นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงเทพ เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดเย็นนี้อยู่ที่ระดับ 31.53/55 บาท/ดอลลาร์ อ่อนค่า จากช่วงเช้าที่เปิดตลาดที่ระดับ 31.47/79 บาท/ดอลลาร์
เงินบาทในช่วงเย็นนี้อ่อนค่าจากเช้า และทำระดับ high สุดของวัน ซึ่งเป็นผลมาจากแรงซื้อขายในระหว่างวันเป็น หลัก โดยวันนี้ยังไม่มีปัจจัยที่มีผลต่อการเคลื่อนไหวของค่าเงินเป็นพิเศษ ตลาดยังแค่รอติดตามผลการประชุมคณะกรรมการกำหนด นโยบายการเงิน ธนาคารกลางสหรัฐ (FOMC) ในช่วงกลางสัปดาห์นี้ รวมทั้งติดตามการเจรจาการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีน ในช่วงเวลาเดียวกันด้วย
"ช่วงเย็นนี้เงินบาทอ่อนค่าลงมา ซึ่งถือว่าเป็น high สุดของวัน แต่ก็เป็นผลจากแรงซื้อขายปกติ ไม่ได้มาจากปัจจัย ไหนเป็นพิเศษ ตอนนี้ตลาดจับตาผลประชุม FOMC กับการเจรจาระหว่างสหรัฐและจีนที่จะมีขึ้นในช่วงกลางสัปดาห์" นักบริหารเงิน ระบุ
นักบริหารเงิน คาดว่า พรุ่งนี้เงินบาทยังมีทิศทางแข็งค่า มองกรอบการเคลื่อนไหวที่ 31.50-31.60 บาท/ดอลลาร์
- เงินเยนอยู่ที่ระดับ 109.40/42 เยน/ดอลลาร์ จากช่วงเช้าที่ระดับ 109.41/44 เยน/ดอลลาร์
- ส่วนเงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.1405/1409 ดอลลาร์/ยูโร จากช่วงเช้าที่ระดับ 1.1414/1418 ดอลลาร์/ยูโร
- ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ระดับ 1,625.03 จุด เพิ่มขึ้น 1.41 จุด (+0.09%) มูลค่าการซื้อขาย 48,391 ล้านบาท
- สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติซื้อสุทธิ 2,087.36 ล้านบาท(SET+MAI)
- สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ประมาณการเศรษฐกิจไทยปี 62 จะเติบโตได้ 4% ชะลอตัวลงเล็กน้อยจาก
ปี 61 ที่เติบโตได้ 4.1% ส่วนการส่งออกปีนี้คาดว่าจะเติบโต 4.5% การนำเข้า 5.4% อัตราเงินเฟ้อทั่วไปที่ 1.0% อัตราเงินเฟ้อ
พื้นฐานที่ 0.9% โดยประเมินว่าการลงทุนภาคเอกชนในปีนี้จะเติบโตได้ 4.5% ส่วนการลงทุนภาครัฐเติบโตได้ 5.3% ขณะที่การ
บริโภคภาคเอกชนปีนี้ เติบโต 4.3% การบริโภคภาครัฐ เติบโต 2.3%
- ผู้อำนวยการ สศค. ระบุว่า ความชัดเจนเรื่องการกำหนดวันเลือกตั้ง จะเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยสนับสนุนความเชื่อมั่น
ของภาคเอกชน และมีผลต่อการลงทุนของภาคเอกชนให้เติบโตได้กว่าปีก่อน รวมถึงแนวโน้มจากการใช้จ่ายภาคครัวเรือนที่ยังขยาย
ตัวได้ต่อเนื่อง มาตรการจากบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ จะยังเป็นปัจจัยหลักที่ช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยในปี 62 หลังจากภาคการส่ง
ออกมีสัญญาณการเติบโตที่ชะลอตัวลงตามแนวโน้มเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้า
พร้อมมองว่า การมีรัฐบาลใหม่จะมีผลในด้านจิตวิทยากับนักลงทุน ซึ่งจะเป็นผลดีกับการเติบโตของเศรษฐกิจในอนาคต ซึ่ง สศค. ให้ความสำคัญในส่วนนี้มากกว่าปริมาณเม็ดเงินจากการเลือกตั้งที่จะเข้ามากระตุ้นเศรษฐกิจได้ในช่วงสั้นเท่านั้น
- สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) เปิดเผยภาวะเศรษฐกิจการคลังเดือน ธ.ค.61 และไตรมาส 4/61 ว่า
เศรษฐกิจไทยยังขยายตัวได้ต่อเนื่อง แม้ว่าเครื่องชี้เศรษฐกิจประจำเดือน ธ.ค.61 จะมีสัญญาณชะลอตัวอยู่บ้าง ซึ่งเป็นผลจากการ
ส่งออกสินค้าที่หดตัวจากภาวะเศรษฐกิจโลก แต่การใช้จ่ายภายในประเทศยังขยายตัวได้ต่อเนื่อง ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการปรับตัวดีขึ้น
ของรายได้เกษตรกรในช่วงปลายปี 61 บวกกับจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่ยังขยายตัวเร่งขึ้นในไตรมาสสุดท้าย ช่วยสนับสนุนการ
ขยายตัวของเศรษฐกิจไทย ส่วนเสถียรภาพเศรษฐกิจทั้งภายในและภายนอกยังอยู่ในเกณฑ์ดี และรองรับความผันผวนของเศรษฐกิจ
โลกได้
- สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) เปิดเผยรายงานภาวะเศรษฐกิจภูมิภาคประจำเดือนธันวาคม และไตรมาสที่
4 ปี 2561 ว่า เศรษฐกิจภูมิภาคในเดือนธันวาคม และไตรมาสที่ 4 ปี 2561 ยังคงขยายตัวในหลายภูมิภาค นำโดยภาคตะวันออก
เฉียงเหนือ, ภาคเหนือ และภาคตะวันออก โดยได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการขยายตัวของการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชน ใน
ขณะที่การท่องเที่ยว ยังคงขยายตัวในหลายภูมิภาคเช่นกัน สำหรับเสถียรภาพเศรษฐกิจทุกภูมิภาคยังอยู่ในเกณฑ์ดี
- ตลาดการเงินจับตาการเจรจาการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีนในสัปดาห์นี้ โดยนายหลิว เหอ รองนายกรัฐมนตรีจีน
จะเดินทางเยือนสหรัฐในวันที่ 30-31 ม.ค.นี้ เพื่อเจรจาการค้ากับเจ้าหน้าที่สหรัฐ และคาดหวังที่จะยุติข้อพิพาททางการค้าที่ยืดเยื้อ
มาเป็นระยะเวลานานหลายเดือน ทั้งนี้ หากจีนและสหรัฐไม่สามารถตกลงกันเกี่ยวกับแนวทางแก้ไขปัญหาที่ถาวร ประธานาธิบดีโดนัล
ด์ ทรัมป์ จะเดินหน้าเพิ่มการเก็บภาษีนำเข้าจากสินค้าจีนมูลค่า 2 แสนล้านดอลลาร์ สู่ระดับ 25% จากปัจจุบันที่ 10%
- เอสแอนด์พี โกลบอล เรทติ้ง สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือชั้นนำของโลก ระบุว่า เศรษฐกิจสหรัฐได้รับความเสีย
หายอย่างน้อย 6 พันล้านดอลลาร์ ในระหว่างการปิดหน่วยงานรัฐบาลบางส่วน (ชัตดาวน์) ที่ยาวนานที่สุดในประวัติศาสตร์ โดยตัว
เลขดังกล่าวสูงกว่างบประมาณในการก่อสร้างกำแพงกั้นระหว่างพรมแดนสหรัฐ-เม็กซิโก มูลค่า 5.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ที่
ประธานาธิบดีทรัมป์ ยื่นข้อเรียกร้องให้สภาคองเกรสผ่านความเห็นชอบ จนนำมาซึ่งวิกฤตทางตันของกฎหมายงบประมาณสหรัฐ
- รมว.คลังญี่ปุ่น ให้คำมั่นว่า การปรับขึ้นภาษีจะไม่ทำให้การใช้จ่ายภาคครัวเรือนร่วงลง จนส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ
ญี่ปุ่น พร้อมกันนี้ ได้ร้องให้ฝ่ายนิติบัญญัติ เร่งผ่านร่างงบประมาณปีงบ 2562 ซึ่งประกอบด้วย แผนการกระตุ้นเศรษฐกิจวงเงิน 2
ล้านล้านเยน (1.8 หมื่นล้านดอลลาร์) เพื่อรองรับอุปสงค์ ภายหลังจากที่มีการปรับขึ้นภาษีผู้บริโภคจาก 8% เป็น 10% ในวันที่ 1
ต.ค.ปีนี้
--อินโฟเควสท์ โดย กษมาพร กิตติสัมพันธ์/วิลาวัลย์ โทร.02-2535000 อีเมล์:
[email protected]