นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา กล่าวว่า เงินบาทปิดตลาดเย็นนี้อยู่ที่ระดับ 32.75 บาท/ดอลลาร์ จากช่วง เช้าที่เปิดตลาดที่ระดับ 32.71/73 บาท/ดอลลาร์
ระหว่างวัน เงินบาทยังเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบแคบที่ 32.72-32.76 บาท/ดอลลาร์ ซึ่งปัจจัยชี้นำหลักคงต้องรอการ ประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) วันพรุ่งนี้ (19 ธ.ค.) จึงทำให้นักลงทุนค่อนข้างระมัดระวังการซื้อขายในวันนี้พอ สมควร เงินบาทจึงเคลื่อนไหวไม่มาก
"วันนี้แกว่งแคบๆ ปัจจัยชี้นำหลักคงต้องรอดูผลประชุม กนง.พรุ่งนี้ นักลงทุนจึงระวังการซื้อขายในวันนี้ บาทเลยไม่ขยับ ไปไหน" นักบริหารเงินระบุ
อย่างไรก็ดี ธนาคารกรุงศรีฯ คาดว่าพรุ่งนี้ กนง.มีโอกาสจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีก 0.25% ซึ่งเป็นการปรับ ขึ้นครั้งแรกในรอบ 7 ปี ส่วนการประชุมธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) คาดว่ารอบนี้จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีก 0.25% เช่นกัน
นักบริหารเงิน คาดว่า พรุ่งนี้เงินบาทจะเคลื่อนไหวในกรอบ 32.70 - 32.85 บาท/ดอลลาร์
- ช่วงเย็นเงินเยนอยู่ที่ระดับ 112.35 เยน/ดอลลาร์ จากช่วงเช้าที่ระดับ 112.70/73 เยน/ดอลลาร์
- ส่วนเงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.1379 ดอลลาร์/ยูโร จากช่วงเช้าที่ระดับ 1.1305/1309 ดอลลาร์/ยูโร
- ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ระดับ 1,583.19 จุด ลดลง 18.29 จุด (-1.14%) มูลค่าการซื้อขาย 42,528 ล้านบาท
- สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติซื้อสุทธิ 332.60 ลบ.(SET+MAI)
- ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กำชับให้ธนาคารพาณิชย์เตรียมสำรองธนบัตรใหม่ชนิดราคาต่างๆ เพื่อให้
สามารถรองรับความต้องการของประชาชนได้อย่างเพียงพอในช่วงปีใหม่ ทั้งนี้ คาดว่าธนาคารพาณิชย์จะเบิกจ่ายธนบัตรจาก ธปท.
สุทธิประมาณ 130,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 4.5% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน
- ธนาคารกรุงศรีอยุธยา (BAY) คาดการณ์ค่าเงินบาทในปี 62 มีโอกาสปรับตัวแข็งค่าขึ้น โดยประเมินกรอบเคลื่อน
ไหวในไตรมาส 1/62 จะอยู่ที่ 31.00-33.00 บาท/ดอลลาร์ จากค่าเงินดอลลาร์ที่ปรับตัวอ่อนค่าลง หลังธนาคารกลางสหรัฐฯ
(เฟด) ส่งสัญญาณจะปรับขึ้นดอกเบี้ยในอัตราที่ช้าลง โดยคาดจะปรับขึ้นในปีนี้อีก 1 ครั้ง และในปีหน้าอีก 3 ครั้ง เนื่องจากภาวะ
เศรษฐกิจสหรัฐฯ เข้าสู่ช่วงปลายวัฎจักรของการเติบโต
- สภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (สทท.) แถลงผลสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบการท่องเที่ยวในไตรมาส
4/61 เท่ากับ 100 ซึ่งเป็นระดับปกติ โดยปรับเพิ่มขึ้นจากระดับต่ำกว่าปกติในไตรมาส 2/61 ที่ระดับ 94 และไตรมาส 3/61 ที่ระดับ
96
- ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยว่า ดัชนีความเชื่อมั่นหอการค้าไทย เดือน พ.
ย.61 อยู่ที่ระดับ 48.3 เพิ่มขึ้นจากระดับ 48.0 ในเดือนต.ค.61 ปัจจัยที่ส่งผลเชิงบวก ได้แก่ การใช้จ่ายและการลงทุนต้นปีงบ
ประมาณของภาครัฐบาล, การเติบโตอย่างต่อเนื่องของการท่องเที่ยวในปลายปี, การนำเข้า-ส่งออกยังส่งสัญญาณการเติบโต, การ
จ้างงานในอุตสาหกรรมบริการช่วง High season และราคาสินค้าเกษตรปรับตัวดีขึ้น ส่วนปัจจัยที่ส่งผลในเชิงลบ เช่น ปัญหาความ
เชื่อมั่นในเศรษฐกิจไทยไตรมาสที่ 3, การปรับตัวลดลงของการลงทุนภาคเอกชน, การลดลงของภาคการค้าชายแดน, ปัญหาความ
ผันผวนของค่าเงินบาท
- ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบมาตรการส่งเสริมการชำระเงินเพื่อซื้อสินค้าและบริการ และการนำส่งข้อมูลภาษี
มูลค่าเพิ่มผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ โดยจะเป็นการกระตุ้นการใช้จ่าย ในระหว่างวันที่ 1-15 ก.พ.62 ซึ่งตรงกับช่วงเทศกาลตรุษจีน เพื่อ
ให้ประชาชนทั่วไปที่มีการใช้จ่ายผ่านบัตรเดบิตชำระค่าสินค้า วงเงินไม่เกิน 20,000 บาท จะได้รับคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) 5% หรือคิด
เป็นเม็ดเงินไม่เกิน 1,000 บาท สำหรับผู้ลงทะเบียนพร้อมเพย์ด้วยหมายเลขบัตรประชาชน
- กระทรวงการคลังสหรัฐ เปิดเผยว่า แม้จีนมียอดการถือครองพันธบัตรสหรัฐในเดือนต.ค.61 ลดลงแตะระดับต่ำสุด
ในรอบปี แต่จีนยังคงครองแชมป์ประเทศผู้ถือครองพันธบัตรสหรัฐมากที่สุดในโลกในเดือนดังกล่าว โดยยอดการถือครองพันธบัตรสหรัฐ
ของจีนในเดือนต.ค.อยู่ที่ 1.139 ล้านล้านดอลลาร์ ส่วนญี่ปุ่น เป็นผู้ถือครองพันธบัตรมากที่สุดเป็นอันดับ 2 ที่ระดับ 1.019 ล้านล้าน
ดอลลาร์
- หอการค้าอังกฤษ (BCC) คาดการณ์ว่าการขยายตัวของเศรษฐกิจอังกฤษในปี 2561 จะขยายตัวเพียง 1.2% และ
ปี 2562 จะขยายตัวเพียง 1.3% ซึ่งมีแนวโน้มการขยายตัวช้าสุด นับตั้งแต่ที่ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่สิ้นสุดลงในปี 2552 เนื่อง
ความไม่แน่นอนเกี่ยวกับการแยกตัวของอังกฤษออกจากสหภาพยุโรป (Brexit) จะฉุดรั้งการลงทุนภาคธุรกิจให้หยุดชะงัก และอุป
สงค์ผู้บริโภคที่มีแนวโน้มลดลง
- ผลตอบแทนพันธบัตรอายุ 10 ปีของญี่ปุ่น ปิดตลาดที่ระดับต่ำสุดในรอบ 5 เดือนครึ่ง หรือ 0.020% ในวันนี้ โดย
อัตราผลตอบแทนพันธบัตรหมายเลข 352 ซึ่งเป็นมาตรวัดอัตราดอกเบี้ยระยะยาว ปิดที่ 0.025% หรือลดลง 0.005% จากระดับปิด
เมื่อวานนี้ เนื่องจากนักลงทุนหันมาถือครองพันธบัตรในฐานะสินทรัพย์ที่ปลอดภัย หลังตลาดหุ้นโตเกียวและนิวยอร์กปรับตัวลง ประกอบ
กับความวิตกกังวลเกี่ยวกับการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก
--อินโฟเควสท์ โดย กษมาพร กิตติสัมพันธ์/รัชดา โทร.02-2535000 ต่อ 317 อีเมล์: rachada@infoquest.co.th--