนไขและจังหวะเวลาที่เหมาะสมของการเริ่มปรับนโยบายการเงิน
ให้เข้าสู่ภาวะปกติในอนาคต โดยเห็นว่าหากเศรษฐกิจมีแนวโน้มขยายตัวได้ดีต่อเนื่องและอัตราเงินเฟ้อเคลื่อนไหวสอดคล้องกับกรอบ
เป้าหมาย ความจำเป็นที่จะต้องใช้นโยบายการเงินที่ผ่อนคลายมากในระดับปัจจุบันจะเริ่มทยอยลดลง และการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย
นโยบายเพื่อสร้าง policy space ในอนาคตจะมีความสำคัญมากขึ้น

ทั้งนี้ กนง.จะประเมินสถานการณ์ตามพัฒนาการของข้อมูล (data-dependent) ทั้งแนวโน้มการขยายตัวของ เศรษฐกิจ อัตราเงินเฟ้อ และความเสี่ยงด้านต่าง ๆ โดยเฉพาะความเสี่ยงจากปัจจัยต่างประเทศอย่างใกล้ชิดต่อไป

  • รองผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) เปิดเผยว่า จะสามารถเปิดให้ประชาชนราย
ย่อยจองซื้อหน่วยลงทุนของกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานเพื่ออนาคตประเทศไทย (TFFIF) ได้ตั้งแต่วันที่ 12-19 ต.ค.61 รวมระยะ
เวลาทั้งสิ้น 8 วัน จำนวนหน่วยลงทุนขั้นต่ำในการจองซื้อจะอยู่ที่ 1,000 หน่วย (10,000 บาท) และจะเพิ่มขึ้นครั้งละ 100 หน่วย
โดยจะกำหนดราคาเสนอขายในวันที่ 19 ต.ค.นี้
  • รัฐบาลอิตาลียืนยันว่า ทางรัฐบาลจะไม่เปลี่ยนแปลงเป้าหมายการขาดดุลงบประมาณในปี 2562 เอาไว้ที่ระดับ
2.4% ของตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) แม้ว่ารัฐมนตรีคลังของกลุ่มยูโรโซน หรือยูโรกรุ๊ป จะออกมากล่าวเตือนให้
พิจารณาแผนการลดยอดขาดดุลงบประมาณอีกครั้งก็ตาม
  • รัฐบาลกรีซได้ยื่นร่างงบประมาณประจำปี 2562 ต่อรัฐสภาแล้วเมื่อคืนวันจันทร์ที่ผ่านมาตามเวลาท้องถิ่น โดยไม่ได้มี
การระบุถึงการปรับลดเงินบำนาญงวดใหม่ ตามที่กรีซได้ตกลงไว้กับบรรดาเจ้าหน้าที่ต่างประเทศภายใต้โครงการให้ความช่วยเหลือ
ด้านการเงินครั้งหลังสุดที่หมดอายุลงเมื่อเดือนส.ค.ที่ผ่านมา
  • ประธานหอการค้าแคนาดาได้ออกมาแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับข้อตกลงสหรัฐอเมริกา-เม็กซิโก-แคนาดา"
(United States-Mexico-Canada Agreement) หรือ USMCA ซึ่งถูกประกาศออกมาเมื่อวันอาทิตย์เพื่อใช้แทนที่ข้อตกลงการค้า
เสรีอเมริกาเหนือ (NAFTA) ว่า ข้อตกลง USMCA ไม่สำคัญเท่ากับข้อยกเว้นที่เกิดขึ้นในข้อตกลง
  • อดีตรัฐมนตรีต่างประเทศของอังกฤษ และเคยดำรงตำแหน่งนายกเทศมนตรีกรุงลอนดอน ได้ออกมาเรียกร้องให้นายก
รัฐมนตรีเทเรซา เมย์ ยกเลิกแผนเช็กเกอร์ส (Chequers plan) สำหรับการทำข้อตกลงการค้าในอนาคตกับสหภาพยุโรป
(EU)

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ