นายประภาศ คงเอียด ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) เปิดเผยว่า นายสมคิด จาตุศรี พิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี ได้ประชุมผู้บริหารรัฐวิสาหกิจที่มีวงเงินลงทุนขนาดใหญ่ 19 แห่ง และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยได้เร่งรัดการ เบิกจ่ายงบลงทุนของรัฐวิสาหกิจ และหารือแก้ไขปัญหาการเบิกจ่ายงบลงทุนของรัฐวิสาหกิจให้ดำเนินการอย่างต่อเนื่อง เพื่อรักษาการเติบ โตในไตรมาสที่ 2 และ 3 ปี 2562
นายประภาศ กล่าวว่า ในการประชุมเร่งรัดการเบิกจ่ายงบลงทุนของรัฐวิสาหกิจนั้น นายสมคิด ได้มอบนโยบายให้รัฐวิสาหกิจ เร่งเบิกจ่ายงบลงทุนในไตรมาสที่ 2 และ 3 ปี 2562 ให้ได้เพิ่มขึ้นกว่าแผน โดยเฉพาะรัฐวิสาหกิจที่มีศักยภาพ เช่น บมจ. ปตท. (PTT), การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย, การไฟฟ้านครหลวง และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค เพื่อรักษาระดับการเติบโตของเศรษฐกิจใน ภาพรวมที่จะถูกกระทบจากปัจจัยต่างๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ รวมทั้งให้รัฐวิสาหกิจพิจารณาปรับเพิ่มโครงการลงทุนในการพัฒนา ธุรกิจ เพื่อสร้างความสามารถในการแข่งขันของประเทศ เช่น บมจ.ทีโอที, บมจ. กสท โทรคมนาคม และบริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด
ด้านนายชาญวิทย์ นาคบุรี รองผู้อำนวยการ สคร. ในฐานะโฆษก สคร. เปิดเผยถึงผลการเบิกจ่ายงบลงทุนของรัฐวิสาหกิจ ว่า กรอบลงทุนทั้งปีของรัฐวิสาหกิจ 45 แห่ง ที่ สคร.กำกับดูแล มีมูลค่า 333,441 ล้านบาท โดยมีผลการเบิกจ่ายงบลงทุนสะสมปี 2562 ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2561 – เมษายน 2562 จำนวน 88,010 ล้านบาท หรือคิดเป็น 92% ของแผนการเบิกจ่ายสะสม โดยสามารถสรุป การเบิกจ่ายงบลงทุนสะสมถึง ณ สิ้นเดือนเมษายน 2562 ของรัฐวิสาหกิจ 45 แห่ง ได้ดังนี้
หน่วย:ล้านบาท
รัฐวิสาหกิจ แผนเบิกจ่ายสะสม ผลเบิกจ่ายสะสม %เบิกจ่าย/แผนสะสม 1.ปีงบประมาณ จำนวน 34 แห่ง (รวม) 54,976 52,085 95% 1.1 การรถไฟแห่งประเทศไทย 21,287 17,709 83% 1.2 การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย 15,753 17,579 112% 1.3 บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) 4,072 2,572 63% 1.4 การประปาส่วนภูมิภาค 1,909 3,187 167% 1.5 การทางพิเศษแห่งประเทศไทย 980 728 74% 1.6 การเคหะแห่งชาติ 2,309 2,234 97% 1.7 การประปานครหลวง 2,091 2,513 120% 1.8 องค์การเภสัชกรรม 647 372 58% 1.9 องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ 1,907 1,917 101% 1.10 การท่าเรือแห่งประเทศไทย 588 587 99% 1.11 บริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด 532 535 101% 1.12 รัฐวิสาหกิจแห่งอื่นๆ จำนวน 23 แห่ง 2,902 2,153 74% 2. ปีปฏิทิน จำนวน 11 แห่ง (รวม) 40,580 35,925 89% 2.1 การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย 13,944 13,614 98% 2.2 การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค 7,831 7,240 92% 2.3 บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) 11,367 8,274 73% 2.4 การไฟฟ้านครหลวง 3,523 3,696 105% 2.5 บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) 1,820 1,096 60% 2.6 บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) 527 1,046 198% 2.7 บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) 446 429 96% 2.8 บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด 938 372 40% 2.9 รัฐวิสาหกิจแห่งอื่นๆ จำนวน 3 แห่ง 184 158 86% รวม 45 แห่ง 95,557 88,010 92%