นายศิริ จิระพงษ์พันธ์ รมว.พลังงาน เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ซึ่งมี พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีเป็นประธาน ได้เห็นชอบแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย พ.ศ. 2561 - 2580 (PDP 2018) ตามที่กระทรวงพลังงานเสนอ
โดยการทบทวนสถานการณ์กำลังผลิตไฟฟ้าในปัจจุบัน และได้จัดทำการพยากรณ์ค่าความต้องการใช้ไฟฟ้าระยะยาว 20 ปี ประกอบด้วย ความต้องการใช้ไฟฟ้าของระบบ 3 การไฟฟ้า และความต้องการใช้ไฟฟ้าที่มาจากการผลิตไฟฟ้าเพื่อใช้เองหรือขายตรง (Independent Power Supply: IPS) ทั้งในระดับประเทศและระดับภูมิภาค ได้สะท้อนแนวนโยบายของรัฐบาลและการเจริญเติบโต ทางเศรษฐกิจที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต ซึ่งสอดคล้องกับแนวทางของแผนปฏิรูปด้านพลังงาน และได้รับฟังความคิดเห็นจากผู้มีส่วนได้เสีย ทุกภาคส่วนแล้ว
ภาพรวมของกำลังการผลิตไฟฟ้าในช่วง ปี 2561-2580 กำลังผลิตไฟฟ้าช่วงปี 2561-2580 เมกะวัตต์ กำลังผลิตไฟฟ้าสิ้นปี 2560 46,090 กำลังผลิตไฟฟ้าที่ปลดออกจากระบบ ในช่วงปี 2561-2580 -25,310 กำลังผลิตไฟฟ้าใหม่ ในช่วงปี 2561-2580 56,431 รวมกำลังผลิตไฟฟ้าทั้งสิ้นถึงปี 2580 77,211
สรุปกำลังการผลิตไฟฟ้าในช่วงปี 2561-2580 แยกตามประเภทโรงไฟฟ้า ประเภทโรงไฟฟ้า กำลังผลิตไฟฟ้าใหม่ (หน่วย:เมกะวัตต์) โรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน 20,766 โรงไฟฟ้าพลังน้ำสูบกลับ 500 โรงไฟฟ้าระบบโคเจนเนอเรชั่น 2,112 โรงไฟฟ้าความร้อนร่วม 13,156 โรงไฟฟ้าถ่านหิน/ลิกไนต์ 1,740 รับซื้อจากต่างประเทศ 5,857 โรงไฟฟ้าใหม่/ทดแทน 8,300 แผนอนุรักษ์พลังงาน 4,000 รวม 56,431
โรงไฟฟ้าตามนโยบายการส่งเสริมของภาครัฐ ในช่วงปี 2561 – 2580 ประกอบด้วย โรงไฟฟ้าขยะ 400 เมกะวัตต์ โรง ไฟฟ้าชีวมวลประชารัฐ 120 เมกะวัตต์ รวม 520 เมกะวัตต์
โรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนตามแผน AEDP ประกอบด้วย ชีวมวล 3,376 เมกะวัตต์ ก๊าซชีวภาพ 546 เมกะวัตต์ พลังงาน แสงอาทิตย์ 10,000 เมกะวัตต์ พลังงานแสงอาทิตย์ทุ่นลอยน้ำร่วมกับโรงไฟฟ้าพลังน้ำ 2,725 เมกะวัตต์ พลังงานลม 1,485 เมกะวัตต์ ขยะอุตสาหกรรม 44 เมกะวัตต์ กำลังผลิตไฟฟ้าใหม่ 18,176 เมกะวัตต์
สัดส่วนการผลิตพลังงานไฟฟ้าแยกตามประเภทเชื้อเพลิง ณ ปี 2580 ที่ไม่ได้มาจากเชื้อเพลิงฟอสซิล มีสัดส่วนร้อยละ 35 คือ พลังน้ำต่างประเทศ (ร้อยละ 9) พลังงานหมุนเวียน (ร้อยละ 20) การอนุรักษ์พลังงาน (ร้อยละ 6) สัดส่วนการผลิตไฟฟ้าจากถ่าน หินลดลงเหลือร้อยละ 12 การปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) จะสอดคล้องกับข้อตกลงของ COP21 ณ ปี 2580 เท่ากับ 0.283 kgCO2/kWh หรือ 103,845 พันตัน
ประมาณการค่าไฟฟ้าขายปลีก ในช่วงปี 2561 – 2580 อยู่ระหว่าง 3.50 - 3.63 บาทต่อหน่วย หรือเฉลี่ย 3.58 บาทต่อ หน่วย
ให้กระทรวงพลังงานมีการทบทวนใหม่ทุก 5 ปี หรือเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อเป้าหมายของแผน อย่างมีนัยสำคัญ โดยให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ไปดูแลความมั่นคงของระบบไฟฟ้า การเป็นศูนย์กลางซื้อขาย ไฟฟ้าในภูมิภาค การเชื่อมโยงกับระบบจำหน่าย เพื่อรองรับพลังงานหมุนเวียนในอนาคต
ให้คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) พิจารณาแนวทางการจัดหาโรงไฟฟ้าให้เป็นไปตามแผน PDP2018 ในหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการรับซื้อไฟฟ้า ระยะเวลา พื้นที่ ปริมาณและราคารับซื้อไฟฟ้า เทคโนโลยีและเชื้อเพลิงในการผลิต ไฟฟ้า รวมถึงประเด็นอื่นๆ โดยคำนึงถึงความมั่นคงของระบบไฟฟ้าภาคตะวันตกและภาคใต้ ความพร้อมและการยอมรับชนิดของเชื้อ เพลิงในด้านสิ่งแวดล้อม เป็นต้น
มอบ กฟผ. ดำเนินการศึกษาและจัดทำแผนการพัฒนาระบบส่งไฟฟ้าของประเทศเพื่อเสริมความมั่นคงของระบบไฟฟ้า เพิ่มประสิทธิภาพ เป็นศูนย์กลางซื้อขายไฟฟ้า (Grid connection) ในภูมิภาค รวมถึงการเชื่อมโยงกับระบบจำหน่าย เพื่อให้ สามารถรองรับการเพิ่มขึ้นของพลังงานหมุนเวียนในอนาคต (Grid Modernization)
ให้ กบง. และ กกพ. พิจารณาแนวทางการดำเนินการโครงการพลังงานแสงอาทิตย์โซลาร์ภาคประชาชน ปีละ100 เมกะวัตต์ 10 ปี ตั้งแต่ปี 2562 เป็นต้นไป เพื่อให้เกิดผลในทางปฏิบัติ
นอกจากนี้ ที่ประชุม กพช.ยังเห็นชอบหลักการคิดอัตราค่าไฟฟ้า และหลักการของสัญญาซื้อขายไฟฟ้าโครงการน้ำงึม 1 และโครงการเขื่อนเซเสด ฉบับใหม่มีสาระสำคัญหลัก คือ หลักการคิดอัตราค่าไฟฟ้าใหม่ที่เป๊นปัจจุบันมีอายุสัญญา 1 ปี และสามารถ ต่อสัญญาต่อเนื่อง