ภาวะตลาดเงินบาท: ปิด 31.76/77 แข็งค่าช่วงท้ายตลาดตามทิศทางยูโร คาดกรอบสัปดาห์หน้า 31.60-32.00

ข่าวเศรษฐกิจ Friday April 12, 2019 17:34 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงเทพ เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดเย็นนี้อยู่ที่ระดับ 31.76/77 บาท/ดอลลาร์ แข็งค่าจากช่วง เช้าที่เปิดตลาดที่ระดับ 31.83 บาท/ดอลลาร์

เงินบาทกลับมาแข็งค่าในช่วงท้ายตลาด ซึ่งเป็นการแข็งค่าตามการเคลื่อนไหวของสกุลเงินยูโรที่ปรับตัวแข็งค่าเมื่อเทียบกับ ดอลลาร์สหรัฐ โดยเงินบาทแข็งค่าสุดในช่วงปิดตลาดที่ระดับ 31.76/77 บาท/ดอลลาร์ และระหว่างวันเงินบาทอ่อนค่าสุดที่ระดับ 31.84 บาท/ดอลลาร์

"ระหว่างวัน เงินบาทยังนิ่งๆ ไม่ได้เคลื่อนไหวมาก แต่มาช่วงเย็นๆ ตอนท้ายตลาด บาทแข็งค่าไปตามเงินยูโร"นักบริหาร
เงิน กล่าว

นักบริหารเงิน คาดสัปดาห์หน้าเงินบาทจะเคลื่อนไหวในกรอบ 31.60 - 32.00 บาท/ดอลลาร์ ทั้งนี้ได้ให้กรอบกว้างๆ ไว้ ก่อน เนื่องจากสัปดาห์หน้ายังเป็นช่วงวันหยุดยาวต่อเนื่อง ค่าเงินจึงอาจมีความผันผวนได้

  • ปัจจัยสำคัญ
  • เงินเยนอยู่ที่ 111.89/92 เยน/ดอลลาร์ จากช่วงเช้าที่ระดับ 111.72 เยน/ดอลลาร์
  • เงินยูโรอยู่ที่ 1.1311/1315 ดอลลาร์/ยูโร จากช่วงเช้าที่ระดับ 1.1283 ดอลลาร์/ยูโร
  • ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ระดับ 1,660.45 จุด เพิ่มขึ้น 1.36 จุด (+0.08%) มูลค่าการซื้อขาย 33,086 ล้านบาท
  • สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติขายสุทธิ 1,068.61 ลบ.(SET+MAI)
  • ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB EIC) ปรับลดคาดการณ์ GDP ของไทยในปี 62 จากเดิม 3.8%
มาอยู่ที่ระดับ 3.6% และปรับลดคาดการณ์อัตราการขยายตัวของมูลค่าการส่งออกไทยปีนี้จากเดิม 3.4% ลงเหลือ 2.7% สอดคล้องกับกอง
ทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ได้ปรับลดคาดการณ์การเติบโตเศรษฐกิจโลกในปี 2562 เหลือ 3.3% จากเดิม 3.5% รวมถึงคาด
การณ์ปริมาณการค้าโลก ที่ปรับลดลงเหลือ 3.4% จากเดิม 4% ที่เคยประมาณการไว้
  • ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยทองคำ เผยดัชนีความเชื่อมั่นราคาทองคำประจำเดือน เม.ย.62 อยู่ที่ 54.39 จุด ปรับเพิ่มขึ้น
1.49 จุด หรือ 2.82% จากเมื่อเดือน มี.ค.ที่ผ่านมาจากระดับ 52.90 จุด ปัจจัยที่ทำให้ดัชนีฯ ปรับเพิ่มขึ้นมาจากความต้องการซื้อ
สินทรัพย์ปลอดภัย เงินบาทอ่อนค่าหนุนราคาทองคำในประเทศ ความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจโลก แรงซื้อเก็งกำไร และนโยบายเศรษฐกิจ
ของประธานาธิบดีสหรัฐ
  • ผู้อำนวยการกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) เปิดเผยว่า โลกกำลังเผชิญกับช่วงเวลาที่มีความไม่แน่นอนสูง โดย
เศรษฐกิจโลก 70% อยู่ในภาวะชะลอตัว ซึ่งก็อาจจะเลวร้ายลงอีกจากผลกระทบต่างๆ อาทิ สงครามการค้า

อีกทั้งเรียกร้องให้เจ้าหน้าที่ฝ่ายกำหนดนโยบายของรัฐบาลทั่วโลกพยายามหลีกเลี่ยงการดำเนินนโยบายการค้าที่ผิดพลาดและ เป็นอันตราย เนื่องจากเศรษฐกิจทั่วโลกชะลอตัวลงเป็นวงกว้าง ขณะที่แนวโน้มการดีดตัวของเศรษฐกิจยังคงเปราะบาง

  • ผู้ว่าการธนาคารกลางอังกฤษ (BoE) เผยอังกฤษอาจต้องใช้เวลาสักระยะหนึ่งในการบรรลุฉันทามติ เพื่อหาทางออกเกี่ยว
กับข้อตกลงในการถอนอังกฤษออกจากสหภาพยุโรป หรือ Brexit
  • สภาหอการค้าอังกฤษ (BCC) แสดงความกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์การถอนตัวของอังกฤษออกจากสหภาพยุโรป (EU)
หรือ Brexit ที่ล่าช้าออกไป แม้เมื่อวานนี้จะแสดงความยินดีที่คณะกรรมาธิการยุโรป (EC) ได้มีมติเลื่อนกำหนดการ Brexit ออกไปก็
ตาม
  • นักลงทุนวิตกกังวลเกี่ยวกับแนวโน้มเศรษฐกิจโลก หลังจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ได้ปรับลดตัวเลขคาด
การณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจโลกในปีนี้ลงสู่ระดับ 3.3% จากระดับ 3.5% พร้อมกับเตือนถึงความเสี่ยงที่อังกฤษจะแยกตัวออกจากสหภาพ
ยุโรป (Brexit) โดยไม่มีการทำข้อตกลง และผลกระทบจากความขัดแย้งทางการค้าระหว่างสหรัฐและประเทศคู่ค้า
  • ผู้ว่าการธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) เปิดเผยว่า ผู้ว่าการธนาคารกลางของประเทศกลุ่ม G20 จะร่วมกันหารือเกี่ยวกับแนว
ทางการสนับสนุนการค้าเสรี เพื่อกระตุ้นการเติบโตของเศรษฐกิจโลก
  • สัปดาห์หน้าสหรัฐฯ จะมีการรายงานข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญ เช่น ดัชนีภาคการผลิตเดือนเม.ย.จากเฟดนิวยอร์ก, การผลิต

ภาคอุตสาหกรรมเดือนมี.ค., ดัชนีตลาดที่อยู่อาศัยเดือนเม.ย.จากสมาคมผู้สร้างบ้านแห่งชาติ, ดุลการค้าเดือนก.พ., รายงานสรุปภาวะ

เศรษฐกิจ หรือ Beige Book จากธนาคารกลางสหรัฐ, จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการการว่างงานรายสัปดาห์ เป็นต้น


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ