น.ส.บรรจงจิตต์ อังศุสิงห์ อธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ เปิดเผยว่า กรมฯ มุ่งเน้นการผลักดันการส่งออกไปยังตลาดศักยภาพใหม่ๆ เพิ่มมากขึ้น ได้แก่ อาเซียน จีน ตะวันออกกลาง ลาตินอเมริกา อินเดีย และแอฟริกา ควบคู่ไปกับการรักษาตลาดหลัก ทั้งสหรัฐฯ ญี่ปุ่น และสหภาพยุโรป โดยเน้นผลักดันการส่งออกและลงทุน/ประกอบธุรกิจในต่างประเทศ ในสินค้าและธุรกิจบริการที่มีศักยภาพในคลัสเตอร์ที่ไทยมีความเชี่ยวชาญ (Indigenous Globally Competitive Cluster) ได้แก่ คลัสเตอร์เกษตรและอาหาร คลัสเตอร์อัญมณีและเครื่องประดับ และ 6 กลุ่มธุรกิจบริการเป้าหมาย (Wellness & Medical Services/ Creative Economy Industry/ Trade Logistics & Facilitation/ Institutional Services & Related/ Trade Supporting Services/ Digital Business) จึงได้จัดทำข้อมูลความต้องการสินค้าในแต่ละตลาดเพื่อช่วยส่งออกสินค้าไปต่างประเทศ อาทิ
ตลาดอาเซียน เป็นตลาดที่มีสัดส่วนกว่าหนึ่งในสี่ของการส่งออกทั้งหมดของไทย และเศรษฐกิจของกลุ่มอาเซียนยังขยายตัวอย่างมีเสถียรภาพ อีกทั้ง อาเซียนนิยม Brand ของไทย ทำให้โอกาสของไทยมีสูงมากโดยเฉพาะกลุ่ม สินค้าอุปโภค/บริโภค จักรกลการเกษตร เครื่องใช้ไฟฟ้า ธุรกิจบริการด้านก่อสร้าง/ตกแต่ง ด้านสุขภาพและความงาม ด้านท่องเที่ยวและโรงแรม โดย DITP มีกลยุทธ์ผลักดันการสร้างเสริมภาพลักษณ์แบรนด์ไทย ผ่านช่องทางเผยแพร่ เช่น social media และสื่ออื่นๆ และการจัดงาน Top Thai Brand 12 งาน ใน 9 ประเทศ ได้แก่ CLMV และยังมี จีน อินเดีย บังคลาเทศ ศรีลังกา ปากีสถาน ด้วย ขยายความร่วมมือระหว่างเมืองแนวชายแดนกับเมืองใน CLMM อีกทั้ง ร่วมมือกับภาคเอกชนผลักดันให้ไปลงทุนในธุรกิจค้าปลีกใน CLMV เพื่อใช้เป็นช่องทางกระจายสินค้า
สำหรับตลาดจีน จะใช้ประโยชน์จากความสัมพันธ์แนบแน่น เจาะรายมณฑลตามเส้นทาง BRI โดยเฉพาะ 11 มณฑลใน Pan Pearl River Delta (PPRD) และ Ecommerce เน้นกลุ่มสินค้าศักยภาพใหม่ๆ ทั้งนี้ ชาวจีนเชื่อถือคุณภาพ/ความปลอดภัย ของสินค้าเกษตรและสินค้าอาหารของไทย อีกทั้ง เจาะกลุ่ม Super Rich ด้วยสินค้าไลฟ์สไตล์ ดีไซน์ชั้นนำ และ Brand ในเมืองใหญ่ตลาดเอเชียตะวันออก/ออสเตรเลีย ไทยมีจุดแข็งด้านการบริการและความคิดสร้างสรรค์ ซึ่งจะใช้กลยุทธ์เชื่อมโยงกับเทคโนโลยีและนวัตกรรมของญี่ปุ่น สำหรับเกาหลีจะเชื่อมกับ E-Commerce ตลอดจนเจาะกลุ่ม รักสุขภาพในออสเตรเลีย
นอกจากนี้ ตลาดเอเชียใต้ จะผลักดัน SMEs ไทย ไปสร้างแบรนด์ ประกอบธุรกิจ ด้านบริการและธุรกิจสร้างสรรค์ รวมทั้งใช้ประโยชน์จากหุ้นส่วนยุทธศาสตร์ FTA/RCEP เนื่องจากเอเชียใต้ยังมีโอกาสขยายตัวอีกมาก จึงมุ่งเจาะรัฐที่มีศักยภาพ เช่น คุชราต รัฐของนายกฯ โมดี ตลอดจน อินเดียมี Super Rich มาก สินค้าไลฟ์สไตล์ ก่อสร้าง จึงมีโอกาสที่ดี รวมทั้ง ปากีสถาน ศรีลังกา มัลดีฟ
อีกทั้ง ตลาดแอฟริกาและตะวันออกกลาง มีโอกาสในการขยายสินค้าอาหาร สินค้าอุปโภคบริโภค เครื่องจักรกลการเกษตร สินค้าก่อสร้าง อัญมณี สินค้าฮาลาล เจาะตลาดใหม่ เช่น เยเมน กาตาร์ ขยายโอกาสทางการค้าสู่เมืองใหม่ในแอฟริกา