นายไพรินทร์ ชูโชติถาวร รมช.คมนาคม เป็นประธานเปิดการสัมมนาโครงการศึกษาพัฒนาเมืองกับระบบโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคม ครั้งที่ 1 ปาฐกถาพิเศษ"ร่วมสร้างเมือง TOD เสริมศักยภาพพื้นที่ สร้างเศรษฐกิจไทยมั่นคง" กล่าวถึงแนวโน้ม (Trend) การพัฒนาระบบคมนาคมขนส่งและเมืองของโลกในปัจจุบันและอนาคต แนวคิดการพัฒนาเมืองโดยรอบสถานีขนส่ง (Transit-Oriented Development : TOD) ที่จะเป็นแนวคิดพัฒนาเมืองและชุมชนควบคู่ไปกับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่ง โดยเน้นการพัฒนาพื้นที่รอบสถานีขนส่งสาธารรณะเป็นศุนย์กลางเชื่อมต่อการเดินทาง กำหนดรูปแบบ การใช้ที่ดินให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพื่อสร้างชุมชนรอบสถานีให้เป็นชุมชนคุณภาพ น่าอยู่ น่าลงทุนทำธุรกิจ เพื่อส่งเสริมให้เกิดกิจกรรมการเดินทางเช้าออกพื้นที่ด้วยระบบขนส่งสาธารณะและส่งเสริมการดินทางในพื้นทีด้วนการเดินทาง โดยไม่ใช้รถยนต์ หรือ รถจักรยานยนต์
ที่ผ่านมา ก.คมนาคมมีกม.เวนคืนที่ดินเป็นเครื่องมือในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน แต่มีจุดอ่อนที่รัฐไม่สามารถนำที่ดินเวนคืนไปใช้ประโยชน์อื่น ในอดีตมุ่งเน้นพัฒนาเฉพาะโครงสร้างพื้นฐาน ไม่ได้มองถึงการพัฒนาชุมชน สร้างแค่สถานีแล้วปล่อยให้เป็นไปตามธรรมชาติ แต่ปัจจุบัน จะต้องมีการกำหนดสถานีหลักๆ ที่เป็น TOD คือให้ใช้ประโยชน์จากการพัฒนา เช่น ตัวสถานีเป็นแม่เหล็ก ในการดึงดูดเรือ่งการเดินทาง และกรจายคนออกไปสู่พื้นที่ หรือแหล่งท่องเที่ยวต่างๆโดยมีสถานีเป็นศูนย์กลาง และเป็นตัวดึงดูด ดังนั้น ก.คมนาคมจึงได้ปรับแนวคิดการพัฒนา โดยคำนึงเรื่องการใช้ประโยชน์รอบสถานีให้มากขึ้น การพัฒนาพื้นที่แนวคิด TOD จะทำให้ชุมชนได้ประโยชน์ ยกเว้นผู้เก็งกำไรที่ดิน
รมช.คมนาคม กล่าวว่า พ.ร.บ.อีอีซีในมาตรา 34 ได้ระบุการพัฒนาเมืองในเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) แนวคิด TOD ในพื้นที่ 3 จังหวัด ได้แก่ ชลบุรี ระยอง และ ฉะเชิงเทรา โดยคาดว่าจะนำพื้นที่ฉะเชิงเทราเป็นเมืองต้นแบบ ขณะที่การเตรียมออกกฎหมาย TOD คงไม่นาน ซึ่งลักษณะคล้ายกม.ส่งเสริมการลงทุน (BOI) โดยคาดว่าจะใช้กับการลงทุนโครงข่ายระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนระยะที่ 2 (M-MAP2) รวมถึง มอเตอร์เวย์
นายคณิศ แสงสุพรรณ เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) กล่าวว่า แนวคิดพัฒนาเมือง TOD จะช่วยแก้ปัญหาที่แยกการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน กับการพัฒนาเมือง ที่ผ่านมาต่างคนต่างทำ ไม่ได้วางผังเมือง ตนสนับสนุนให้กระทรวงคมนาคม นำพื้นที่มาดูแลมีการพัฒนาเมืองแบบ TOD จะทำให้การลงทุนโครงสร้างพื้นฐานมีความคุ้มค่า ได้แก่การพัฒนาเมืองการบิน การพัฒนาพื้นที่ในฉะเชิงเทรา ชลบุรี และ พัทยา หรือ โครงการรถไฟความเร็วสูง กรุงเทพ-นครราชสีมา (รถไฟไทยจีน)
ทั้งนี้ การพัฒนาเมืองการบินไปสู่มหานครการบินภาคตะวันออก มีแนวทางขยายตัว แนวทางแรก ขยายการท่องเที่ยวและเมืองทันสมัยน่าอยู่ ได้แก่ สนามบิน-สัตหีบ- บางสะเหร่ -จอมเทียน-พัทยา -ศรีราชา และ สนามบิน-บ้านฉาง-มาบตาพุด-ระยอง-เกาะเสม็ด แนวทางที่ 2 ขยายธุรกิจอุตสาหกรรมเป้าหมาย และบริการ ได้แก่ สนามบิน-ตามถนน 331 (60 กม.ถึง ศรีราชา บ้านบึง) และ สนามบิน-นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด-ถนน3191 และถนน 36 โดยใช้ระยะยเวลา 5 ปีแรก ขยาย 10 กม. รอบสนามบิน (ประมาณ 140,000 ไร่)
ด้านนายชยธรรม์ พรหมศณ รองผู้อำนวยการสำนักนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) กล่าวงว่า สนข.ได้ว่าจ้างกลุ่มที่ปรึกษาดำเนินการศึกษาพัฒนาเมืองกับระบบโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่ง โดยคาดใช้เวลา 2 ปี (62-63) ทั้งนี้ การพัฒนาเมืองกับระบบโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่ง (Transit – Oriented Development: TOD) ให้ประสบความสำเร็จนั้น ปัจจัยสำคัญที่จะส่งผลความสำเร็จคือ การมีส่วนร่วมกับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องและการสื่อสารที่ทำให้เกิดความเข้าใจตรงกัน ซึ่งจะทำให้เกิดการยอมรับ แนวร่วมการพัฒนาโครงการ และการขับเคลื่อนการพัฒนาเมืองต้นแบบ ให้เกิดผลเป็นรูปธรรมสามารถปฏิบัติได้จริง