ธปท. แจงแผนการออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ปี 2562

ข่าวเศรษฐกิจ Friday January 11, 2019 15:41 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

รายงานข่าวจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ในปี 2562 จากการประเมินแนวโน้มภาวะสภาพคล่องและ ปัจจัยสำคัญอื่น ๆ โดยเฉพาะแผนการระดมทุนของภาครัฐ ภาวะตลาดพันธบัตร และความเห็นของผู้ร่วมตลาด ธปท.ได้วางแผนการออก พันธบัตร ธปท.สำหรับปี 2562 ดังนี้

1. กำหนดการประมูลพันธบัตร : ธปท.ยังคงกำหนดวันประมูลและความถี่ในการประมูลพันธบัตร ธปท.ประเภทอายุต่างๆ ไว้ ตามแนวทางปฏิบัติเดิม ทั้งนี้ ธปท. จะยกเลิกการ re-open พันธบัตรอายุ 1 ปี เปลี่ยนเป็นการออกพันธบัตรอายุ 1 ปีรุ่นใหม่ทุกเดือน เพื่อลดวงเงินรวมต่อรุ่น ซึ่งจะช่วยลดความผันผวนของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะสั้น โดยเฉพาะช่วงเวลาที่มีพันธบัตรระยะสั้นครบ กำหนดในปริมาณสูง โดย ธปท.พิจารณาแล้วว่าการยกเลิกการ re-open ไม่กระทบสภาพคล่องของพันธบัตรรุ่นดังกล่าว

ทั้งนี้ ธปท. จะเริ่มยกเลิกการ re-open ส่าหรับพันธบัตรอายุ 1 ปี ที่ประมูลในเดือนมีนาคม 2562 เป็นต้นไป (พันธบัตร ธปท. อายุ 1 ปีรุ่น CB19D06A ที่ประมูลเมื่อเดือนธันวาคม 2561 ยังคงมีการ re-open ต่ออีก 2 ครั้งในเดือนมกราคมและกุมภาพันธ์ 2562) ขณะที่รอบการประมูลและการ re-open สำหรับพันธบัตรอายุ 2 ปี และ 3 ปี ยังคงไว้ตามแนว ปฏิบัติเดิม

สำหรับพันธบัตรประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว อายุ 3 ปี ธปท.จะเปิดประมูลพันธบัตรรุ่นใหม่ในเดือนกุมภาพันธ์ 2562 และจะประมูลโดยการ re-open ต่ออีก 5 ครั้งทุกเดือนคู่ ทั้งนี้ ธปท.ปรับลดจำนวนครั้งการ re-open ของพันธบัตรรุ่นนี้ลงจาก เดิมที่ 11 ครั้ง เป็น 5 ครั้ง เนื่องจากพิจารณาว่าวงเงินรวมต่อรุ่นตามที่ก่าหนด เพียงพอต่อการสร้างสภาพคล่องของพันธบัตรรุ่นดัง กล่าวแล้ว

          ประเภทพันธบัตร                          วันประมูล           ความถี่ในการประมูล

1.พันธบัตรประเภทที่จำหน่ายเป็นส่วนลด
  - อายุไม่เกิน 15 วัน                               วันศุกร์            ตามความเหมาะสม
  - 1 เดือน                                      วันอังคาร           ตามความเหมาะสม
  - 3 และ 6 เดือน                                วันอังคาร               ทุกสัปดาห์
  - 1 ปี                                         วันอังคาร               ทุกเดือน
2.พันธบัตรประเภทอัตราดอกเบี้ยคงที่
  - 2 ปี                                         วันพฤหัสบดี              ทุกเดือน
  - 3 ปี                                         วันพฤหัสบดี              ทุกเดือนคี่
3. พันธบัตรประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว
  - 3 ปี                                          วันศุกร์                ทุกเดือนคู่

2. วงเงินการออกพันธบัตร: ธปท. ปรับลดกรอบวงเงินขั้นสูงของพันธบัตรอายุ 3 ปี และปรับเพิ่มกรอบขั้นสูงของ พันธบัตรประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว อายุ 3 ปี ขณะที่คงกรอบวงเงินประมูลพันธบัตร ธปท.ประเภทอายุอื่นไว้เช่นเดิม เพื่อให้สอด คล้องกับสภาพคล่องและภาวะตลาด รวมทั้งแผนการระดมทุนของภาครัฐ โดยสรุปรายละเอียดได้ดังนี้

          ประเภท            วงเงินประมูลค่อครั้ง           วงเงินรวมต่อรุ่น*          จำนวนรุ่นในปี
                               (ล้านบาท)                 (ล้านบาท)              2562 (รุ่น)

1. พันธบัตรประเภทที่จำหน่ายเป็นส่วนลด
   - อายุไม่เกิน 15 วัน          10,000-50,000            10,000-50,000          ตามความเหมาะสม
   - 1 เดือน                  10,000-30,000            10,000-30,000          ตามความเหมาะสม
   - 3 และ 6 เดือน            20,000-60,000            20,000-60,000              50-52
   - 1 ปี                     20,000-60,000            20,000-72,000                10
2. พันธบัตรประเภทอัตราดอกเบี้ยคงที่
   - 2 ปี                     15,000-40,000           45,000-144,000                 4
   - 3 ปี                     15,000-45,000           45,000-162,000                 2
3. พันธบัตรประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัว
   - 3 ปี                      8,000-25,000           48,000-180,000                 1
* วงงินรวมต่อรุ่น นับรวมวงเงินจากการใช้สิทธิในการซื้อพันธบัตร ธปท.เพิ่มเติมหลังการประมูล (Post-Auction Options)
แล้ว ซึ่งกำหนดไว้ที่ไม่เกิน 20% ของวงเงินประมูล

          สำหรับกำหนดการประมูลพันธบัตรรายเดือน ธปท.จะพิจารณาวงเงิน และประเภทอายุพันธบัตรให้เหมาะสมกับภาวะ
ตลาดเงินและตลาดพันธบัตร รวมทั้งคำนึงถึงการออกพันธบัตรรัฐบาล ตั๋วเงินคลัง และพันธบัตรรัฐวิสาหกิจในแต่ละช่วงเวลา โดย
ธปท. จะประสานงานกับส่านักงานบริหารหนี้สาธารณะอย่างใกล้ชิด และจะประกาศตารางประมูลพันธบัตร ธปท.ให้ตลาดทราบล่วง
หน้าทุกเดือนผ่านทาง website ของ ธปท.เช่นที่เคยปฏิบัติมา

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ