ภาวะตลาดเงินบาท: ปิด 31.79/83 ทั้งวันแกว่งแคบ หลังกนง.คงดอกเบี้ยตามตลาดคาด คาดกรอบพรุ่งนี้ 31.75-31.90 จับตาปัจจัยตปท.

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday May 8, 2019 17:29 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงเทพ เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดเย็นนี้อยู่ที่ระดับ 31.79/83 บาท/ดอลลาร์ จากช่วงเช้า เปิดตลาดที่ระดับ 31.89/91 บาท/ดอลลาร์

ระหว่างวันเงินบาทปรับตัวเพียงเล็กน้อย หลังจากที่คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) มีมติเป็นเอกฉันท์ให้คงอัตรา ดอกเบี้ยนโยบายไว้ในระดับเดิมที่ 1.75% ซึ่งเป็นไปตามที่ตลาดคาด นอกจากนี้ ตลาดยังติดตามความชัดเจนทางการเมืองในประเทศ จาก การประกาศรับรองรายชื่อ ส.ส.ของคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) เพียงแต่ในวันนี้ปัจจัยการเมืองในประเทศยังไม่ส่งผลต่อการ เคลื่อนไหวของค่าเงินบาทมากนัก

"หลังกนง.มีมติคงดอกเบี้ย บาทก็เคลื่อนไหวเล็กน้อย เพราะมติเป็นไปตามตลาดคาด การเมืองในประเทศวันนี้ยังไม่มีผลต่อ ทิศทางเงินบาทมากนัก บาทยังแกว่งแคบๆ รอดูปัจจัยต่างประเทศเป็นหลัก" นักบริหารเงินระบุ

นักบริหารเงิน คาดว่า พรุ่งนี้เงินบาทจะเคลื่อนไหวในกรอบ 31.75 - 31.90 บาท/ดอลลาร์

  • ปัจจัยสำคัญ
  • เงินเยนอยู่ที่ระดับ 109.95 เยน/ดอลลาร์ จากช่วงเช้าที่ระดับ 109.99/110 เยน/ดอลลาร์
  • เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.1197/1204 ดอลลาร์/ยูโร จากช่วงเช้าที่ระดับ 1.1187/1209 ดอลลาร์/ยูโร
  • ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ระดับ 1,654.01 จุด ลดลง 15.67 จุด (-0.94%) มูลค่าการซื้อขาย 55,621 ล้านบาท
  • สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติขายสุทธิ 1,883.89 ลบ.(SET+MAI)
  • คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) มีมติเอกฉันท์คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 1.75% ต่อปี เพื่อรอประเมินผล
กระทบให้ชัดเจนขึ้น เนื่องจากมีปัจจัยเสี่ยงต่อเสถียรภาพระบบการเงินที่ต้องติดตามอย่างต่อเนื่อง หลังมองเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มขยายตัว
ต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้ ประกอบกับความไม่แน่นอนของภาวะเศรษฐกิจโลกและปัจจัยในประเทศยังมีอยู่สูงในระยะข้างหน้า
  • กลุ่มงานโกลบอลมาร์เก็ตส์ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา (BAY) มีความเห็นต่อการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กน
ง.) หลัง กนง. มีมติเป็นเอกฉันท์ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 1.75% ตามที่ตลาดคาดไว้ ส่งผลให้เงินบาทอ่อนค่าลงเล็กน้อยที่ระดับ
31.80 บาท/ดอลลาร์ ทั้งนี้ นับตั้งแต่ต้นปีเงินบาทแข็งค่า 2.5% เมื่อเทียบกับดอลลาร์ และเป็นสกุลเงินที่แข็งค่าที่สุดในเอเชีย ขณะที่ กน
ง.มองว่าเงินบาทยังคงเคลื่อนไหวในทิศทางเดียวกับสกุลเงินในภูมิภาค แต่มีแนวโน้มที่จะผันผวนในระยะต่อไป อย่างไรก็ดี BAY มองว่า
ท่ามกลางปัจจัยแวดล้อมที่เป็นอยู่ ยังคาดว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายน่าจะคงอยู่ที่ระดับ 1.75% จนถึงสิ้นปี แม้ว่าธนาคารกลางบางแห่งได้ปรับ
เปลี่ยนนโยบายเป็นแบบผ่อนปรนมากขึ้น
  • กระทรวงพาณิชย์ อยู่ระหว่างดำเนินการปรับเปลี่ยนปีฐานดัชนีราคาผู้บริโภค (Consumer Prices Index) หรือเงิน
เฟ้อ (Inflation) จากปี 2558 เป็นปี 2562 เพื่อให้รายการสินค้าที่ใช้ในการคำนวณเงินเฟ้อหรือตระกร้าเงินเฟ้อมีความทันสมัยและ
สอดคล้องกับพฤติกรรมการใช้จ่ายของผู้บริโภคในยุคดิจิทัลให้มากที่สุด ซึ่งเป็นไปตามแผนและมาตรฐานด้านดัชนีที่ต้องมีการปรับปรุงรายการ
สินค้าในตระกร้าเงินเฟ้อให้ทันสมัยทุกๆ 4 ปี โดยจะใช้ปีฐานใหม่นี้เริ่มคำนวณอัตราเงินเฟ้อเดือนตั้งแต่ ม.ค.64
  • ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) เปิดเผยว่า การขยายตัวของสินเชื่อผู้บริโภคสหรัฐในเดือนมี.ค.62 ชะลอตัวลง โดยขยาย
ตัว 3.1% แตะ 1.028 หมื่นล้านดอลลาร์ ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 9 เดือน นับตั้งแต่ มิ.ย.61 ทั้งนี้ การขยายตัวของสินเชื่อผู้บริโภคที่
ชะลอตัวลง บ่งชี้ถึงแรงจูงใจที่ลดลงในการใช้จ่าย ซึ่งอาจทำให้กิจกรรมการซื้อน้อยลง และการบริโภคอ่อนแอลง
  • คณะกรรมาธิการยุโรป (EC) เปิดเผยว่า ความตึงเครียดทางการค้ากับจีน และการดำเนินมาตรการปกป้องการค้า ถือ
เป็นความเสี่ยงที่สำคัญต่อเศรษฐกิจสหรัฐ ทั้งนี้ EC ซึ่งเป็นหน่วยงานบริหารของสหภาพยุโรป (EU) ระบุในการคาดการณ์เศรษฐกิจยุโรปล่า
สุดว่า กิจกรรมทางเศรษฐกิจของสหรัฐจะชะลอลงสู่การขยายตัวตามศักยภาพ ขณะที่คาดว่าผลพวงที่เป็นบวกจากนโยบายเศรษฐกิจมหภาคจะ
จางหายไป

ในรายงานเกี่ยวกับเศรษฐกิจสหรัฐหัวข้อ "ซอฟท์ แลนดิ้ง และความเสี่ยงที่สำคัญต่อแนวโน้ม" นั้น EC คาดว่า เศรษฐกิจ สหรัฐอาจชะลอการขยายตัวลงสู่ระดับ 2.4% ในปี 2562 และ 1.9% ในปี 2563 หลังจากขยายตัว 2.9% ในปี 2561

  • คณะกรรมาธิการยุโรป (EC) คาดการณ์ว่า เศรษฐกิจอิตาลีจะขยายตัวเพียง 0.1% ในปีนี้ ขณะที่คาดว่าหนี้สินที่ระดับสูง
ของประเทศ จะขยายตัวเพิ่มขึ้น
  • ธนาคารกลางจีน (PBOC) ได้อัดฉีดเงินมูลค่า 1 หมื่นล้านหยวน (ประมาณ 1.48 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) ผ่านทางข้อ
ตกลง reverse repo ประเภทอายุ 7 วัน ที่อัตราดอกเบี้ย 2.55% ขณะที่ไม่มีข้อตกลง reverse repo ที่จะครบกำหนดไถ่ถอนในวันนี้

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ