นายวุฒิไกร ลีวีระพันธุ์ อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เผยผลการจดทะเบียนธุรกิจจัดตั้งใหม่เดือน เม.ย.62 ว่า มีผู้ประกอบธุรกิจยื่นขอจดทะเบียนจัดตั้งห้างหุ้นส่วนบริษัทใหม่ทั่วประเทศจำนวน 5,944 ราย เพิ่มขึ้น 824 ราย หรือ 16% เมื่อเทียบกับเดือนเม.ย.61 ที่มีจำนวน 5,120 ราย แต่ลดลง 932 ราย หรือ 14% เมื่อเทียบกับเดือน มี.ค.62 ที่มีจำนวน 6,876 ราย
โดยประเภทธุรกิจจัดตั้งใหม่สูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ ธุรกิจก่อสร้างอาคารทั่วไป จำนวน 486 ราย คิดเป็น 8% รองลงมา คือ ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ จำนวน 387 ราย คิดเป็น 7% และอันดับ 3 คือ ธุรกิจภัตตาคาร ร้านอาหาร จำนวน 163 ราย คิดเป็น 3%
สำหรับมูลค่าทุนธุรกิจจัดตั้งใหม่ในเดือน เม.ย.62 มีจำนวนทั้งสิ้น 15,000 ล้านบาท ลดลง 2,840 ล้านบาท หรือ 16% เมื่อเทียบกับเดือน มี.ค.62 ที่มีจำนวน 17,840 ล้านบาท และลดลงจำนวน 21,362 ล้านบาท หรือ 59% เมื่อเทียบกับเดือน เม.ย.61 ที่มีจำนวน 36,362 ล้านบาท
หากแบ่งธุรกิจจัดตั้งใหม่ตามช่วงทุน พบว่า ช่วงทุนที่มีจำนวนรายธุรกิจจัดตั้งใหม่ทั่วประเทศมากที่สุด คือ ไม่เกิน 1 ล้านบาท มีจำนวน 4,285 ราย คิดเป็น 72.09% รองลงมาคือช่วงทุนมากกว่า 1- 5 ล้านบาท มีจำนวน 1,553 ราย คิดเป็น 26.13% ตามด้วยวงทุนมากกว่า 5-100 ล้านบาท มีจำนวน 93 ราย คิดเป็น 1.56% และช่วงทุนมากกว่า 100 ล้านบาท จำนวน 13 ราย คิดเป็น 0.22%
ทั้งนี้ จำนวนธุรกิจตั้งใหม่สะสมตั้งแต่เดือน ม.ค.-เม.ย. 62 มีจำนวน 26,694 ราย เพิ่มขึ้น จำนวน 1,525 ราย คิดเป็น 6% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา (ม.ค.-เม.ย.61) ที่มีจำนวน 25,169 ราย สำหรับมูลค่าทุนจดทะเบียนธุรกิจตั้งใหม่สะสมตั้งแต่เดือน ม.ค.-เม.ย.62 มีจำนวน 67,391 ล้านบาท ลดลง 29,802 ล้านบาท คิดเป็น 31% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกับของปีที่ผ่านมา (ม.ค.-เม.ย. 61) ที่มีจำนวน 97,193 ล้านบาท
ส่วนธุรกิจเลิกประกอบกิจการเดือน เม.ย.62 มีจำนวน 985 ราย ลดลงจำนวน 90 ราย คิดเป็น 8% เมื่อเทียบกับเดือน มี.ค.62 ที่มีจำนวน 1,075 ราย แต่เพิ่มขึ้นจำนวน 190 ราย คิดเป็น 24% เมื่อเทียบกับเดือน เม.ย.61 ที่มีจำนวน 795 ราย
โดยประเภทธุรกิจเลิกประกอบกิจการสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ ธุรกิจก่อสร้างอาคารทั่วไป จำนวน 106 ราย คิดเป็น 11% รองลงมาคือ ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ จำนวน 58 ราย คิดเป็น 6% และธุรกิจค้าสลาก จำนวน 31 ราย คิดเป็น 3% ตามลำดับ
ขณะที่มูลค่าทุนธุรกิจเลิกประกอบกิจการในเดือน เม.ย.62 มีจำนวนทั้งสิ้น 3,830 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจำนวน 828 ล้านบาท คิดเป็น 28% เมื่อเทียบกับเดือน มี.ค.62 ที่มีจำนวน 3,002 ล้านบาท แต่ลดลงจำนวน 4,063 ล้านบาท คิดเป็น 51% เมื่อเทียบกับเดือนเม.ย.61 ที่มีจำนวน 7,893 ล้านบาท
ธุรกิจเลิกประกอบกิจการแบ่งตามช่วงทุน โดยช่วงทุนที่มีจำนวนรายธุรกิจเลิกประกอบกิจการทั่วประเทศมากที่สุด ได้แก่ ช่วงทุนไม่เกิน 1 ล้านบาท จำนวน 686 ราย คิดเป็น 69.64% รองลงมาคือช่วงทุนมากกว่า 1-5 ล้านบาท จำนวน 242 ราย คิดเป็น 24.57% ลำดับถัดไปคือช่วงทุนมากกว่า 5-100 ล้านบาท จำนวน 52 ราย คิดเป็น 5.28% และช่วงทุนมากกว่า 100 ล้านบาท มีจำนวน 5 ราย คิดเป็น 0.51%
ธุรกิจเลิกสะสม จำนวนธุรกิจเลิกสะสมตั้งแต่เดือน ม.ค.-เม.ย.62 มีจำนวน 4,273 ราย เพิ่มขึ้นจำนวน 390 ราย คิดเป็น 10% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา (ม.ค.-เม.ย.61) จำนวน 3,883 ราย มูลค่าทุนจดทะเบียนธุรกิจเลิกสะสมตั้งแต่เดือน ม.ค.-เม.ย.62 มีจำนวน 13,825 ล้านบาท ลดลง 12,585 ล้านบาท คิดเป็น 48๔ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกับของปีที่ผ่านมา (ม.ค.-เม.ย. 61) ที่มีจำนวน 26,410 ล้านบาท
ทั้งนี้มีธุรกิจดำเนินกิจการอยู่ทั่วประเทศทั้งสิ้น ณ วันที่ 30 เม.ย 62 จำนวน 734,983 ราย มูลค่าทุน 16.63 ล้านล้านบาท จำแนกเป็น ห้างหุ้นส่วนจำกัด / ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล จำนวน 186,155 ราย คิดเป็น 25.33% บริษัทจำกัด จำนวน 547,593 ราย คิดเป็น 74.50% และบริษัทมหาชนจำกัด จำนวน 1,235 ราย คิดเป็น 0.17% ธุรกิจดำเนินกิจการอยู่แบ่งตามช่วงทุน ธุรกิจส่วนใหญ่มีช่วงทุนไม่เกิน 1 ล้านบาท จำนวน 437,496 ราย คิดเป็น 59.52% รวมมูลค่าทุน 0.38 ล้านล้านบาท คิดเป็น 2.28 รองลงมา คือ ช่วงทุนมากกว่า 1-5 ล้านบาท จำนวน 212,669 ราย คิดเป็น 28.94% รวมมูลค่าทุน 0.69 ล้านล้านบาท คิดเป็น 4.17% รองลงมา คือ ช่วงทุนมากกว่า 5-100 ล้านบาท จำนวน 69,750 ราย คิดเป็น 9.49% รวมมูลค่าทุน 1.89 ล้านล้านบาท คิดเป็น 11.35% และช่วงทุนมากกว่า 100 ล้านบาท จำนวน 15,068 ราย คิดเป็น 2.05% รวมมูลค่าทุน 13.67 ล้านล้านบาท คิดเป็น 82.20% ตามลำดับ
อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กล่าวว่า จากการประเมินอัตราการเติบโตของ GDP และแนวโน้มด้านเศรษฐกิจ ทิศทางการประกอบธุรกิจรวมไปถึงแนวโน้มการจดทะเบียนจัดตั้งธุรกิจตามฤดูกาล (Seasonal Trend) จึงคาดว่าในเดือน พ.ค.62 จะมีสถานการณ์การจัดตั้งธุรกิจเพิ่มสูงขึ้นจากเดือนเมษายน 2562 และมียอดสะสมทั้งปี (ม.ค.-พ.ค. 62) ไม่น้อยกว่า 32,000 ราย
สำหรับการลงทุนประกอบธุรกิจในไทยภายใต้กฎหมายต่างด้าวในเดือน เม.ย.62 มีการอนุญาตให้คนต่างชาติประกอบธุรกิจทั้งสิ้น 38 ราย แบ่งเป็น ใบอนุญาตประกอบธุรกิจ 18 ราย และหนังสือรับรองประกอบธุรกิจ 20 ราย โดยมีเม็ดเงินลงทุนทั้งสิ้น 9,891 ล้านบาท นักลงทุนต่างชาติที่เข้ามาลงทุนในไทยมากที่สุด ได้แก่ ญี่ปุ่น จำนวน 12 ราย เงินลงทุนกว่า 2,197 ล้านบาท รองลงมา ได้แก่ สิงคโปร์ จำนวน 5 ราย เงินลงทุน 825 ล้านบาท และจีน 4 ราย เงินลงทุน 342 ล้านบาท
อนึ่ง การเปรียบเทียบการลงทุนรายเดือน เมื่อเปรียบเทียบการเข้ามาลงทุนของชาวต่างชาติในเดือนเมษายน กับเดือนมีนาคม 2562 ที่ผ่านมา ปรากฏว่า จำนวนธุรกิจที่คนต่างชาติเข้ามาลงทุนลดลง 17 ราย หรือประมาณ 31 31 ในขณะที่เงินลงทุนลดลง 907 พันล้านบาท หรือคิดเป็น 8