ภาวะตลาดเงินบาท: เปิด 33.29/31 แนวโน้มยังอ่อนค่าต่อเนื่อง มองกรอบวันนี้ 33.20-33.50

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday October 30, 2018 09:24 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงเทพ เปิดเผยว่า เงินบาทเปิดตลาดเช้านี้อยู่ที่ระดับ 33.29/31 บาท/ดอลลาร์ อ่อนค่า จากเย็นวานนี้ที่ปิดตลาดที่ระดับ 33.21 บาท/ดอลลาร์

เงินบาทปรับตัวอ่อนค่าลงต่อจากเมื่อวานนี้ จากหลายปัจจัยประกอบกันทั้งกรณีที่นายกรัฐมนตรีของเยอรมันประกาศว่าจะ ไม่ลงชิงเลือกตั้งรอบใหม่ในสมัยที่ 5 นอกจากนี้ยังมีกรณีที่ รมว.คลัง อังกฤษ ออกมาระบุถึงกรณีงบประมาณที่จะขาดดุลหลังจาก Brexit เกิดขึ้น ซึ่งใน 2 ประเด็นนี้ส่งผลให้ทั้งเงินยูโรและเงินปอนด์ปรับอ่อนค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ในขณะที่ตัวเลข เศรษฐกิจสหรัฐฯ ออกมาดี จึงยิ่งสนับสนุนให้ดอลลาร์แข็งค่าเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักอื่นๆ

นักบริหารเงิน คาดว่า วันนี้เงินบาทจะยังอ่อนค่าต่อ มองกรอบการเคลื่อนไหวที่ 33.20-33.50 บาท/ดอลลาร์

THAI BAHT FIX 3M 29 (ต.ค.) อยู่ที่ระดับ 1.23824% ส่วน THAI BAHT FIX 6M อยู่ที่ระดับ 1.31087%

  • ปัจจัยสำคัญ
  • เช้านี้เงินเยนอยู่ระดับ 112.58/61 เยน/ดอลลาร์ จากเย็นวานนี้ที่ระดับ 112.16 เยน/ดอลลาร์
  • ส่วนเงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.1375/1380 ดอลลาร์/ยูโร จากเย็นวานนี้ที่ระดับ 1.1380 ดอลลาร์/ยูโร
  • อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท/ดอลลาร์ ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักระหว่างธนาคารของธปท.อยู่ที่ระดับ 33.1360 บาท/
ดอลลาร์
  • ประธานสภาธุรกิจตลาดทุนไทย ชี้ การเลือกตั้งของไทย จะเป็นปัจจัยหลัก ดึงเม็ดเงินต่างชาติกลับมาซื้อหุ้นไทย คาด
ตลาดหุ้นไทยอีก 12 เดือน อยู่ในช่วงขาขึ้น และตลาดหุ้นทั่วโลกฟื้น
  • สมาคมธนาคารไทยรับลูก ธปท.หารือมาตรฐานคำนวณภาระหนี้ต่อรายได้ ชี้มาตรการกำกับเป็นประโยชน์สร้างความ
ยั่งยืน
  • ที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจการคลัง กล่าวว่า กระทรวงการคลังยังไม่มีนโยบายขยายเวลาอายุมาตรการลดหย่อนภาษีจาก
การซื้อหน่วยลงทุนของกองทุนหุ้น ระยะยาว หรือ LTF ที่จะสิ้นสุดในปี 2562 และเชื่อว่าไม่กระทบกับตลาดหุ้น เพราะนักลงทุน รู้มา
ล่วงหน้าตั้งแต่ปี 2560 ว่าอีก 2 ปี จะสิ้นสุดมาตรการลดหย่อนภาษีดังกล่าว
  • นายบัณฑูร ล่ำซำ ประธานกรรมการ ธนาคารกสิกรไทย เปิดเผยว่า เศรษฐกิจไทย ปี 2562 มีแนวโน้มขยายตัวได้
อย่างต่อเนื่องแม้ว่าแรงส่งของอุปสงค์จากต่างประเทศจะลดลง แต่การใช้จ่ายในประเทศจากการลงทุน ทั้งภาครัฐและเอกชน จะมี
บทบาทต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจมากขึ้น โดยคาดว่าเศรษฐกิจไทย ปี 2562 อัตราการเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จี
ดีพี) จะขยายตัว 4.3% ผ่อนแรงลงจากปีนี้ ที่คาดว่าขยายตัว 4.6%
  • กระทรวงพาณิชย์สหรัฐรายงานว่า ดัชนีราคาการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล (PCE) พื้นฐาน ซึ่งไม่นับรวมหมวด
อาหารและพลังงาน และเป็นมาตรวัดอัตราเงินเฟ้อที่เฟดให้ความสำคัญ เพิ่มขึ้น 0.2% ในเดือนก.ย. เมื่อเทียบรายเดือน หลังจากที่
ทรงตัวในเดือนส.ค. และหากเทียบรายปี ดัชนี PCE พื้นฐานดีดตัวขึ้น 2.0% ในเดือนก.ย. ซึ่งเป็นระดับเป้าหมายเงินเฟ้อของเฟด
และเป็นการแตะระดับ 2.0% ติดต่อกันเป็นเดือนที่ 5
  • กระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยว่า การใช้จ่ายของผู้บริโภคสหรัฐปรับตัวขึ้นติดต่อกันเป็นเดือนที่ 7 ในเดือนก.ย. โดย
ดีดตัวขึ้น 0.4% ในเดือนก.ค. สอดคล้องกับตัวเลขคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ โดยการใช้จ่ายของผู้บริโภคสหรัฐในเดือนก.ย.ได้รับ
แรงหนุนจากการใช้จ่ายด้านการดูแลสุขภาพ และการซื้อรถยนต์
  • ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กเมื่อคืนนี้ (29 ต.
ค.) หลังจากสหรัฐเปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจที่แข็งแกร่ง ซึ่งรวมถึงตัวเลขการใช้จ่ายของผู้บริโภคที่ปรับตัวขึ้นติดต่อกันเป็นเดือนที่ 7 ใน
เดือนก.ย. และดัชนีราคาการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล (PCE) พื้นฐานรายปีที่พุ่งแตะเป้าหมายเงินเฟ้อของธนาคารกลาง
สหรัฐ (เฟด) ติดต่อกันเดือนที่ 5

ส่วนสกุลเงินยูโรอ่อนค่าลงหลังมีข่าวว่า นางอังเกลา แมร์เคิล นายกรัฐมนตรีเยอรมนี จะไม่ลงสมัครชิงตำแหน่งนายก รัฐมนตรีสมัยที่ 5 และจะไม่ชิงตำแหน่งประธานพรรคสหภาพประชาธิปไตยคริสเตียน (CDU)

  • สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดลบเมื่อคืนนี้ (29 ต.ค.) โดยได้รับแรงกดดันจากดอลลาร์ที่แข็งค่าเมื่อเทียบกับสกุลเงิน
หลักๆ หลังจากทางการสหรัฐเปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจที่แข็งแกร่ง ซึ่งรวมถึงตัวเลขการใช้จ่ายผู้บริโภคที่ปรับตัวขึ้นติดต่อกันเป็นเดือนที่
7 ในเดือนก.ย.
  • สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่า สหรัฐเตรียมเรียกเก็บภาษีสินค้านำเข้าจากจีนรอบใหม่ หากการเจรจาระหว่าง
ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ และประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ประสบความล้มเหลวในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งทางการค้าระหว่างกัน
โดยปธน.ทรัมป์และปธน.สี จิ้นผิง จะพบปะกันนอกรอบการประชุม G20 ที่กรุงบัวโนสไอเรส ประเทศอาร์เจนตินา ในเดือนหน้า
  • นักลงทุนจับตาข้อมูลเศรษฐกิจของสหรัฐที่มีกำหนดเปิดเผยในสัปดาห์นี้ ซึ่งได้แก่ ดัชนีราคาบ้านเดือนส.ค.จากเอส
แอนด์พี/เคส-ชิลเลอร์, ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนต.ค.จาก Conference Board, ตัวเลขจ้างงานภาคเอกชนเดือนต.ค.
จาก ADP, จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์, ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตเดือนต.ค.จากมาร์กิต, ดัชนี
ภาคการผลิตเดือนต.ค. จากสถาบันจัดการด้านอุปทานของสหรัฐ (ISM), ดุลการค้าเดือนก.ย., ตัวเลขจ้างงานนอกภาคเกษตร
เดือนต.ค. และยอดสั่งซื้อภาคโรงงานเดือนก.ย.

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ