นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดเย็นวันนี้ที่ระดับ 31.66 บาท/ดอลลาร์ จากตอนเช้าที่ เปิดตลาดที่ระดับ 31.55/56 บาท/ดอลลาร์ ระหว่างวันเคลื่อนไหวระหว่าง 31.51-31.66 บาท/ดอลลาร์
"วันนี้ภาพรวมในภูมิภาคค่อนข้างผสมผสานกันมีทั้งแข็งค่าและอ่อนค่า เงินบาทตอนแรกทำท่าจะผ่าน 31.50 ไป แต่ปัจจัยการ เมืองในประเทศทำให้อ่อนค่ากลับขึ้นมาจนกระทั่งปิดตลาด"นักบริหารเงินระบุ
นักบริหารเงิน คาดว่า วันพรุ่งนี้เงินบาทจะเคลื่อนไหวในกรอบ 31.60-31.70 บาท/ดอลลาร์ จับตาการเมืองในประเทศ เรื่องการจัดตั้งรัฐบาลที่ยังไม่มีความชัดเจน, Brexit และการค้าระหว่างสหรัฐฯและจีน
- ปัจจัยสำคัญ
- เงินเยนอยู่ที่ระดับ 110.39 เยน/ดอลลาร์ จากตอนเช้าที่อยู่ที่ 110.05/09 เยน/ดอลลาร์
- เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.1321 ดอลลาร์/ยูโร จากตอนเช้าที่อยู่ที่ 1.1316/1317 ดอลลาร์/ยูโร
- ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ระดับ 1,632.32 จุด เพิ่มขึ้น 6.41 จุด, +0.39% มูลค่าการซื้อขาย 38,214.27 ล้านบาท
- สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติซื้อสุทธิ 663.99 ลบ.(SET+MAI)
- สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เปิดเผยว่า ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) ประจำเดือน ก.พ.62 อยู่ที่
- ศูนย์วิจัยกสิกรไทย สรุปข้อมูลสินเชื่อ เงินฝาก และสภาพคล่องของธนาคารพาณิชย์ไทย 14 แห่ง ณ สิ้นเดือนกุมภาพันธ์
- กรรมการและผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) กล่าวว่า ดัชนีตลาดหุ้นไทยแกว่งตัวผันผวน จากประเด็น
แต่เชื่อว่าเป็นผลกระทบกับบรรยากาศการลงทุนแค่ระยะสั้นเท่านั้น เพราะระยะยาวยังมองว่าทั้ง 2 ขั้วพรรคการเมืองที่ต้อง การเป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาลมีประสบการณ์บริหารเศรษฐกิจประเทศมาแล้ว และนโยบายด้านเศรษฐกิจที่นำมาหาเสียงของทั้ง 2 ขั้วก็เน้น กระตุ้นการเติบโตเศรษฐกิจไทยอย่างยั่งยืน สนับสนุนการทำธุรกิจของเอกชนตั้งแต่กลุ่มสตาร์ทอัพไปจนถึงบริษัทจดทะเบียนขนาดใหญ่ และ เข้ามาดูแลกำลังซื้อกลุ่มฐานราก นับเป็นสิ่งสะท้อนความเชื่อมั่นให้กับผู้ลงทุนได้ว่าไม่ว่าขั้วใดจะได้จัดตั้งรัฐบาลใหม่ เศรษฐกิจไทยน่าจะถูก ผลักดันได้ในระยะถัดไป
- สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) เปิดเผยว่า สนค. ได้ติดตามสถานการณ์ที่อังกฤษขอถอนตัวออกจาก
- ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) สาขาฟิลาเดลเฟีย กล่าวว่า เฟดอาจปรับขึ้นดอกเบี้ยครั้งเดียวในปี 2562 และอีก
- รายงานจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ระบุว่า ระบบการเรียกเก็บภาษีจากบริษัททั่วโลกจำเป็นต้องได้รับ
การปฏิรูป เนื่องจากกลุ่มประเทศที่มีรายได้น้อยต้องสูญเสียรายได้มหาศาลจากการแข่งขันด้านภาษีและการโอนกำไร