ขณะที่ทั่วโลกกำลังวิตกกังวลว่า เศรษฐกิจสหรัฐอาจเข้าสู่ภาวะถดถอย เนื่องจากปัญหาในตลาดสินเชื่อและปัญหาที่ธนาคารพาณิชย์รายใหญ่หลายแห่งเปิดเผยตัวเลขขาดทุนในตลาดซับไพรม์มูลค่ามหาศาลนั้น ธนาคารโซซิเอเต เจเนอราล (ซอคเจน) ซึ่งเป็นธนาคารรายใหญ่ที่สุดอันดับ 2 ของฝรั่งเศส ได้ออกมาเปิดเผยว่า ธนาคารตรวจพบการฉ้อโกงของเทรดเดอร์รายหนึ่ง ซึ่งอาจสร้างความเสียหายให้กับธนาคารเป็นวงเงินสูงถึง 4.9 พันล้านยูโร (7.16 พันล้านดอลลาร์) จนเป็นเหตุให้ธนาคารกลางฝรั่งเศสยื่นมือเข้าตรวจสอบเรื่องนี้
อย่างไรก็ตาม ปัญหาการฉ้อโกงที่เกิดขึ้นกับซอคเจนไม่ใช่ครั้งแรกที่เกิดขึ้นกับธนาคารพาณิชย์ สำนักข่าวเอพีได้พลิกปูมคดีฉ้อโกงธนาคารพาณิชย์ทั่วโลกตั้งแต่อดีตจนถึงปีปัจจุบันดังนี้
2552 - ธนาคารโซซิเอเต เจเนอราล (ซอคเจน) เปิดเผยว่า นายเจโรม เคอร์วีล เทรดเดอร์ด้านการซื้อขายล่วงหน้าของซอคเจน ได้ฉ้อโกงธนาคารเป็นวงเงินสูงถึง 4.9 พันล้านยูโร หรือ 7.16 พันล้านดอลลาร์ โดยนายเคอร์วีลได้หลอกลวงเจ้าหน้าที่กำกับดูแลด้านการธนาคารและดำเนินงานอย่างล้ำเส้นหน้าที่ของตนเอง
2545 -- นายจอห์น รัสแน็ค อดีตเทรดเดอร์ค้าเงิน ถูกกล่าวหาว่าฉ้อโกงธนาคารออลเฟิร์สท์ ในเมืองบัลติมอร์ เป็นวงเงินมูลค่า 691 ล้านดอลลาร์ ซึ่งเป็นหนึ่งในคดีฉ้อโกงเงินธนาคารครั้งใหญ่สุดในประวัติศาสตร์สหรัฐ โดยในเวลานั้นธนาคารออลเฟิร์สท์อยู่ภายใต้การดูแลของธนาคารอัลไลด์ ไอริช แบงค์ ทั้งนี้ ในเวลาต่อมา นายรัสแน็คยอมรับข้อกล่าวหาดังกล่าว และถูกตัดสินจำคุก 7 ปีครึ่งในปี 2546
2539 -- ซูมิโตโม่ คอร์ป ซึ่งเป็นสถาบันการเงินด้านการซื้อขายโลหะที่มีอายุเก่าแก่ถึง 300 ปีของญี่ปุ่น เปิดเผยว่า นายยาซูโฮ คามานากะ เทรดเดอร์โลหะทองแดงคนสำคัญของบริษัท ฉ้อโกงเงินจนทำให้ซูมิโตโม่ได้รับความเสียหายถึง 2.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยใช้วิธีทำการซื้อขายโดยไม่ได้รับอนุญาตมาเป็นเวลานานนับ 10 ปี ซึ่งการเปิดเผยคดีฉ้อโกงในครั้งนี้ส่งผลให้ราคาทองแดงทั่วโลกร่วงลงอย่างรุนแรง อีกทั้งเป็นเหตุให้ซูมิโตโม่ต้องจ่ายเงินให้กับผู้เสียหายในคดีนี้หลายล้านดอลลาร์ และในที่สุดนายคามานากะถูกตัดสินจำคุกกว่า 7 ปี
2538 -- ธนาคารแบร์ริ่ง ของอังกฤษ ล้มละลาย หลังจากนาย นิค ลีสัน เทรดเดอร์ของแบร์ริ่งในสิงคโปร์ ก่อคดีฉ้อโกงจนเป็นเหตุให้ธนาคารแบร์ริ่งได้รับความเสียหาย 860 ล้านปอนด์ หรือ 1.38 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งข่าวการล้มละลายของธนาคารแบร์ริ่ง ส่งผลให้ธนาคารพาณิชย์ทั่วโลกประกาศใช้มาตรการตรวจสอบการซื้อขายระหว่างประเทศอย่างเข้มงวด ส่วนนายลีสันถูกศาลตัดสินจำคุก 4 ปี
2538-- ธนาคารไดวา ของญี่ปุ่น เปิดเผยว่า นายโตชิฮิเดะ อิกูชิ เทรดเดอร์ของไดวาในกรุงนิวยอร์ก ลักลอบทำการซื้อขายเป็นเวลานานกว่า 12 ปี ส่งผลให้ไดวาได้รับความเสียหายเป็นวงเงินสูงถึง 1.1 พันล้านดอลลาร์ ส่งผลให้ธนาคารไดวาถูกปรับเป็นเงิน 340 ล้านดอลลาร์ และถูกสั่งให้ปิดกิจการในสหรัฐทันที ส่วนนายอิกูชิถูกศาลตัดสินจำคุก 4 ปีและถูกเปรียบเทียบปรับ
2537 -- คิดเดอร์ พีบอดี้ แอนด์ โค ซึ่งเป็นบริษัทโบรกเกอร์ของสหรัฐ เปิดเผยว่า นายโยเซฟ เจ็ทท์ เทรดเดอร์ด้านการซื้อขายพันธบัตรรัฐบาล ถูกศาลสั่งปรับหลังจากก่อคดีฉ้อโกงเป็นเงิน 348 ล้านดอลลาร์
2534 -- แบงค์ ออฟ เครดิต แอนด์ คอมเมิร์ซ อินเตอร์เนชั่นแนล (บีซีซีไอ) ซึ่งดำเนินงานในเกือบ 70 ประเทศทั่วโลก ถูกคณะกรรมการกำกับดูแลด้านการธนาคารของสหรัฐสั่งยึดทรัพย์ หลังจากผู้ตรวจสอบบัญชีรายงานว่า บีซีซีไอ ขาดทุนมูลค่ามหาศาลจากการปล่อยกู้ที่ผิดกฎหมายให้นักลงทุนที่ใช้ข้อมูลวงในของบริษัท เหตุการณ์ครั้งนั้นส่งผลให้ลูกค้าที่ฝากเงินในธนาคารแห่งนี้กว่า 250,000 รายต้องสูญเงินฝาก และมีการฟ้องร้องค่าเสียหายเป็นวงเงินกว่า 1 หมื่นล้านดอลลาร์
อย่างไรก็ตาม ปัญหาการฉ้อโกงที่เกิดขึ้นกับซอคเจนไม่ใช่ครั้งแรกที่เกิดขึ้นกับธนาคารพาณิชย์ สำนักข่าวเอพีได้พลิกปูมคดีฉ้อโกงธนาคารพาณิชย์ทั่วโลกตั้งแต่อดีตจนถึงปีปัจจุบันดังนี้
2552 - ธนาคารโซซิเอเต เจเนอราล (ซอคเจน) เปิดเผยว่า นายเจโรม เคอร์วีล เทรดเดอร์ด้านการซื้อขายล่วงหน้าของซอคเจน ได้ฉ้อโกงธนาคารเป็นวงเงินสูงถึง 4.9 พันล้านยูโร หรือ 7.16 พันล้านดอลลาร์ โดยนายเคอร์วีลได้หลอกลวงเจ้าหน้าที่กำกับดูแลด้านการธนาคารและดำเนินงานอย่างล้ำเส้นหน้าที่ของตนเอง
2545 -- นายจอห์น รัสแน็ค อดีตเทรดเดอร์ค้าเงิน ถูกกล่าวหาว่าฉ้อโกงธนาคารออลเฟิร์สท์ ในเมืองบัลติมอร์ เป็นวงเงินมูลค่า 691 ล้านดอลลาร์ ซึ่งเป็นหนึ่งในคดีฉ้อโกงเงินธนาคารครั้งใหญ่สุดในประวัติศาสตร์สหรัฐ โดยในเวลานั้นธนาคารออลเฟิร์สท์อยู่ภายใต้การดูแลของธนาคารอัลไลด์ ไอริช แบงค์ ทั้งนี้ ในเวลาต่อมา นายรัสแน็คยอมรับข้อกล่าวหาดังกล่าว และถูกตัดสินจำคุก 7 ปีครึ่งในปี 2546
2539 -- ซูมิโตโม่ คอร์ป ซึ่งเป็นสถาบันการเงินด้านการซื้อขายโลหะที่มีอายุเก่าแก่ถึง 300 ปีของญี่ปุ่น เปิดเผยว่า นายยาซูโฮ คามานากะ เทรดเดอร์โลหะทองแดงคนสำคัญของบริษัท ฉ้อโกงเงินจนทำให้ซูมิโตโม่ได้รับความเสียหายถึง 2.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยใช้วิธีทำการซื้อขายโดยไม่ได้รับอนุญาตมาเป็นเวลานานนับ 10 ปี ซึ่งการเปิดเผยคดีฉ้อโกงในครั้งนี้ส่งผลให้ราคาทองแดงทั่วโลกร่วงลงอย่างรุนแรง อีกทั้งเป็นเหตุให้ซูมิโตโม่ต้องจ่ายเงินให้กับผู้เสียหายในคดีนี้หลายล้านดอลลาร์ และในที่สุดนายคามานากะถูกตัดสินจำคุกกว่า 7 ปี
2538 -- ธนาคารแบร์ริ่ง ของอังกฤษ ล้มละลาย หลังจากนาย นิค ลีสัน เทรดเดอร์ของแบร์ริ่งในสิงคโปร์ ก่อคดีฉ้อโกงจนเป็นเหตุให้ธนาคารแบร์ริ่งได้รับความเสียหาย 860 ล้านปอนด์ หรือ 1.38 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งข่าวการล้มละลายของธนาคารแบร์ริ่ง ส่งผลให้ธนาคารพาณิชย์ทั่วโลกประกาศใช้มาตรการตรวจสอบการซื้อขายระหว่างประเทศอย่างเข้มงวด ส่วนนายลีสันถูกศาลตัดสินจำคุก 4 ปี
2538-- ธนาคารไดวา ของญี่ปุ่น เปิดเผยว่า นายโตชิฮิเดะ อิกูชิ เทรดเดอร์ของไดวาในกรุงนิวยอร์ก ลักลอบทำการซื้อขายเป็นเวลานานกว่า 12 ปี ส่งผลให้ไดวาได้รับความเสียหายเป็นวงเงินสูงถึง 1.1 พันล้านดอลลาร์ ส่งผลให้ธนาคารไดวาถูกปรับเป็นเงิน 340 ล้านดอลลาร์ และถูกสั่งให้ปิดกิจการในสหรัฐทันที ส่วนนายอิกูชิถูกศาลตัดสินจำคุก 4 ปีและถูกเปรียบเทียบปรับ
2537 -- คิดเดอร์ พีบอดี้ แอนด์ โค ซึ่งเป็นบริษัทโบรกเกอร์ของสหรัฐ เปิดเผยว่า นายโยเซฟ เจ็ทท์ เทรดเดอร์ด้านการซื้อขายพันธบัตรรัฐบาล ถูกศาลสั่งปรับหลังจากก่อคดีฉ้อโกงเป็นเงิน 348 ล้านดอลลาร์
2534 -- แบงค์ ออฟ เครดิต แอนด์ คอมเมิร์ซ อินเตอร์เนชั่นแนล (บีซีซีไอ) ซึ่งดำเนินงานในเกือบ 70 ประเทศทั่วโลก ถูกคณะกรรมการกำกับดูแลด้านการธนาคารของสหรัฐสั่งยึดทรัพย์ หลังจากผู้ตรวจสอบบัญชีรายงานว่า บีซีซีไอ ขาดทุนมูลค่ามหาศาลจากการปล่อยกู้ที่ผิดกฎหมายให้นักลงทุนที่ใช้ข้อมูลวงในของบริษัท เหตุการณ์ครั้งนั้นส่งผลให้ลูกค้าที่ฝากเงินในธนาคารแห่งนี้กว่า 250,000 รายต้องสูญเงินฝาก และมีการฟ้องร้องค่าเสียหายเป็นวงเงินกว่า 1 หมื่นล้านดอลลาร์