นายอัทธ์ พิศาลวานิช ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาการค้าระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กล่าวว่า สถานการณ์ ราคายางปี 62 ยังมีแนวโน้มทรงตัวจากปีนี้ที่ราคาเฉลี่ยอยู่ที่ 63 บาท/กก. ปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อราคายางคือภาวะเศรษฐกิจโลกและ ราคาน้ำมัน
"ราคายางที่ 63 บาท/กก.เกษตรกรขาดทุนอยู่ประมาณ 20 กว่าบาท ซึ่งระดับราคาที่ 63 บาท/กก.นี้เท่ากับประเทศ เพื่อนบ้าน แต่ทว่าต้นทุนเราแพงกว่าทำให้ผู้ซื้อเปลี่ยนไปซื้อจากที่อื่น ซึ่งถ้าจะให้เกษตรกรสามารถอยู่ได้ราคายางต้องอยู่ที่ระดับ 70- 80 บาท/กก. แต่ราคาจะขึ้นหรือลงขึ้นอยู่กับ 2 ปัจจัยสำคัญคือภาวะเศรษฐกิจโลกและราคาน้ำมัน"
ในส่วนของภาวะเศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มว่าจะยังทรงๆ โดยเฉพาะประเด็นสงครามการค้าที่คาดว่าส่งผลกระทบต่อ เศรษฐกิจโลกอย่างชัดเจน ซึ่ง 70% ของเศรษฐกิจโลกขับเคลื่อนด้วยอุตสาหกรรมรถยนต์ ถ้าเศรษฐกิจถดถอยอุตสาหกรรมรถยนต์ก็จะ ลดลงและอุตสาหกรรมยางก็จะซบเซาตามไปด้วย
สำหรับสถานการณ์ราคาน้ำมัน ต้องจับตาดูต่อไปเช่นกัน ซึ่งจากที่มีการคาดการณ์ว่าปีหน้าจะแตะ 100 เหรียญสหรัฐฯ/ บาร์เรล ก็อาจทำให้การใช้ยางสังเคราะห์ลดลงและหันมาใช้ยางธรรมชาติเพิ่มขึ้น เพราะฉะนั้นแนวโน้มราคายางจะเป็นอย่างไรต้อง ดูเรื่องเหล่านี้ประกอบกัน
หากประเทศไทยหันมาเพิ่มสัดส่วนการใช้ยางในประเทศให้มากขึ้น จะช่วยลดความเสี่ยงในเรื่องการส่งออกที่ลดลง เพราะปัจจุบันจีนซึ่งเคยเป็นผู้ซื้อรายใหญ่ของไทยหันไปซื้อจากประเทศในกลุ่ม CLMV มากขึ้นเนื่องจากราคาถูกกว่าไทย ดังนั้น จำเป็น ที่เราต้องหาตลาดส่งออกอื่นๆ เช่น อินเดีย สหรัฐอเมริกา รวมทั้งหันมาเพิ่มปริมาณการใช้ในประเทศให้มากขึ้น
สำหรับโอกาสและทางรอดของอุตสาหกรรมยางพาราของไทยในการปรับตัวรับการเปลี่ยนแปลงในอีก 5 ปีข้างหน้า ควร พิจารณาในประเด็นต่างๆ 14 ข้อ ได้แก่ 1. ปรับโครงสร้างหน่วยงานยางพาราของประเทศให้ทำงานเป็นเอกภาพ โดยแบ่งบทบาท หน้าที่ในแต่ละด้านชัดเจน เช่น การวิจัย การพัฒนาพันธุ์ การทำตลาด ซึ่งสอดคล้องและไปในทิศทางเดียวกันเหมือนที่ประเทศ มาเลเซียทำ
2. เกษตรกรต้องรวมตัวกันเป็นเอกภาพ ซึ่งควรมีการตั้งเป็นกลุ่มตัวแทนของเกษตรกรยางพาราของประเทศ 1 สถาบัน แล้วมีตัวแทนจากกลุ่มเกษตรกรต่างๆ เข้ามาเป็นคณะกรรมการเพื่อเสนอปัญหาของเกษตรกรยางพาราไปในทิศทางเดียวกัน 3. พัฒนา Big Data ยางพารา เพื่อให้มีฐานข้อมูลยางพาราทั้งในประเทศและต่างประเทศทันสมัยที่สุด ทั้งนี้ควรมีหน่วยงานรับผิด ชอบโดยตรงเพื่อดูแล Big Data 4. จัดตั้งศูนย์เตือนภัยยางแห่งชาติ (Rubber Warning Center) เพื่อมีแบบจำลองทางด้าน เศรษฐศาสตร์ เศรษฐกิจและธุรกิจที่สามารถจะคาดการณ์การเปลี่ยนแปลงของปัจจัยในตลาดโลกที่มีผลกระทบต่อยางพาราของไทย
5. การค้าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ยางพารา (Rubber Cross Border E-commerce: RCBEC) เพื่อส่งเสริมและผลัก ดันให้มีการนำยางและผลิตภัณฑ์ยางไปขายบนเว็บไซต์ออนไลน์ โดยตั้งอยู่ 2 จุด คือ ท่าเรือสงขลาและท่าเรือแหลมฉบัง 6. ตั้งศูนย์ กลางผลิตภัณฑ์ยางของโลก เพื่อเป็นศูนย์กลางการผลิตล้อเครื่องบิน, ผลิตภัณฑ์อิฐผสมยางพารา, ผลิตภัณฑ์ยางพาราเพื่อการก่อ สร้าง, หมอนรถไฟผสมยางพารา เป็นต้น 7. จัดตั้งศูนย์เรียนรู้และพัฒนามาตรฐานยางพาราในระดับต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ เพื่อสร้างความเข้าใจและปรับทัศนคติของชาวสวนในเรื่องของคุณภาพของผลิตภัณฑ์ และลดสิ่งปลอมปนในการผลิตยาง อีกทั้งพัฒนา ประสิทธิภาพในการผลิตผลิตภัณฑ์ยางพาราทั้งในต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ
8. ตั้งกองทุนเพื่อสนับสนุนเครดิตให้กับกลุ่มสหกรณ์ผลิตภัณฑ์ยางพาราเพื่อตลาดต่างประเทศ (Rubber Fund) เพื่อเป็น การปัญหาสภาพคล่องทางการเงิน 9. ส่งเสริมให้มีการผลิตยางแผ่นรมควันคุณภาพสูง (Premium RSS) โดยผลักดันและส่งเสริมให้ เกษตรกรผลิตยางแผ่นรมควันชั้นที่ 1 และ 2 หรือเรียกว่า "Premium RSS" 10. จัดตั้งศูนย์กลางการออกแบบพัฒนาผลิตภัณฑ์เชิง สร้างสรรค์และนวัตกรรมใหม่ เพื่อวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลผลิตภัณฑ์ยางส่งเสริมใช้มีการผลิตผลิตภัณฑ์ ปลายน้ำมากขึ้น ส่งเสริมให้นำผลงานวิจัยต่างๆ สามารถนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์และสร้างความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชนใน การออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์
11. ตั้ง Outlet ผลิตภัณฑ์ยางพาราไทยแต่ละจังหวัด (One Rubber one province: OROP) เพื่อจำหน่าย ผลิตภัณฑ์ยางพาราของผู้ประกอบการ SMEs กลุ่มสหกรณ์และวิสาหกิจชุมชนในพื้นที่ 12. ตั้งศูนย์ทดสอบผลิตภัณฑ์ และห้องทดลองในการ พัฒนาผลิตภัณฑ์ในแต่ละภูมิภาค เพื่อช่วยให้ผู้ประกอบการ SMES กลุ่มสหกรณ์ และวิสาหกิจชุมชนในพื้นที่ มีศูนย์ทดสอบผลิตภัณฑ์ และห้อง ทดลองของส่วนกลางให้ใช้เพิ่มพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ
13. ตั้งผู้แทนการค้ายางพาราของไทย (Thailand Rubber Trade Representative:TRTR) เพื่อทำหน้าที่ช่วย เหลือทางด้านการตลาดในกับผู้ประกอบการ SMES กลุ่มสหกรณ์ และวิสาหกิจชุมชนในพื้นที่รวมไปถึงการจัดงานแสดงสินค้าเพื่อนำสินค้า ของเกษตรกรและสหกรณ์ไปแสดงและจำหน่าย และ 14. จัดตั้งศูนย์เรียนรู้เพื่อการเพิ่มรายได้เกษตรกรยางพาราเพื่อให้ความรู้ เกษตรกรเกี่ยวกับการผสมผสานระหว่างยางพารากับพืชเศรษฐกิจอื่นๆ ในแต่ละท้องถิ่น ปรับแก้กฎหมายเรื่องการซื้อขายไม้เพื่อให้ไทย เป็นศูนย์การในการซื้อขายไม้เศรษฐกิจอย่างเสรี เช่น ไม้ยางนา ไม้ตะเคียนทอง อบรมวิธีการกรีดยางที่ถูกวิธีให้การชาวสวนและผู้ รับจ้างกรีดยางเพื่อเพิ่มผลิตผลิตและรายได้ และสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการบริหารธุรกิจให้กับเกษตรกรและสหกรณ์ เพื่อลด ต้นทุนการผลิต และการหาช่องทางจำหน่ายสินค้า
"ทั้ง 14 ข้อนี้เป็นข้อเสนอใหม่ที่จัดทำโดยความร่วมมือของมหาวิทยาลัยหอการค้าไทยร่วมกับสำนักงานกองทุนสนับสนุน งานวิจัย (สกว.) โดยข้อเสนอเหล่านี้ยังไม่เคยมีหน่วยงานไหนนำเสนอมาก่อน"นายอัทธ์ กล่าว
อย่างไรก็ตาม ไทยสามารถพัฒนาอุตสาหกรรมยางพาราอื่นๆ เช่น การเป็นศูนย์กลางผลิตล้อเครื่องบิน แผ่นรองราง รถไฟความเร็วสูงและหมอนรางรถไฟ และศูนย์กลางผลิตภัณฑ์ยางพาราเพื่ออุตสาหกรรมก่อสร้าง เป็นต้น
กรณีที่ไทยตั้งเป้าเป็นศูนย์กลางผลิตล้อเครื่องบิน ข้อมูลจากสมาคมเครื่องบิน ระบุว่า จำนวนเครื่องบินทุกประเทศทั้ง เครื่องบินโดยสาร ทหารและเอกชน มีจำนวน 312,000 ลำ เครื่องบินโดยสารขนาดกลางเฉลี่ยมี 6 ล้อ และเครื่องขนาดใหญ่มี 10 ล้อ เครื่องบินโดยสารเฉลี่ย 2 เดือนเปลี่ยนล้อ 1 ครั้ง รวมที่ต้องใช้ยางธรรมชาติในเครื่องบินทั้งหมด 468,000 ตัน นอกจาก นี้ มีความต้องการใช้ผลิตหมอนรางรถไฟอีกประมาณ 307,000 ตัน นอกจากนี้ยังมีอุตสาหกรรมอื่นๆ อีก ประมาณ 200,000 ตัน
"3 ส่วนนี้จะทำให้ความต้องการใช้ยางเพิ่มอีก 1,201,000 ตัน จาก 600,000 ตันในปัจจุบัน เป็น 1,800,000 ตัน จะทำให้สัดส่วนการใช้ในประเทศเพิ่มเป็น 40% จาก 14% ในปัจจุบัน"นายอัทธ์ กล่าว
ประเมินการเพิ่มการใช้ยางพาราในประเทศ ความต้องการใช้ยาง ปริมาณ (ตัน/ปี) ถนนยางพารา 226,000 ล้อเครื่องบิน 468,000 หมอนรางรถไฟ 307,000 อุตสาหกรรมอื่นๆ 200,000 รวม 1,201,000