ภาวะตลาดเงินบาท: ปิด 31.72 อ่อนค่าต่อเนื่องจากช่วงเช้าตามทิศทางภูมิภาค ระหว่างวันแตะ 31.76 ตามแรงซื้อดอลล์-เงินไหลออก

ข่าวเศรษฐกิจ Friday March 1, 2019 17:31 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดเย็นนี้อยู่ที่ 31.72 บาท/ดอลลาร์ อ่อนค่าต่อเนื่องจาก เปิดตลาดเช้าที่ระดับ 31.57 บาท/ดอลลาร์ เนื่องจากความกังวลเกี่ยวกับสงครามบนคาบสมุทรเกาหลี, ความขัดแย้งระหว่างอินเดียกับ ปากีสถาน และตัวเลขดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตของจีน บ่งชี้ว่าภาคการผลิตของจีนยังอยู่ในภาวะหดตัว เป็นปัจจัยหนุนให้ มีแรงซื้อดอลลาร์ ประกอบกับมีเงินทุนต่างประเทศไหลออกด้วย โดยระหว่างวันเงินบาทเคลื่อนไหวในกรอบ 31.56-31.76 บาท/ดอลลาร์

"บาทปรับตัวอ่อนค่าสุดในรอบเดือน เคลื่อนไหวในทิศทางเดียวกับภูมิภาคจากปัจจัยต่างประเทศที่หนุนให้มีแรงซื้อดอลลาร์" นัก
บริหารเงิน กล่าว

โดยคืนนี้จะมีการประกาศตัวเลขเศรษฐกิจที่สำคัญ ได้แก่ ดัชนีราคาการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล (PCE) ม.ค., ราย ได้และการใช้จ่ายส่วนบุคคลเดือนม.ค., ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตเดือนก.พ.จากมาร์กิต, ดัชนีภาคการผลิตเดือนก.พ. จากสถาบันจัดการด้านอุปทานของสหรัฐ (ISM) และความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนก.พ.จากมหาวิทยาลัยมิชิแกน

นักบริหารเงิน ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทสัปดาห์หน้าไว้ที่ 31.65 - 31.85 บาท/ดอลลาร์

"หากคืนนี้ตัวเลขเศรษฐกิจของสหรัฐออกมาดี ค่าเงินบาทในวันจันทร์มีโอกาสไปแตะ 32.00 บาท/ดอลลาร์ได้" นักบริหาร

เงิน กล่าว

  • ปัจจัยสำคัญ
  • เงินเยนอยู่ที่ 111.94 เยน/ดอลลาร์ จากช่วงเช้าที่ระดับ 111.56 เยน/ดอลลาร์
  • เงินยูโรอยู่ที่ 1.1355 ดอลลาร์/ยูโร จากช่วงเช้าที่ระดับ 1.1370 ดอลลาร์/ยูโร
  • ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ระดับ 1,641.44 จุด ลดลง 12.04 จุด, -0.73% มูลค่าการซื้อขาย 48,408.90 ล้านบาท
  • สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติขายสุทธิ 1,781.21 ล้านบาท (SET+MAI)
  • สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไป (CPI) หรือ
อัตราเงินเฟ้อในเดือน ก.พ.62 อยู่ที่ 101.95 เพิ่มขึ้น 0.73% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน และเพิ่มขึ้น 0.24% จากเดือน ม.ค.62 การ
เพิ่มขึ้นของดัชนีราคาสินค้ากลุ่มอาหารสด เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เงินเฟ้อในเดือนก.พ. 62 สูงขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2
  • ผู้อำนวยการ สนค. ยอมรับว่า อาจจะต้องมีปรับประมาณการเงินเฟ้อในไตรมาสแรกที่วางไว้ที่ 0.67% เนื่องจากอัตรา
เงินเฟ้อในเดือนม.ค. อยู่ในระดับ 0.27% ซึ่งถือว่าต่ำเกินไป แม้อัตราเงินเฟ้อเดือนก.พ.จะปรับตัวสูงขึ้นในระดับ 0.73% แต่เฉลี่ย 2
เดือนอยู่ที่ 0.49% แต่ในขณะนี้ยังคงกรอบอัตราเงินเฟ้อปี 62 อยู่ที่ 0.7- 1.7% โดยมีค่ากลางที่ 1.2%
  • สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) รายงานภาวะสังคมไทยไตรมาส 4 และภาพรวม ปี 2561
โดยระบุว่า หนี้สินครัวเรือนไตรมาส 3/61 หนี้สินครัวเรือนเท่ากับ 12.56 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้น 5.9% และคิดเป็นสัดส่วนต่อ GDP เท่า
กับ 77.8% เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากไตรมาสก่อน สำหรับไตรมาส 4/61 ยอดคงค้างสินเชื่อเพื่อการอุปโภคบริโภคส่วนบุคคลของธนาคารพาณิชย์
ที่ขยายตัว 9.4% ด้านความสามารถในการชำระหนี้เริ่มส่งสัญญาณที่ต้องติดตามอย่างใกล้ชิด
  • ผู้อำนวยการสำนักงานเสถียรภาพการเงินของธนาคารกลางจีน (PBOC) เปิดเผยว่า จีนมุ่งมั่นที่จะป้องกันความเสี่ยงทาง
การเงินที่สำคัญท่ามกลางการรักษาเสถียรภาพของการขยายตัวทางเศรษฐกิจ และการผลักดันการพัฒนาที่มีคุณภาพสูง
  • รัฐบาลจีนตั้งเป้าที่จะส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจแพลตฟอร์มด้วยการสนับสนุนเงินทุนมูลค่า 1 แสนล้านหยวน (1.5 หมื่น
ล้านดอลลาร์) ให้กับตลาดสินค้าโภคภัณฑ์ภายในปี 2563
  • ผลการสำรวจซึ่งจัดทำโดยไพร้ซวอเตอร์เฮาส์คูเปอร์ส (PwC) ซึ่งเป็นบริษัทตรวจสอบบัญชีรายใหญ่ของอังกฤษ ระบุว่า ซีอี
โอส่วนใหญ่ของจีนแผ่นดินใหญ่มีมุมมองเป็นบวกต่อโอกาสของเศรษฐกิจโลกในปีที่จะถึงนี้
  • ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) กล่าวว่า ประสิทธิภาพการผลิตที่เพิ่มขึ้นในปีที่ผ่านมา ทำให้มีโอกาสมากขึ้นที่สหรัฐจะ
ปรับขึ้นค่าแรงโดยไม่มีความเสี่ยงจากเงินเฟ้อที่สูงขึ้น ซึ่งเป็นอีกเหตุผลหนึ่งที่ทำให้เฟดสามารถชะลอการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยไว้ต่อไป
  • สถาบันการเงินระหว่างประเทศ (IIF) เปิดเผยผลการศึกษาพบว่า ผู้ส่งออกของสหรัฐกำลังได้รับผลกระทบจากมาตรการ

ตอบโต้ทางภาษีระหว่างจีนและสหรัฐ มากกว่าผู้ส่งออกของจีน โดยมูลค่าการส่งออกของสหรัฐจะลดลงประมาณ 4 หมื่นล้านดอลลาร์ต่อปี


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ